- 29 พ.ค. 2562
เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยมีอาการเบื่องาน หรือรู้สึกว่าเรากำลังทำงานไปวันๆ ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือเล้าใจให้อยากทำงาน เหมือนวันแรกที่เข้ามาใหม่ๆ โดยอาการเหล่านี้หลายคนคงเคยถูกเพื่อนร่วมงานถามว่า "หมดไฟทำงาน" หรือเปล่า ? ถือว่าเป็นคำยอดฮิตที่นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน แต่รู้ไหมว่า อาการหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout syndrome ถูกยกให้เป็นโรค หรือ เป็นสภาพทางการแพทย์ อย่างเป็นทางการแล้ว
เชื่อว่าหลายๆคน คงเคยมีอาการเบื่องาน หรือรู้สึกว่าเรากำลังทำงานไปวันๆ ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือเล้าใจให้อยากทำงาน เหมือนวันแรกที่เข้ามาใหม่ๆ โดยอาการเหล่านี้หลายคนคงเคยถูกเพื่อนร่วมงานถามว่า "หมดไฟทำงาน" หรือเปล่า ? ถือว่าเป็นคำยอดฮิตที่นิยมใช้กันมาอย่างยาวนาน แต่รู้ไหมว่า อาการหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout syndrome ถูกยกให้เป็นโรค หรือ เป็นสภาพทางการแพทย์ อย่างเป็นทางการแล้ว
โดยเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 62 ที่ผ่านมา ทางองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศว่า โรคหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout syndrome ต่อจากนี้ไป จะนับว่าเป็นสภาพทางการแพทย์ หรือ Medical condition อย่างเป็นทางการ
โดยการประกาศในครั้งนี้ทำให้ โรคหมดไฟในการทำงาน ปรากฏอยู่บนเวชระเบียนของผู้ป่วยได้อย่างเป็นทางการอีกด้วย นั่นหมายถึงว่า แพทย์สามารถระบุสาเหตุการป่วยว่า หมดไฟในการทำงาน ผ่านใบรับรองแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา และลาป่วยอย่างเป็นทางการได้
โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout syndrome ตามการรับรองของ องค์การอนามัยโลก จะมีอาการดังต่อไปนี้..
1. ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไร้เรี่ยวแรง หรือ อ่อนเพลีย
2. มีระยะห่างทางจิตใจต่อสิ่งที่ตัวเองทำ อยากปฏิเสธงาน หรือ มีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อเรื่องที่เกี่ยวกับงาน
3. ความสามารถในการทำงานลดลง
อ้างอิงข้อมูลจาก - https://edition.cnn.com/2019/05/27/health/who-burnout-disease-trnd/index.html
อ้างอิงข้อมูจาก - https://www.dw.com/en/who-recognizes-burnout-as-a-disease/a-48908837?fbclid=IwAR1qNZGU5261aPYdodo3JE-BrDBVeJE029C6CdtGErNFokkLE67dnoIUUFo
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- เฟี้ยวฟ้าว ประกาศไม่ขายที่ดิน แม้มีคนติดต่อซื้อ ขอเก็บไว้ให้ชาวบ้าน
- สาวผู้เสียหายหวังให้เจ้าหน้าที่เวรเปลขอโทษต่อหน้า หลังเล่นเกมไม่สนใจคนป่วย