ไขปริศนา ตัวประหลาดในทะเล ตัวใส ๆ เหมือนวุ้น มองทะลุได้

ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่งได้แชร์ภาพพร้อมคำถาม เป็นภาพของสิ่งแปลกตาที่พบเจอจากท้องทะเลบางสะพาน ลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต ไม่เคลื่อนไหว มีหลายขนาด รูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ๆ ตัวเป็นสีใส ๆ เหมือนวุ้น สามารถมองทะลุผ่านได้ และตามตัวมีจุดกลม ๆ อยู่ด้วย ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ เนชั่นแนล จีโอกราฟิก ระบุว่า สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Salp (ซาล์ป) นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะเรียกมันว่า Jelly balls หรือ Jellyfish Eggs (ไข่แมงกะพรุน) ด้วยลักษณะของมันที่คล้ายกับแมงกะพรุน แต่แท้จริงแล้วพวกมันไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลย สิ่งเดียวที่ทั้งสองมีเหมือนกันคือ ลักษณะเป็นวุ้น ๆ ลอยไปลอยมาในทะเล

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2563 ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่งได้แชร์ภาพพร้อมคำถาม เป็นภาพของสิ่งแปลกตาที่พบเจอจากท้องทะเลบางสะพาน ลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต ไม่เคลื่อนไหว มีหลายขนาด รูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ๆ ตัวเป็นสีใส ๆ เหมือนวุ้น สามารถมองทะลุผ่านได้ และตามตัวมีจุดกลม ๆ อยู่ด้วย

ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ เนชั่นแนล จีโอกราฟิก ระบุว่า สิ่งมีชีวิตดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Salp (ซาล์ป) นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มักจะเรียกมันว่า Jelly balls หรือ Jellyfish Eggs (ไข่แมงกะพรุน) ด้วยลักษณะของมันที่คล้ายกับแมงกะพรุน แต่แท้จริงแล้วพวกมันไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันเลย สิ่งเดียวที่ทั้งสองมีเหมือนกันคือ ลักษณะเป็นวุ้น ๆ ลอยไปลอยมาในทะเล
 

ในขณะที่แมงกะพรุนมีพิษ แต่เจ้าซาล์ป ไม่มีพิษมีภัยใด ๆ ต่อมนุษย์ อีกทั้งยังมีคุณสมบัติสำคัญช่วยลดโลกร้อน ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในท้องทะเล โดยมันจะกินสาหร่ายทะเลเข้าไป จากนั้นเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสาหร่ายให้กลายเป็นของแข็ง ขับเป็นเม็ดอุจจาระปล่อยลงทะเล เจ้าเม็ดนี้จะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในทะเลได้ และตอนที่มันตายก็จะดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปก้นทะเลด้วย

ซาล์ป จัดอยู่ในประเภทของ Tunicate เป็นสัตว์น้ำเค็ม มีแกนสันหลัง ไม่มีกะโหลกศีรษะ ไม่มีขากรรไกร แพร่พันธุ์โดยการแตกหน่อแล้วจะอยู่เชื่อมติดกันเป็นโซ่ยาว โดยพวกมันจะมีสปีชีส์ที่แตกต่างไปอีกกว่า 50 ชนิด บางชนิดแตกหน่อสร้างเป็นลักษณะวงล้อ หรือบางชนิดก็เป็นโซ่เป็นเกลียวคู่

อ้างอิงจาก : National Geographic, เฟซบุ๊ก Sitthichoke Jitiwong
 

ไขปริศนา ตัวประหลาดในทะเล ตัวใส ๆ เหมือนวุ้น มองทะลุได้