- 09 ก.ค. 2563
เรียกได้ว่าปัจจุบันนี้นั้นมีวิธีการถนอมอาหารมากมาย แต่การถนอมอาหารที่ง่ายที่สุดของคนสมัยนี้คือการโยนสิ่งที่ต้องการเก็บเอาไว้ในตู้เย็น แต่อย่างไรก็ตาม อาหารบางอย่างที่เรานำไปแช่ในตู้เย็นนั้นอาจจะทำให้อาหารนั้นเสีย ไม่สดใหม่ และทำให้บรรยากาศภายในตู้เย็นเสียไปด้วย ดังนั้นวันนี้ เราจะมาแนะนำ 12 อาหาร ไม่ควรแช่ตู้เย็น อาจทำให้เสีย และไม่สดใหม่ได้
เรียกได้ว่าปัจจุบันนี้นั้นมีวิธีการถนอมอาหารมากมาย แต่การถนอมอาหารที่ง่ายที่สุดของคนสมัยนี้คือการโยนสิ่งที่ต้องการเก็บเอาไว้ในตู้เย็น แต่อย่างไรก็ตาม อาหารบางอย่างที่เรานำไปแช่ในตู้เย็นนั้นอาจจะทำให้อาหารนั้นเสีย ไม่สดใหม่ และทำให้บรรยากาศภายในตู้เย็นเสียไปด้วย ดังนั้นวันนี้ เราจะมาแนะนำ 12 อาหาร ไม่ควรแช่ตู้เย็น อาจทำให้เสีย และไม่สดใหม่ได้
1.แอปเปิ้ล
เราไม่จำเป็นต้องนำแอปเปิ้ลที่เราซื้อมาสดใหม่ เข้าไปใส่ตู้เย็นก็ได้ เพราะผลแอปเปิ้ลสามารถอยู่ได้ที่อุณหภูมิห้องได้หลายวัน เพราะเปลือกด้านนอกเป็นแวกซ์ช่วยป้องกันแบคทีเรียได้ แต่เพื่อป้องกันการสุกมากเกินไปควรห่อกระดาษทีละลูกแล้ววางไว้ในที่แห้ง พ้นแสงแดด ก็ไม่จำเป็นต้องแช่ตู้เย็นแล้ว แต่หลังจากนั้นสัก 1 สัปดาห์หากมีปริมาณเยอะมาก ก็ค่อยนำมาใส่ตู้เย็นได้ เพราะการแช่ตู้เย็นจะทำให้รสชาติและความหอมหวานลดลง
2.มันฝรั่ง
หัวมันฝรั่งอุดมไปด้วยสารอาหารและพร้อมที่จะเจริญเติบโตเป็นต้นทุกเมื่อ เพราะแหล่งพลังงานล้วนๆอยู่ที่หัวมันที่เราจะนำมาใช้เป็นอาหารนั่นเอง เมื่อเรานำมันฝรั่งไปแช่ตู้เย็น มันมักจะโผล่งอกออกมาเป็นรากเสมอ และส่งผลให้หัวมันฝรั่งเนื้อแน่นของเราเปลี่ยนแปลงไป ไม่น่ารับประทานและเปลือกข้างนอกเหี่ยว
3.มะเขือเทศ
การนำมะเขือไปแช่ตู้เย็น จะเห็นผิวของมะเขือเทศเหี่ยวย่นและเนื้อสัมผัสไม่น่ารับประทานเลย มะเขือเทศที่สีสดใส ผิวชุ่มน้ำและเต่งตึงที่ถูกตกแต่งบนจานเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้อยากอาหารได้มากทีเดียว ทางที่ดีควรรีบรับประทานให้หมด
4.นูเทลล่า
การเก็บนูเทลล่าไว้ในตู้เย็น ทำให้เกิดการแข็งตัวของไขมันที่เป็นส่วนประกอบ ไม่น่ารับประทาน แยกชั้น และยังตักขึ้นมายาก รสชาติของโกโก้ก็เปลี่ยนไปด้วย เราสามารถเก็บนูเทลล่าไว้นอกตู้เย็นเพื่อให้มีเนื้อสัมผัสนุ่มนวลและง่ายต่อการรับประทานด้วย
5.น้ำมันมะกอก
เมื่อเรานำน้ำมันมะกอกที่เพิ่งซื้อมาใหม่ไปเก็บในตู้เย็น โดยตั้งใจว่าจะยืดอายุการเก็บรักษา ซึ่งผลที่ได้คือ เกิดการแข็งตัวของน้ำมัน ลักษณะเป็นไข เพราะน้ำมันมะกอกประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เมื่ออุณหภูมิต่ำลง ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีในโครงสร้างแล้วเกิดเป็นไขขึ้น แต่ไม่ต้องตกใจให้เรานำน้ำมันออกมาวางในอุณหภูมิห้อง น้ำมันมะกอกก็จะกลับมาใสตามปกติ
6.แตงโม
ส่วนมากนิยมขณะที่กำลังเย็น เพื่อความสดชื่นและคลายร้อน แต่อย่างไรก็ตามแตงโมนั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก การนำแตงโมทั้งผลใหญ่ไปแช่ตู้เย็น หรือที่เย็นเกินไป จะทำให้น้ำในผลแตงโมมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นกว่าการเก็บรักษาแตงโมที่อุณหภูมิห้อง ส่งผลให้โมเลกุลของน้ำเบียดกันและทำลายเนื้อเยื่อของแตงโม ทำให้เนื้อช้ำ เละ ไม่น่ารับประทาน หรือถ้าตู้เย็นที่มีความเย็นมากๆ ผลแตงโมอาจจะปริแตกได้ด้วย
