- 23 มี.ค. 2562
บัตรเครดิต คือปัจจัยทางการเงินที่มีติดกระเป๋ากันแทบทุกคนในยุคนี้ แต่ในการรูดบัตรแต่ละครั้งนั่นหมายความว่าจะต้องมีดอกเบี้ยตามมาเมื่อจ่ายไม่ทันกำหนดหรือมีการแบ่งจ่าย ดังนั้นเพื่อคงประสิทธิภาพให้วินัยทางการเงินของคุณ เราลองมาทำความรู้จักกับดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพื่อคิดคำนวณรายจ่ายในการใช้บัตรเครดิตของคุณให้คุ้มค่ากันดีกว่าค่ะ โดยเรามีข้อมูลของดอกเบี้ยบัตรเครดิต จากธนาคารแห่งประเทศไทยมาฝาก
บัตรเครดิต คือปัจจัยทางการเงินที่มีติดกระเป๋ากันแทบทุกคนในยุคนี้ แต่ในการรูดบัตรแต่ละครั้งนั่นหมายความว่าจะต้องมีดอกเบี้ยตามมาเมื่อจ่ายไม่ทันกำหนดหรือมีการแบ่งจ่าย ดังนั้นเพื่อคงประสิทธิภาพให้วินัยทางการเงินของคุณ เราลองมาทำความรู้จักกับดอกเบี้ยบัตรเครดิต เพื่อคิดคำนวณรายจ่ายในการใช้บัตรเครดิตของคุณให้คุ้มค่ากันดีกว่าค่ะ โดยเรามีข้อมูลของดอกเบี้ยบัตรเครดิต จากธนาคารแห่งประเทศไทยมาฝาก
ดอกเบี้ยบัตรเครดิต จะเกิดขึ้นใน 2 กรณี
คือ กรณีที่ชำระค่าสินค้าไม่เต็มจำนวนหรือทยอยผ่อนชำระ (และไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ย 0%) หรือกรณีที่มีการเบิกถอนเงินสดมาใช้จ่ายล่วงหน้า แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่เกิน 20% ต่อปี ซึ่งการคิดดอกเบี้ยทั้งสองรูปแบบสามารถคำนวณได้ ดังนี
(1) กรณีชำระคืนค่าสินค้าหรือบริการขั้นต่ำ หรือ บางส่วน (Interest on Revolving Credit)
ตัวอย่าง วันที่ 5 ตุลาคม 2554 นาย ค. ใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าที่ร้านค้าแห่งหนึ่งจำนวน 18,000 บาท ธนาคาร ส่งใบแจ้งหนี้ที่ระบุรายละเอียด ดังนี้
ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 นาย ค. ชำระเงินขั้นต่ำ คือ ร้อยละ 10 ของยอดค่าสินค้าทั้งหมด หรือเท่ากับ 1,800 บาท ดังนั้น ในรอบบัญชีถัดไป ธนาคารจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีรายละเอียดยอดคงค้าง เท่ากับ 18,000-1,800 = 16,200 บาท และดอกเบี้ยอีกจำนวน 298.84 บาท
โดยธนาคารจะคำนวณดอกเบี้ยแยกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1) ส่วนแรก : ดอกเบี้ยจะคิดจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในรอบบัญชีที่แล้ว หรือ 18,000 บาท โดยจำนวนวัน จะนับจากวันที่สรุปยอดรายการ (25 ต.ค. 2554) จนถึงวันก่อนที่ธนาคารได้รับชำระเงินขั้นต่ำ (8 พ.ย. 2554) หรือเท่ากับ 15 วัน (ทั้งนี้ ธนาคารหรือผู้ประกอบการบางราย อาจนับจำนวนวันจากวันที่เกิดรายการนั้น ๆ ซึ่งในกรณีนี้ คือ วันที่ 5 ต.ค. 2555)
2) ส่วนที่สอง : ดอกเบี้ยจะคิดจากยอดเงินต้นคงเหลือ หรือ 16,200 บาท โดยจำนวนวัน จะนับจากวันที่ชำระเงิน ขั้นต่ำ (9 พ.ย. 2554) จนถึงวันสรุปยอดรายการเดือนถัดไป (25 พ.ย. 2554) หรือเท่ากับ 17 วัน
ตารางสรุปการคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต ในกรณีเลือกจ่ายชำระคืนค่าสินค้าหรือบริการขั้นต่ำ
(2) กรณีเบิกเงินสดล่วงหน้า (Interest on Cash Advance) จะมีวิธีการคำนวณดังนี้
ตัวอย่าง : วันที่ 1 ตุลาคม 2554 นาย ค. ใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสดล่วงหน้ามาจำนวน 20,000 บาท ต่อมาได้รับใบแจ้งหนี้จากธนาคารพาณิชย์ซึ่งสรุปยอดรายการถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2554 และกำหนดชำระเงินในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 (กรณีนี้วันสรุปยอดรายการถึงก่อนวันชำระเงิน) โดยธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ย 20% ต่อปี นาย ค. ต้องเสียดอกเบี้ยจากการเบิกเงินสดล่วงหน้าเป็นจำนวนเท่าไร
รู้ไหมว่า : ในการเบิกเงินสดล่วงหน้า นอกจากต้องจ่ายดอกเบี้ยแล้ว ยังอาจจะมีค่าธรรมเนียมตามอัตรา ที่ผู้ออกบัตรแต่ละรายกำหนดด้วย แต่แบงก์ชาติกำหนดให้ผู้ออกบัตรเรียกเก็บได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของจำนวนเงินสดที่เบิกถอน
ทั้งนี้ ผู้สนใจใช้บริการบัตรเครดิตสามารถศึกษาวิธีการคำนวณดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของผู้ออกบัตรแต่ละราย หรือด้านหลังของใบแจ้งยอดบัญชีบัตรเครดิต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย // kapook