- 17 ก.ค. 2562
เนื่องจากตอนนี้กระแสละครเรื่อง กลิ่นกาสะลอง กำลังแรง ดังนั้นวันนี้เราจะขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับเรื่อง กาสะลอง หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า คำว่า สะลอง นั้นเป็นชื่อเรียกของดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เป็นภาษาเหนือซึ่งแปลว่า ต้นปีบ
เนื่องจากตอนนี้กระแสละครเรื่อง กลิ่นกาสะลอง กำลังแรง ดังนั้นวันนี้เราจะขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับเรื่อง กาสะลอง หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า คำว่า สะลอง นั้นเป็นชื่อเรียกของดอกไม้ชนิดหนึ่งที่เป็นภาษาเหนือซึ่งแปลว่า ต้นปีบ
ต้นปีบ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆอีกมากมายอาทิเช่น เต็กตองโพ่ เป็นภาษาเรียกของชาว กะเหรี่ยง แถวจังหัวดกาญจนบุรี, กาซะลอง กาสะลอง กาดสะลอง กาสะลองคำ ทั้งหมดล้วนเป็นชื่อเรียกทาง ภาคเหนือ, ปีบ ก้องกลางดง เป็นชื่อเรียกทางภาคกลาง ส่วนภาคอีสานนั้นเรียก กางของ เป็นต้น
ต้นปีบ นั้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นตรง มีความสูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก รากเกิดเป็นหน่อ สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ และสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากรากรอบ ๆ ของต้นแม่ นำมาตัดเป็นท่อนสั้น ๆ แล้วนำมาปักชำได้ ต้นปีบนั้นเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองของพม่าและไทยที่ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สรรพคุณของปีบ
1.ดอกมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง (ดอก)
2.ช่วยบำรุงโลหิต (ดอก)
3.รากช่วยบำรุงปอด (ราก)
4.ช่วยรักษาวัณโรค (ราก)
5.ใช้เป็นยารักษาไซนัสอักเสบ (ดอก)
6.ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้ดอกที่ตากแห้งแล้วนำมามวนเป็นบุหรี่สูบเพื่อรักษาอาการ (ดอก)
7.ช่วยรักษาอาการหอบหืด หอบเหนื่อย ทำให้ระบบการหายใจดียิ่งขึ้นด้วยการใช้ดอกปีบแห้งประมาณ 6-7 ดอก แล้วมวนเป็นบุหรี่สูบ เพื่อรักษาอาการหอบหืดได้ (ราก, ดอก)
8.ช่วยรักษาปอดพิการ (ราก)
9. ใช้เป็นยาแก้ลม (ดอก)
10.ใบใช้มวนเป็นบุหรี่สูบแทนฝิ่น เพื่อช่วยขยายหลอดลมและรักษาอาการหอบหืดได้เช่นกัน (ใบ)
ประโยชน์ของปีบ
ดอกนำมาตากแห้งแล้วผสมกับยาสูบมวนบุหรี่ ใช้สูบทำให้ชุ่มคอ ทำให้ปากหอม และยังมีกลิ่นควันบุหรี่ที่หอมดีอีกด้วย
ดอกช่วยเพิ่มการหลั่งน้ำดี (cholagogue) และเพิ่มรสชาติ (ดอก)
ดอกปีบนำมาตากแห้ง นำมาชงใส่น้ำร้อนดื่มเป็นชาก็ได้ โดยดอกปีบชงนี้จะมีกลิ่นหอมละมุนอ่อน ๆ มีรสชาติหวานแบบนุ่มนวล ไม่ขม แถมยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย
สารสกัดจากใบที่สกัดด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของคะน้า (ใบ)
เนื้อไม้ของต้นปีบมีสีขาวอ่อน สามารถเลื่อยหรือไสกบเพื่อตกแต่งให้ขึ้นเงาได้ง่าย จึงเหมาะแก่การนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือน เครื่องตกแต่งภายในบ้านได้
เปลือกของต้นปีบ เมื่อก่อนสามารถนำมาใช้แทนไม้ก๊อกสำหรับทุกจุกขวดได้
ปีบเป็นไม้พุ่มมีใบและดอกสวย แถมยังมีกลิ่นหอมอีกด้วย จึงสามารถปลูกไว้ประดับสวน ปลูกเพื่อให้ร่มเงาในลานจอดรถหรือริมถนนข้างทาง และที่สำคัญต้นไม้ชนิดนี้ยังทนน้ำท่วมขังได้ดีอีกด้วย
ดั้งนั้นต้นปีบถือเป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งของไทยอีกด้วย ซึ่งดอกปีบเป็นสัญลักษณ์ของพยาบาลไทย โดยความหมายของต้นไม้ชนิดนี้ คือ เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นแก่ชีวิต ซึ่งหมายถึง "พยาบาล" และดอกปีบยังหมายถึงยาอายุวัฒนะ ซึ่งเปรียบเสมือนพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาและส่งเสริมสุขภาพแก่คนทั่วไป ต้นปีบเป็นต้นไม้ที่โตเร็ว เกิดขึ้นได้ในป่าทุกชนิด สามารถช่วยสร้างเสริมธรรมชาติที่ชุบและดำรงชีวิตให้แก่มวลมนุษย์ตลอดกาล เช่นเดียวกับพยาบาล ที่จะเป็นการบริการสุขภาพที่มีความจำเป็นต่อสังคมตลอดไป (ดอกปีบยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรีและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาอีกด้วย)
การปลูกต้นปีบเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน เชื่อว่าการปลูกไว้ประจำบ้านจะทำให้เก็บเงินเก็บทองได้มากขึ้น และยังทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังอีกด้วย โดยควรปลูกต้นปีบไว้ในทางทิศตะวันตกและผู้ปลูกควรปลูกในเสาร์เพื่อเอาเคล็ด แต่ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ที่เกิดในวันจันทร์ (ส่วนผู้อยู่อาศัยหากเกิดวันจันทร์ด้วยแล้วจะยิ่งเป็นสิริมงคลยิ่งนัก) เพราะปีบเป็นดอกไม้ประจำของนางโคราคะเทวี ซึ่งเป็นนางประจำวันจันทร์ในธิดาของพระอินทร์นั่นเอง
ต้นปีบถือเป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งของไทยอีกด้วย นอกจากนี้ดอกปีบยังเป็นสัญลักษณ์ของพยาบาล เพราะต้นไม้ชนิดนี้มีความหมายว่า การให้ความร่มรื่นต่อชีวิต ซึ่งก็หมายถึงพยาบาลนั่นเอง ซึ่งเท่าที่กล่าวมานี้ยังเป็นเพียงส่วนน้อยของต้นไม้ชนิดนี้ ดังนั้นการปลูกต้นปีบไว้ในบ้านหรือจะปลูกเพื่อการค้าจึงเป็นสิ่งที่น่าจะทำให้เกิดสิ่งดีๆ ต่อชีวิตอย่างแน่นอนเลยทีเดียว
ขอบคุณข้อมูลจาก : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์), เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม), ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (เดชา ศิริภัทร)