7.น้ำผึ้ง
เพราะในที่อุณหภูมิต่ำมากเกินไป น้ำผึ้งจะเกิดการสร้างผลึกน้ำตาลทำให้เนื้อสัมผัสเปลี่ยนไป ทั้งๆที่จริงแล้วเราสามารถเก็บน้ำผึ้งไว้ในภาชนะที่สะอาด ปิดให้สนิท หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรงก็เพียงพอแล้ว เพราะน้ำผึ้งมีคุณสมบัติค่อนข้างเป็นกรด มีปริมาณน้ำเป็นส่วนประกอบน้อย อีกทั้งมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ไม่เหมาะต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย
8.กระเทียม
ห้ามเด็ดขาดที่จะนำกระเทียมไปแช่ไว้ในตู้เย็น เพราะมันจะเน่าเสียรวดเร็วมาก และด้วยความชื้นในตู้เย็น เจ้ากระเทียมของเราก็จะกลายเป็นงอกต้นอ่อนให้เราได้เชยชมอีกต่างหาก สำหรับการเก็บกระเทียมต้องเก็บในสภาพแวดล้อมที่แห้ง ไม่อับชื้น อุณหภูมิไม่สูง กระเทียมถึงจะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น
9.กล้วย
เรามักจะเลือกซื้อกล้วยทั้งหวี มาในแบบห่ามหรือแบบที่ใกล้จะสุก เพราะถ้ายกมาทั้งหวีและเลือกแบบสุกงอมเต็มที่ มันอาจจะเน่าเสียและช้ำไปก่อนที่จะกินหมด ดังนั้นการเก็บรักษากล้วยที่ซื้อมา เพียงแค่เราวางไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติ กล้วยจะผลิตแก๊สเอทิลีน แล้วค่อยๆทะยอยสุก แต่ถ้าเราเอากล้วยทั้งหมดที่ซื้อมาไปแช่ตู้เย็น และหวังว่ามันจะสุก คงจะต้องรอนานมากเพราะสภาวะที่ไม่เหมาะกับการผลิตแก๊สเอทิลีน อีกทั้งการนำกล้วยไปแช่ในตู้เย็นก็จะทำให้สีของเปลือกเป็นสีน้ำตาลคล้ำหรือสีดำ ซึ่งไม่น่ารับประทานเลย เป็นผลมาจากการทำปฏิกิริยาของสารประกอบฟีนอลที่เปลือกกล้วย
10.ฟักทอง
หากนำฟักทองไปเก็บไว้ในตู้เย็น นอกจากรสชาติเปลี่ยนไปและเนื้อสัมผัสที่แข็งเหี่ยวแล้ว ฟักทองจะเกิดการเน่าเสียได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากความชื้นเป็นสิ่งที่เจ้าเชื้อราชื่นชอบ ยิ่งถ้าเป็นฟักทองที่ถูกหั่นไปแล้ว หรือฟักทองที่ผิวมีแผลยิ่งทำให้เสียง่าย ดังนั้นเราสามารถเก็บฟักทองในอุณหภูมิห้อง แต่ต้องมีความแห้ง ปราศจากความชื้น และถ้าถูกหั่นไปทานแล้ว ก็ควรทำส่วนที่เหลือให้สุกแล้วแช่เย็นเพื่อเก็บรักษาจะดีกว่า
11.หอมหัวใหญ่
การนำหอมหัวใหญ่ไปแช่ตู้เย็นนั้นจะทำให้เน่าเสียได้ง่าย เนื่องความชื้นเป็นของชื่นชอบของเชื้อรา และเนื้อของหอมหัวใหญ่จะเหี่ยวและไม่กรอบเหมือนใหม่ด้วย เพียงแค่เก็บหอมหัวใหญ่ไว้ในที่แห้ง สามารถถ่ายเทอากาศได้ ไม่ทำให้เกิดการอับชื้นหรือเกิดเป็นไอน้ำและพ้นแสง แค่นี้ก็เก็บรักษาได้นานแล้ว
12.น้ำสลัด
สำหรับน้ำสลัดชนิดที่มีน้ำส้มสายชูเป็นส่วนผสม ไม่จำเป็นจะต้องเก็บรักษาโดยนำไปแช่ตู้เย็น เพราะความเป็นกรดของผลิตภัณฑ์เสมือนเป็นสารกันบูดอยู่แล้ว นอกจากน้ำส้มสายชูที่มักเป็นส่วนประกอบแล้ว สารที่เติมลงไปอย่างพวกเกลือ ส่งผลให้มีสภาวะที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ถึงแม้ไม่แช่ตู้เย็นก็สามารถอยู่ได้นาน