- 24 ก.พ. 2562
พล.ต.อ. เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย จะไม่เอา"รัฐประหาร" จริงหรือ ย้อนกลับ สมัยเป็นผบ.ตรแถมเป็นยังเป็น สมาชิก คมช.
ท่ามกลางสนามการเลือกเดือด พร้อมกับการชูนโยบาย ของพรรคการเมืองที่เรียกตัวเองว่าฝ่ายประชาธิปไตย ได้ มีการเชื่อมโยงนำกองทัพไปเป็นประเด็นในการหาเสียง..ที่ผ่านบทบาท พล.ต.อ. เสรีพิสุทธิ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ถือว่ามีการหาคะแนนเสียงใช้การโจมตีกองทัพเป็นหลัก แล้วการกล่าวโจมตี ตัวบุคคลอย่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
อาทิ ในการลงพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 20 ก.พ.62 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ กล่าวกับพี่น้องประชาชนว่า "ทหารคือปัญหาของบ้านเมือง ตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา หากผมได้มีโอกาสเข้าไปบริหารบ้านเมือง ต้องไม่มีเกณฑ์ทหาร ต้องยุบหน่วยทหารที่ไม่จำเป็นออก กองบัญชาการทหารสูงสุด ต้องยุบ กองทัพน้อยต้องยุบ ศาลทหารไม่มีศึกสงคราม ไม่ต้องมี"
อีกทั้ง เมื่อวันที่ 18 ก.พ. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ได้ยื่นคำร้องต่อ กกต.ขอให้ยุบพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โดยให้ใช้มาตรฐานเดียวกันกับการยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) โดยระบุว่าการเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค พปชร.เข้าข่ายความผิดเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 92 (2) เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ทำการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ถือเป็นกบฏถ้าไม่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษต้องได้รับจำคุก หรืออาจถูกประหารชีวิตไปแล้ว อีกทั้งเข้าข่ายเป็นผู้ไม่เลื่อมใสต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว พรรค พปชร.ก็ยังมาเสนอชื่อให้มาเป็นแคนดิเดตนายกฯ ดังนั้น ตนจึงต้องมายื่นเรื่องต่อ กกต.
ตามประวัติ พล.ต.อ. เสรีพิสุทธิ์ เป็นคนจังหวัดธนบุรี จบมัธยมจากโรงเรียนทวีธาภิเศก และไปต่อโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 8 (ตท.8) รุ่นเดียวกับ พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ฯลฯ และไปจบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 24 (นรต.24)
เจ้าของฉายา "วีรบุรุษนาแก" ซึ่งในอีดต พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เคยรับราชการอยู่ที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ช่วงปี 2515-2524 เป็น “พื้นที่สีแดง” ที่มีคอมมิวนิสต์ชุกชุมในยุคนั้น ได้ต่อสู้ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนบ้านเมืองบังเกิดความสงบเรียบร้อย
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็ยังได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญเช่น ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในปี 2541 ,และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจเรตำรวจแห่งชาติคนแรกใน ปี 2547 ระหว่างนั้นก็มีเป๋ไปบ้าง โดยถูกย้ายไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษา สบ.10 ในปี 2549
อย่างไรก็ตาม สมัยรัฐบาลทักษิณ ได้เกิดกระแสการวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย ถึงตำแหน่ง ผบ.ตร.คนต่อไปจาก พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผบ.ตร.ในขณะนั้น จะเกษียณอายุราชการในปี 2550 และจากนั้น ตำแหน่ง ผบ.ตร.คนต่อไปก็น่าจะตกเป็นของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น รองผบ.ตร. “พี่ชายคุณหญิงพจมาน” ขณะนั้นยังมีสถานะเป็น ภรรยานายทักษิณ ผู้มีอายุราชการยาวนานถึงปี 2555 ขณะที่พล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์จะเกษียณปี 2551
จนกระทั่ง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ 24 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2549 จากการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โค่นล้มรัฐบาล “ทักษิณ ชินวัตร” จากนั้นพล.อ.สุรยุทธ์ แต่งตั้งพล.ต.อ.เสรีขึ้นแทน พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ เมื่อ 1 ตุลาคม 2550 แถมยังไปมีชื่อเข้าเป็น สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. อีกด้วย ในวันที่ 20 มิถุนายน 2550 คมช. ได้มีประกาศ ฉบับที่ 1 แต่งตั้ง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ฯ เป็นสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ขณะที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ถูกโยกย้ายไปเป็น ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านความมั่นคง ในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากคณะรัฐประหารมองว่าพลตำรวจเอกเพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับรัฐบาลชุดเก่า
ต่อมาในปี2551 พลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาล โดยมีนาย สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2551 ผ่านไปเพียงไม่กี่เดือน ในวันที่8 เมษายน 2551 นาย สมัคร ออกคำสั่งให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ออกจากราชการ ก่อนเกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนเสียด้วยซ้ำ!..ด้วยข้อกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ขณะที่พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ได้กลับมาดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีกครั้ง ในวันที่ 2 มิถุนายน 2551
กระทั้งรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ามากู้ชื่อเสียงหน้าตา ให้กับพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 ด้วยการยกเลิกคำสั่งให้ออกจากราชการของ..นี่จึงเป็นร่องรอยเส้นทางชีวิตที่ผ่านมา อดีตนายตำรวจใหญ่ ผันตัว สวมหมวกนักการเมืองเต็มตัว