ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

การเลือกกินดีๆอาหารนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าเรารับแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์แทนที่จะดีกลับเป็นโทษต่อร่างกายชะงั้น วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกท่านที่อยากห่างไกลจากมะเร็งมารู้จักกับผัก สมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่ยิ่งกินรับรองได้เลยว่ามะเร้งตัวร้ายจะกลัวจนไม่กล้าเข้าใกล้เลยแม้แต่น้อย

การเลือกกินดีๆอาหารนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าเรารับแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์แทนที่จะดีกลับเป็นโทษต่อร่างกายชะงั้น วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกท่านที่อยากห่างไกลจากมะเร็งมารู้จักกับผัก สมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่ยิ่งกินรับรองได้เลยว่ามะเร้งตัวร้ายจะกลัวจนไม่กล้าเข้าใกล้เลยแม้แต่น้อย

1.ผักติ้ว

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


สรรพคุณของติ้วขาว
    1.ช่วยบำรุงโลหิต ฟอกโลหิต (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
    2.เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินแก้ธาตุพิการ (เปลือกต้น)
    3.ช่วยแก้ประดง (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
    4.ผักติ้วเป็นผักที่มีวิตามินเอสูง จึงมีสรรพคุณช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเป็นตาบอดกลางคืน และโรคตาไก่

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


    5.ช่วยขับลม (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
    6.รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (รากและใบ)
    7.ใช้รากผสมกับรากปลาไหลและหัวแห้วหมู นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะขัด (ราก)
    8.แก่นและลำต้น ใช่แช่กับน้ำดื่ม ช่วยแก้ปะดงเลือด หรืออาการเลือดไหลไม่หยุด (แก่นและลำต้น)
    9.ต้นและยางจากเปลือกต้น ใช้ทาแก้อาการคัน (ยาง)
    10.เปลือกและใบ นำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทารักษาโรคผิวหนังบางชนิด (เปลือกและใบ)
    11.น้ำยางจากต้น ใช้ทารักษารอยแตกของส้นเท้าได้ (ยาง)
    12.ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
    13.มีงานวิจัยเรื่องการทดลองสารที่พบจากใบผิวติ้วขน โดยพบว่ามีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งตับได้ และยังไม่ทำลายเซลล์ปกติอีกด้วย แต่งานวิจัยดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้นพอที่จะเอาไปใช้ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ จึงสรุปได้แต่เพียงว่า การรับประทานผักติ้วเป็นประจำจะช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับได้ (ใบ)

ประโยชน์ของติ้วขาว

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


    ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของติ้วขาวหรือผักติ้วใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ก้อย น้ำตก แจ่ว ซุปหน่อไม้ น้ำพริก น้ำพริกปลาร้า ขนมจีน หมี่กะทิ เมี่ยงญวน แหนมเนืองเวียดนาม หรือจะนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ต้มหรือแกงต่าง ๆ เพื่อใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนการใช้มะนาว เช่น แกงเห็ด แกงปลา
    ดอกอ่อน ใช้ทำซุปหรือยำได้ แต่จะนิยมใช้ติ้วขาวมากกว่าติ้วขน เพราะติ้วขาวมีรสชาติขมและฝาดน้อยกว่าติ้วขน

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


    สารสกัดด้วยน้ำของติ้วขนมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กับปลานิล โดยปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมด้วยสารสกัดติ้วขน (อัตราส่วน 1.5% (w/w)) จะมีภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Nonspecific immune response) สูงขึ้น
    สารสกัดจากผักติ้ว (ยอดอ่อน) ที่เข้ากระบวนการสกัดผสมกับเอทานอล (และขั้นตอนอีกหลายขั้นตอน) จนได้สารจากผักติ้วที่ชื่อว่า “คอลโรจินิกเอซิก” สามารถนำไปใช้ยับยั้งกลิ่นหืนของอาหารได้เป็นอย่างดี (งานวิจัยของนิสิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
    ไม้ติ้วขาวสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงสร้างบ้าน สร้างขื่อบ้าน ทำกระดานพื้น สร้างรั้ว ทำเสาเข็ม ทำด้ามเครื่องมือ จอบ เสียม เครื่องตกแต่งภายในเรือน กระสวยทอผ้า ทำหีบใส่ของ ฯลฯ

 

2.ผักชีลาว

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


    ประโยชน์ผักชีลาว หนึ่งในสมุนไพรไทย มากคุณค่าที่อยู่ใกล้ตัว ได้เวลาพิสูจน์ของดีที่ซุกซ่อนในใบเล็ก ๆ ของผักชีลาว

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

ประโยชน์ของผักชีลาว 
1. หยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
    สรรพคุณเด็ดอย่างแรกของผักชีลาวก็คือหยุดยั้งการเติบโตของเชื้อโรคต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ได้พูดเล่นนะ เพราะผลการศึกษาในปี 2006 ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน Journal of Food Science ได้แสดงให้เห็นว่า น้ำมันหอมระเหยในผักชีลาวมีประสิทธิภาพต่อต้านเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ เช่น ยับยั้งการเติบโตของเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียอันตรายต่าง ๆ อาทิ เชื้อสแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) อันเป็นสาเหตุของโรคอาหารเป็นพิษอีกด้วย
     ไม่เพียงเท่านั้น การศึกษาจากมหาวิทยาลัยในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ก็ยังได้พบอีกว่า สารสกัดจากเมล็ดผักชีลาวสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 35 ปี และสามารถฆ่าเชื้อราชนิดต่าง ๆ เช่น แอสเปอร์กิลลัส ไนเจอร์ (Aspergillus niger), เชื้อแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) หรือแม้แต่เชื้อยีสต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารได้

