- 28 มิ.ย. 2562
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ ความสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวและไหว้พระตามวัดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สำหรับ "พระนอน" หรือที่เรียกว่า "พระพุทธไสยาสน์" ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั้น มีความเชื่อว่า หากได้ไหว้พระนอน จะทำให้ชีวิตสบายและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตพร้อมรับแต่สิ่งดีๆ ให้แก่ชีวิตนี้ว่า โดยเลือกสักการะบูชาวัดที่มีพระนอน ได้ดังนี้
จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะให้ ความสนใจเดินทางมาท่องเที่ยวและไหว้พระตามวัดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สำหรับ "พระนอน" หรือที่เรียกว่า "พระพุทธไสยาสน์" ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นั้น มีความเชื่อว่า หากได้ไหว้พระนอน จะทำให้ชีวิตสบายและเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตพร้อมรับแต่สิ่งดีๆ ให้แก่ชีวิตนี้ว่า โดยเลือกสักการะบูชาวัดที่มีพระนอน ได้ดังนี้
พระนอนวัดเสนาสนารามราชวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา
วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ทางด้านหลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม เป็นวัดโบราณเดิมชื่อ "วัดเสื่อ" มีวิหารพระพุทธไสยาสน์ อยู่ติดกับพระเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งพระวิหารนี้สร้างขวางกับแนวพระอุโบสถ พระพุทธไสยาสน์เป็นศิลปะแบบอยุธยา ประกอบด้วยศิลาเป็นท่อนๆ นำมาเรียงต่อกันแล้วสลักเป็นองค์พระมีขนาดยาว ๑๔.๒ เมตร แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระมหาธาตุ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างวิหารพระนอนขึ้นในวัด แล้วอัญเชิญพระพุทธไสยาสน์จากวัดมหาธาตุมาประดิษฐานไว้ที่วัดนี้ ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและประสบความโชคดี
พระนอนวัดสามวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เป็นพระพุทธไสยาสน์ศิลปะผสมผสานระหว่างอยุธยาและสุโขทัย ตามประวัติกล่าวว่า ในพงศาวดาร เรียกว่า "วัดสามวิหาร" เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนต้น แต่พุทธลักษณะคล้ายได้รับอิทธิพลแบบสุโขทัย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดสามวิหาร" เนื่องจากแต่เดิมมีทั้งหมด ๓ วิหาร คือ วิหารพระนอน วิหารพระนั่ง และวิหารพระยืน ปัจจุบันเหลือเพียง ๒ วิหาร คือ วิหารพระนอน และวิหารพระนั่ง เท่านั้น สันนิษฐานว่าสถานที่สำคัญต่างๆ ของวัดนี้ ถูกทำลายเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดแห่งหนึ่งที่พม่าเลือกเป็นชัยภูมิในการตั้งฐานทัพ เมื่อครั้งยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาก่อนเสียกรุง ถ้าใครได้สักการะถือว่า จะได้ความเมตตามหานิยม
พระนอนวัดโลกยสุทธา อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในเกาะเมืองอยุธยา และเป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช พระราชบิดาเจ้าสามพระยา ราว พ.ศ.๑๙๙๕ มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ที่สุดของอำเภอ พระนครศรีอยุธยา ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง องค์พระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูน ขนาดยาว ๔๒ ม. สูง ๘ ม. มีดอกบัวเกยซ้อนรองรับพระเศียรแทนพระเขนย สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปไม่ทรงเครื่อง แต่การบูรณะใน พ.ศ.๒๔๙๙ คงมีการแก้พระเศียรเป็นอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่อง รอบองค์พระมีเสาอิฐ ๘ เหลี่ยม รวม ๒๔ ต้น ซึ่งแต่เดิมคงจะมีการสร้างวิหารครอบพระพุทธไสยาสน์ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้พังทลายลงเมื่อใด ถ้าใครได้มาสักการะถือว่า จะได้ความเมตตามหานิยม
พระนอนวัดธรรมิกราช อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เป็นวัดที่สร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าคงจะสร้างในสมัยเดียวกันกับวัดพนัญเชิงวรวิหาร ต่อมา มีการสร้างพระวิหาร ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า สร้างโดยพระมเหสีในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เนื่องจากทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า หากพระราชธิดาทรงหายจากอาการประชวรแล้ว จะสร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ถวาย องค์พระพุทธไสยาสน์ก่ออิฐถือปูน มีความยาวประมาณ ๑๒ ม. กลางฝ่าพระบาททำตามคติมหาปุริสลักษณะ โดยทำเป็นรูปจักรปูนปั้นนูนออกมาจากฝ่าพระบาทตามความงามของคติช่าง นอกเหนือจากชมความงามขององค์พระนอนแล้ว นักท่องเที่ยวยังนิยมนำน้ำพระพุทธมนต์ในพระวิหารนี้กลับไปบ้านเพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องจากเชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าจะได้เมตตามหานิยม สุขภาพแข็งแรงเพราะพระพุทธไสยาสน์นี้สร้างขึ้นด้วยอานิสงส์แห่งแรงอธิษฐาน
พระนอนวัดใหญ่ชัยมงคล อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เป็นวัดที่มีเจดีย์ทรงระฆังองค์ใหญ่ สัญลักษณ์แห่งชัยชนะขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดิมชื่อสำนักสงฆ์ป่าแก้ว ที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง องค์ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้สถาปนาพระวิหารให้เป็นพระอารามใน พ.ศ. ๑๙๐๐ โดยพระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ และเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะในศึกยุทธหัตถี โดยทรงพระราชทานนามว่า “เจดีย์ชัยมงคล” พร้อมกันนั้น ได้ทรงโปรดฯ ให้สร้างวิหารพระพุทธไสยาสน์ เพื่อเป็นที่ถวายสักการะและบูชาพระปฏิบัติกรรมฐาน ปัจจุบัน วิหารแห่งนี้หลงเหลือเพียงเสาสองต้นและกำแพงบางส่วนหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ ซึ่งได้รับการปฏิสังขรณ์ใหม่ ถ้าใครได้มาสักการะ ถือว่าจะได้เรื่อง การอภัยทาน เมตตามหานิยม
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.edtguide.com การท่องเที่ยวแหงประเทศไทย