แพทย์เตือน 4 โรคอันตราย ที่เกิดจากการนั่งไขว่ห้าง ปรับท่านั่งด่วน!

ท่านั่งไขว่ห้าง เป็นท่าที่หลายคนนั่งจนติดเป็นนิสัย ไม่ว่าจะเป็น ผู้หญิง หรือ ผู้ชาย เเต่เชื่อหรือว่า การนั่งไขว่ห้าง เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองแต่ไม่รู้ตัว ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ อันตรายต่อสุขภาพ

แพทย์เตือน 4 โรคอันตราย ที่เกิดจากการนั่งไขว่ห้าง ปรับท่านั่งด่วน!

แพทย์เตือน 4 โรคอันตราย ที่เกิดจากการนั่งไขว่ห้าง ปรับท่านั่งด่วน!

แพทย์เตือน 4 โรคอันตราย ที่เกิดจากการนั่งไขว่ห้าง ปรับท่านั่งด่วน!

แพทย์แผนจีน เจิ้งเว่ยเจ้อ ออกมาเตือนว่า การน่งไขว่ห้างติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้หน้าท้องส่วนล่างนูน น่องยื่นออกมา และและทำให้กระดูกเชิงกรานโก่ง

ดร.เจิ้ง โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ "Han Yi Tang Traditional Chinese Medicine Clinic" ว่า ท่าไขว่ห้างไม่เพียงแต่อันตรายสุขภาพกระดูกเชิงกราน และกระดูกสันหลัง การโก่งของกระดูกเชิงกรานจะทำให้เกิดภาวะปวดหลัง ไหล่ และคอ

ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ หยานเก้อหลุน ยังสนับสนุนข้อมูลนี้ โดยเผยอันตราย 4 ประการ ที่เกิดจากการไขว่ห้าง ไว้ดังต่อไปนี้

 


 

แพทย์เตือน 4 โรคอันตราย ที่เกิดจากการนั่งไขว่ห้าง ปรับท่านั่งด่วน!

 

1.กลุ่มอาการ Piriformis : กล้ามเนื้อ Piriformis เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ลึกเข้าไปบริเวณก้น การไขว้ห้างจะทำให้กล้ามเนื้อส่วนนี้ตึง ยิ่งไขว่ห้างนาน ยิ่งทำให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการบวมและอักเสบได้ง่าย ทำให้มีอาการปวดร้าวช่วงบั้นท้าย สังเกตง่ายๆ คือจะเจ็บกล้ามเนื้อ เวลาเปลี่ยนท่า

 

2. เส้นเลือดขอด: เมื่อไขว่ห้าง ขาทั้งสองข้างจะทับกัน เส้นประสาทและหลอดเลือดที่อยู่ด้านหลังขา จะไปกดทับอีกข้างหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอดที่น่อง 

 

3. อาการปวดสะโพก: การไขว่ห้างจะทำให้ความดันในอุ้งเชิงกรานไม่สมดุลทำให้เกิดปัญหาเช่นหมอนรองกระดูกสันหลังและอาการปวดสะโพก หากมีอาการเจ็บ ชา ปวด อ่อนแรงอยู่แล้ว หรือเป็นผู้สูงอายุก็ควรหลีกเลี่ยง

 

4. ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ การนั่งไขว่ห้างอาจทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและพังผืดสูญเสียความยืดหยุ่น ส่งผลให้ปวดท้องน้อย หรือปัสสาวะบ่อยขณะปัสสาวะ ส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ  

 

 

ดังนั้นจึงควรปรับท่านั่งให้ถูกต้อง เพราะอาการปวดหลังอาจมาจากการนั่งไขว่ห้างก็เป็นได้ แต่ถ้าใครปรับท่านั่งแล้ว แต่ยังมีอาการปวดหลังอยู่ แนะนำให้มาพบแพทย์จะดีที่สุด แพทย์จะทำการตรวจอย่างละเอียด พร้อมทั้งวินิจฉัยแยกโรค Office syndrome กับ โรคจากกระดูกสันหลัง และแนะนำการรักษาได้อย่างตรงจุด