- 22 พ.ค. 2561
อนุเสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เป็นรูปปั้นศักดิ์สิทธิ์ ใครได้ไปสักการะที่นี่เป็นสิริมงคล
พระยาพิชัยดาบหัก ท่านเป็นขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในชั้นเชิงการต่อสู้ ทั้งมือเปล่าแบบมวยไทย และอาวุธแบบกระบี่ กระบอง เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้าน ห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๘๔ ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ
เข้ารับราชการกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองค์รักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ ภายหลังข้าศึกยกทัพมาตีเมืองพิชัย ๒ ครั้ง ในการรบครั้งที่ ๒ พระยาพิชัยถือดาบสองมือออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงไดัรับสมญานามว่า "พระยาพิชัยดาบหัก"
คาถาบูชาท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก
(ตั้งนะโม ๓ จบ)
นมัสการพ่อพระยาพิชัยดาบหัก
วันทิตะวา ราชาวิยะเต นะโม นมัสการ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก เอหิราชา เอหิวิญญาณัง ขอเชิญดวงวิญญาณในสรวงสวรรค์ ท่านพ่อพระยาพิชัยดาบหัก จงมาประสาท ประสิทธิ์พระพรชัยให้ศิษย์และลูกหลานทุกคน จงมีแต่ความสุข ความเจริญ มีโชค มีลาภ มีความสำเร็จ ปราศจากทุกข์โทษโพยภัยพระยันต์อันตรายทั้งปวง
เอหิมะมะ มามา มาเรโส ธายะ มาเรโส ธายะ ประสิทธิ์ ภะวันตุเม
เครื่องบวงสรวง หรือถวายแก้บน
หัวหมูต้ม ไก่ต้ม สุรา ผลไม้ พวงมาลัย รูปปั้นไก่เขียวพาลี การชกมวยถวาย ขนมมงคล น้ำเปล่า / น้ำเขียว / น้ำแดง บายศรี
ไหว้ปกติธูป ๙ ดอก บนบานศาลกล่าว ๑๖ ดอก
ย้อนไปเมื่อปีที่แล้วบริเวณอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพื้นที่บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก ที่บ้านห้วยคา อ.พิชัย หลังได้ทราบข่าวว่าอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักซึ่งเป็นปางนั่งครองเมือง คล้ายมีคราบมีน้ำตาไหลออกมาอาบแก้มทั้งสองข้าง ซึ่งวันที่ ๖ พฤศจิกายน ที่ผ่านมาเป็นวันสำคัญ ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพร้อมทหารเอกคู่บัลลังก์คือ พระยาพิชัย เข้าโจมตีเอาชนะข้าศึกที่ค่ายโพธิ์สามต้น ที่เรียกว่า "วันชนะศึก"
ก็น่าจะเป็นน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ เพราะทางอำเภอได้มีการพัฒนาพื้นที่บริเวณอนุสาวรีย์ให้มีความสะอาดสวยงามเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยหลังจากที่มีข่าวเรื่องน้ำตา ทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจเข้ามากราบสักการะอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักเป็นจำนวนมาก โดย ชาวบ้านเคยเล่าให้ฟังว่า เคยเกิดมาก่อนหน้านี้แล้ว ๒ ครั้ง คือช่วงที่เกิดปัญหาการเมืองแบ่งเป็น ๒ สี และช่วงใกล้วันถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก็เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระยาพิชัยดาบหัก
ขอบคุณคลิปจาก : เพจ เจ้าตาก 250 ปี เส้นทางสู่สายอิสรภาพ