- 12 มิ.ย. 2562
รองอธิบดีฯอัยการออกมาอีก ยกคำสอนพระอินทร์! ด่าช่อเพราะปกป้องพ่อหรือแค่จ้องจับผิดเล่นงาน
จากการที่โลกออนไลน์ ได้มีการแชร์ภาพในอดีตของ "ช่อ" พรรณิการ์ วานิช ส.ส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ตอนรับปริญญา รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2553 และเพื่อนร่วม6คน โดยได้ทำทำท่าลบหลู่ขำขัน ถือเป็นกิริยาที่มิบังควร พร้อมใส่แคปชันว่า "ภาพนี้ไม่ควรมีคำบรรยาย ต่อมา ช่อพรรณิการ์ ได้ออกมา กล่าวโทษ "เพจเฟซบุ๊กที่ทำงานปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารทางจิตวิทยา (หรือที่เรียกกันว่า เพจ IO) ให้แก่ คสช. กับสื่อมวลชนนำภาพที่ช่อถ่ายเล่นๆมาโจมตีช่ออย่างรุนแรงโดยพยายามเชื่อมโยงกับเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์"
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เคลื่อนไหวเรื่อง ช่อ พรรณิการ์ โพสต์รูปชุดครุย
กระทั่งวานนี้(11มิ.ย.) นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม รองอธิบดีสำนักงานชี้ขาดคดีอัยการสูงสุด ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ถึงกรณี นางสาวพรรณิการ์ ตามที่มีกระแสกำลังเป็นที่ถูกพูดถึงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมทั้งในโลกโซเชียลฯและสังคมภายนอกถึงภาพการกระทำในเฟซุบุ๊กเมื่อ9ปีที่แล้วว่า
ตอนเราเด็กเราก็คิดอย่างเด็ก พอ
เราโตเราคิดอย่างผู้ใหญ่
ทำไมต้องถอยหลังไปเล่นงาน
ตอนเขาเป็นเด็กเมื่อ9ปีที่แล้ว เพื่ออะไร??
ล่าสุดวันนี้(12มิ.ย.)นายปรเมศวร์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ถึงกรณีดังกล่าวอีกครั้ง โดยทั้งหมดระบุว่า
ไม่ตอบโต้ใคร ไม่ตำหนิใคร แต่นักกฏหมายสายบ้านเมืองอย่างเราต้องเข้าใจ"หลักอินทรภาษ" (เรียนมาตั้งแต่ปีหนึ่ง และบางคนลืมหมดแล้ว) ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระอินทร์ที่มีต่อบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นตุลาการว่า การที่จะเป็นตุลาการที่ดีนั้นจะต้องไม่มีอคติ ๔ ประการ คือ
๑. ฉันทาคติ "รัก" เพราะเป็นลูก เป็นเมีย เป็นญาติ
๒. โทสาคติ "โกรธ" เพราะเป็นคู่อาฆาต คู่ศัตรู เคียดแค้นแล้วจ้องจับผิดเพื่อเล่นงานกัน
๓. ภยาคติ "กลัว" เพราะโจทก์เป็นผู้มีอำนาจ ถ้าไม่ตัดสินลงโทษจำเลยตามที่เขาสั่ง ก็กลัวว่าเขาจะไม่ชอบ
๔. โมหาคติ "หลง" คือ "ความไม่รู้จริง" อาจทำให้ตัดสินผิด ๆ ได้
ฉะนั้น ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์จึงบอกว่า การเป็นตุลาการที่ดี(หรือการตัดสินใครก็ตาม) จะต้องไม่มีอคติ ๔ ประการนี้ และต้องตัดสินความตามพระธรรมศาสตร์ โดยครองธรรมอันเป็น "จัตุรัส" คือ เป็นรูป ๔ เหลี่ยมไม่พลิกไปพลิกมา ใครก็ตามถ้าตัดสินความโดยมีอคติ ก็จะทำให้ชีวิตเสื่อมถอยประดุจพระจันทร์ข้ามแรม ใครก็ตามที่ตัดสินความโดยปราศจากอคติ ๔ ประการ ก็จะทำให้อิสริยยศ ลาภยศต่าง ๆ เจริญรุ่งเรืองประดุจพระจันทร์ข้างขึ้น นี่คือหลักอินทภาษที่นักกฎหมายที่ดีพึงยึดถือปฏิบัติ มิใช่หาเรื่องคนโน้นคนนี้ไปเรือยๆ แล้วเรื่องที่เกิดขึ้น ผมถามว่า "เพื่ออะไร?" คำตอบอยู่ตรงที่ว่า ถามจริง ๆ เถอะทำเพราะปกป้อง "พ่อ" หรือทำ "โทสาคติ" ถ้าทำเพราะปกป้อง"พ่อ" มันควรจะทำตั้งแรกที่เขาปรากฎตัวในสังคม มุมมองที่ต้องวิเคราะห์ตามประสาคนใช้กฏหมายเพื่อความสงบเรียบร้อยและเพื่อการปรองดองของคนในสังคม โฆษกตำรวจก็บอกแล้วว่ากำลังสอบสอน ผิดว่าไปตามผิด ถูกว่าไปตามถูก ซึ่งถูกต้องที่สุด พูดกันบ่อยๆ สถาบันจะเสียหาย และ สร้างความแตกแยกในสังคมมากขึ้นนะครับ