- 23 ก.ค. 2563
ศูนย์วิทย์ฯพิษณุโลกเฝ้าระวังอะลูมิเนียมในน้ำดื่ม ศูนย์วิทยศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก กรมวิทยศสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เฝ้าระวังอะลูมิเนียมในน้ำดื่ม ในพื้นที่น้ำท่วมจังหวัด พิษณุโลก ผลตรวจวิเคราะห์พบอะลูมินียมที่เก็บจากประปาหมู่บ้านของอำเภอพรหมพิราม และอำเภอ เมือง จำนวน 3 ตัวอย่าง สูงเกินเกณฑ์ คาดสาเหตุเกิดจกการเติมสารส้มในปริมาณที่มากเกินไป ชี้ ผู้บริโภคมีความเสี่ยงเป็นอัลชมอร์หากบริโภคน้ำที่มีปริมาณอะลูมิเนียมสูงเป็นเวลานาน เตรียมศึกษาหาปริมาณการเติมสารส้มที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ศูนย์วิทย์ฯพิษณุโลกเฝ้าระวังอะลูมิเนียมในน้ำดื่ม ศูนย์วิทยศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก กรมวิทยศสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เฝ้าระวังอะลูมิเนียมในน้ำดื่ม ในพื้นที่น้ำท่วมจังหวัด พิษณุโลก ผลตรวจวิเคราะห์พบอะลูมินียมที่เก็บจากประปาหมู่บ้านของอำเภอพรหมพิราม และอำเภอ เมือง จำนวน 3 ตัวอย่าง สูงเกินเกณฑ์ คาดสาเหตุเกิดจกการเติมสารส้มในปริมาณที่มากเกินไป ชี้ ผู้บริโภคมีความเสี่ยงเป็นอัลชมอร์หากบริโภคน้ำที่มีปริมาณอะลูมิเนียมสูงเป็นเวลานาน เตรียมศึกษาหาปริมาณการเติมสารส้มที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
นายแพทย์นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า อะลูมิเนียมเป็น โลหะ ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อุตสหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมยาลดกรดในกระเพาะอาหาร อุตสาหกรมการประปา รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรมกระดาษ ย้อมผ้า ฟอกหนัง สารดับกลิ่น ฟอกสี ทำ อุปกรณ์ไฟฟ้า ภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่มและทำเครื่องใช้ในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ใน ครัวเรือนในรูปสารประกอบไฮเดรตเต็ดโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลฟต หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ สารสัม โดยมี วัตถุประสศ์หลักที่สำคัญของการนำมาใช้คือ ใช้กวนน้ำให้เกิดการตกตะกอนเพื่อให้ได้น้ำใสมาใช้อุปโภคบริโภค ใช้ระงับกลิ่นตัว โดยเฉพาะที่รักแร้ และเท้า สามารถระงับกลิ่นได้ 100 % นานถึง 24 ชั่วโมง
ในชีวิตประจำวันของคนทั่วไปมีโอกาสได้รับอะลูมิเนียมเข้าสู่ร่างกายหลักๆ มาจากการบริโภคอาหาร และน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำบริโคที่มีความใสจากการใช้สารส้มแกว่งให้ตกตะก่อน และไม่มีการควบคุม ตรวจสอบปริมาณอะลูมินียมในน้ำให้มีปริมาณที่ปลอดภัยต่อการบริโภค ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) เรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กำหนดให้มีอะลูมิเนียมได้ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร อะลูมินียมที่เข้าสู่ร่างกาย ประมาณร้อยละ 3 จะถูกดูดซึมแพร่กระจายผ่านทาง ระบบเลือดไปยังปอด ตับ กระดูก และสมอง และถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะผ่านไต ซึ่งอาจทำให้ไต เสื่อมได้ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายหรือไตบกพร่อง จึงมีความเสี่ยงต่อพิษของอะลูมิเนียมสูงกว่าคนปกติ หากบริโภคน้ำที่มีอะลูมิเนียมหรือสารส้มปนปื้อนอยู่ในปริมาณที่สูงอาจทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง เกิด ผื่นคันเป็นแผลร้อนในได้ และที่สำคัญที่สุดคือเกิภาวะสมองเสื่อม และเป็นโรคอัลไซเมอร์ เนื่องจาก อะลูมิเนียมเป็นโลหะที่มีประสิทธิภาพในการทำลายเนื้อเยื่อประสาท