- 09 ก.พ. 2563
ผักชี เป็นผักชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันดี มีกลิ่นแรงที่เป็นเอกลักษณ์ หากแต่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณหลายอย่าง ตั้งแต่ต้นจนถึงราก เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราไม่ควรมองข้ามการทานผักชี ว่าแล้วก็ตามไปทำความรู้จักผักชีให้มากขึ้นกันเลย
ผักชี เป็นผักชนิดหนึ่งที่เรารู้จักกันดี มีกลิ่นแรงที่เป็นเอกลักษณ์ หากแต่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณหลายอย่าง ตั้งแต่ต้นจนถึงราก เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราไม่ควรมองข้ามการทานผักชี ว่าแล้วก็ตามไปทำความรู้จักผักชีให้มากขึ้นกันเลย
ผักชี (Coriander) เป็นผักที่มีสีเขียวทั้งต้น แต่มีรากเป็นสีขาว ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และเอเชียตะวันตก ในประเทศไทยได้มีการปลูกผักชีในจังหวัดราชบุรี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร ผักชีถูกนำมาใช้ประกอบอาหารหลากหลายชนิด โดยเฉพาะการโรยหน้าอาหาร ซึ่งสามารถช่วยเพื่อเพิ่มสีสันและแต่งกลิ่นทำให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
คุณค่าทางโภชนาการของผักชี
ผักชี 100 กรัม มีคุณทางโภชนาการดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 3.67 กรัม น้ำตาล 0.87 กรัม เส้นใย 2.8 กรัม ไขมัน 0.52 กรัม โปรตีน 2.13 กรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม เบต้าแคโรทีน 3930 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 865 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.162 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.114 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.57 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.149 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 62 ไมโครกรัม วิตามินซี 27 มิลลิกรัม วิตามินอี 2.5 มิลลิกรัม และแคลเซียม 67 มิลลิกรัม
ผักชีเป็นพืชที่มีสารอาหารที่ดีต่อร่างกายอย่างน่าอัศจรรย์หลายอย่าง โดยมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ป้องกันมะเร็ง มีคุณสมบัติช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ของผักชีด้านอื่นๆ อะไรอีกบ้าง เราไปดูกันเลย
1.ต่อต้านอนุมูลอิสระ
ใบของผักชี มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ สารฟลาโวนอยด์ สารแลคโตน สารฟีโนลิก สารแทนนิน ต้นผักชียังอุดมไปด้วยวิตามินเอและเกลือแร่ จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ใบและลำต้นของผักชีมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง มีสรรพคุณต่อต้านอาการชัก ป้องกันเซลล์สมองจากการถูกทำลาย ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ช่วยย่อยในระบบทางเดินอาหาร จึงไม่แปลกใจเลยว่า ผักชีกลายเป็นพืชยอดฮิตของคนญี่ปุ่น
2.ส่งเสริมระบบการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้
ผักชีจัดว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร โดยได้มีการนำไปเป็นตัวยา ซึ่งมีสรรพคุณในการกระตุ้นกระเพาะอาหารและลำไส้ ให้ขับน้ำดีและขับน้ำย่อยออกมามากขึ้น น้ำมันหอมระเหยของผักชี ยังมีสารยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี
3.ลดน้ำตาลในเลือด
นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากผักชีมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยายังพบว่า ผลและเมล็ดของผักชี ยังมีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิตได้ ส่งเสริมประสิทธิภาพของยาลดความดันให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
4.บำรุงสายตา ต่อต้านการอักเสบ
ในผักชี 100 กรัม จะมีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 3,930 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่มีสูงในผักชี มีสรรพคุณที่ช่วยต่อต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกาย และสารเบต้าแคโรทีนยังมีส่วนบำรุงสายตา ทำให้การทำงานของสายตาเป็นไปอย่างปกติ
5.รักษาและป้องกันสิว
การทานผักชีเป็นประจำจะทำให้ร่างกายได้รับสารคลอฟิลล์ที่มีคุณสมบัติกำจัดสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย นอกจากนี้ ยังช่วยลดกระกรดในกระแสเลือด ช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลิน ช่วยล้างพิษตับและทำให้ระบบเผาผลาญพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับใครที่ต้องการรักษาสิว เพียงทานผักชีเป็นประจำก็จะช่วยในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดสิว ผิวก็จะเรียบเนียนใส ไร้สิวกวนใจ
ผักชีมีคุณสมบัติโดดเด่นในหลายด้าน โดยได้มีการนำผักชีมาใช้เป็นตำรับยาแผนโบราณมานานแล้ว เนื่องจากผักใช้เป็นยาได้ทั้งต้นคือ ตั้งแต่ใบ เมล็ดและราก ซึ่งไอเดียการนำผักชีมาใช้เพื่อสุขภาพก็มีดังนี้
1.ใบผักชี บำรุงร่างกาย ใบผักชีเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย ช่วยบรรเทาอาหารคลื่นไส้ แก้หวัด อาเจียน แก้หวัด ลดอาการวิงเวียนศีรษะ รักษาอาหารเป็นพิษ แก้กระหายน้ำ
2.เมล็ดผักชี ลดอาการปวดฟัน ในส่วนของเมล็ดผักชี สามารถใช้รักษาแผล บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาโรคบิด แก้ริดสีดวงทวารหนัก บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
3.ต้นสด ทำให้เจริญอาหาร นอกจากนี้ ยังช่วยขับเหงื่อ ขับลม ทำให้เจริญอาหาร ละลายเสมหะ และใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารได้
4.รากผักชี รักษาโรคอีสุกอีใส สำหรับรากผักชี มีสรรพคุณช่วยขับพิษไข้หัว รักษาโรคหิด รักษาโรคอีสุกอีใส และไข้อีดำอีแดง