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

2. ลดคอเลสเตอรอล
    การศึกษาในสถาบันวิจัยเคมีชีวภาพและชีวกายภาพของอิหร่าน ได้ทำการทดลองกับหนูโดยให้สารสกัดจากใบผักชีลาวกับหนู ติดต่อกันเป็นเวลา 15 วัน พบว่าสารกัดดังกล่าวช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดของหนูได้ถึง 50 % และลดคอเลสเตอรอลโดยรวมได้อีก 20 % จึงสรุปได้ว่าการรับประทานผักชีลาว สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไขมันชนิดที่ไม่ดีต่อร่างกายได้ อันเป็นผลดีต่อสุขภาพหัวใจ

 3. ลดกรดไหลย้อน
    โรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่ทรมานใครหลายคน บางคนก็อาการกำเริบจนทำอะไรแทบไม่ได้เลยก็มี แต่ขอบอกว่าเจ้าผักชีลาวนี้ช่วยได้ค่ะ เพราะผักชีลาวนั้นสามารถเข้าไปช่วยกระตุ้นการทำงานในลำไส้ ทำให้อาหารที่รับประทานเข้าไปย่อยได้ดีขึ้น และไม่พบกับปัญหาน้ำย่อยหลั่งออกมามากเกินไปจนทำให้ไหลย้อนขึ้นไปให้แสบร้อนที่กลางอกแล้วล่ะ

4. ลดอาการนอนไม่หลับ 
     ผักชีลาวเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ เพราะสารฟลาโวนอยด์และวิตามินบีในผักชีลาวจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์และฮอร์โมนบางชนิดส่งผลให้เกิดภาวะสงบและนอนหลับได้ในที่สุด

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

5. บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง 
     แคลเซียมในผักชีลาว อย่าคิดว่าน้อยนะ ผักชนิดนี้มีแคลเซียมสูงเลยเชียว ซึ่งสามารถช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง หากใครไม่สามารถดื่มนมได้ ผักชีลาวก็ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งเพื่อบำรุงกระดูกที่น่าสนใจ

6. รักษาไข้หวัด
    ไข้หวัด ใครเป็นก็คงจะรู้สึกเซ็งไม่น้อย แต่ขอบอกเลยว่าไม่ต้องห่วง เพราะผักชีลาวสามารถช่วยลดอาการไข้หวัดได้ เช่น คัดจมูก และไอ แถมเจ้าสารสกัดจากผักชีลาวนี้ก็ยังมีในส่วนผสมของอาหารเสริมที่ช่วยบรรเทาอาการหวัดอีกด้วย รู้แบบนี้อยากรีบไปหามากินเลยใช่ไหมล่ะ

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

  7. ช่วยให้ลมหายใจสดชื่น
    สารประกอบในผักชีลาวนั้นมีการพบว่าสามารถลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว แถมเมล็ดผักชีลาวยังสามารถเคี้ยวได้สบาย ๆ ใช้เป็นประจำก็สามารถทำให้กลิ่นปากหอมสดชื่นโดยไม่ต้องกลัวว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพฟัน

8. ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง 
    เราอาจจะเคยได้ยินกันมามากว่าสมุนไพรหลากหลายชนิดสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ ได้ ผักชีลาวก็เช่นกันค่ะ เพราะผักชีลาวนั้นมีสารโมโนเทอร์ปีน (monoterpenes) อันมีคุณสมบัติในการต่อสู้กับการโจมตีของเซลล์มะเร็งและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ในการใช้สมุนไพรชนิดนี้ด้วย

9. บำรุงสุขภาพผู้หญิง    
    การศึกษาในปี 2006 ของนักวิจัยชาวอิหร่านพบว่า สารสกัดจากผักชีลาวนั้นหากรับประทานเข้าไปสามารถทำให้ระยะตกไข่ยาวนานขึ้น และช่วยให้ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนทำงานในร่างกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีการศึกษาพบอีกว่าผักชีลาวสามารถเพิ่มปริมาณน้ำนมให้ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ลดปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอได้ 

10. กระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย
    ไฟเบอร์มีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งมีอยู่ในผักหลาย ๆ ชนิด แม้แต่ผักชีลาวก็ยังมี แถมยังมีอยู่ในปริมาณมากอีกด้วย ดังนั้นขอบอกเลยค่ะว่าการรับประทานผักชีลาวนั้นสามารถช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่าย นอกจากนี้ใครที่ท้องเสียก็ควรรับประทานผักชีลาว เพราะผักชีลาวมีแร่ธาตุที่สำคัญอย่างแมกนีเซียมช่วยให้อาการท้องเสียดีขึ้นได้

 11. รักษาระดับน้ำตาลในเลือด
    มีการศึกษาหนึ่งพบว่าการรับประทานผักชีลาวช่วยรักษาระดับอินซูลินในเลือดได้ โดยการศึกษานั้นได้ทดลองกับหนูแสดงให้เห็นว่าเมื่อให้หนูกินสารสกัดจากใบผักชีลาวติดต่อกัน 15 วัน ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลงและระดับอินซูลินในร่างกายก็จะคงที่เป็นปกติ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่จะรับประทานเสริมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล

12. ปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระ
    อนุมูลอิสระคือตัวร้ายที่บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อสารอนุมูลอิสระเข้าไปแล้วก็จะไปทำลายเซลล์ในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อผิวพรรณให้แก่ก่อนวัย และอาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย แต่สารอนุมูลอิสระเหล่านี้จะถูกทำลายหากรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างเช่น ผักชีลาว แถมสารต้านอนุมูลอิสระในผักชีลาวยังมีส่วนช่วยในการลดโอกาสการออกซิเดชั่นในระดับเซลล์ได้อีกด้วย

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

******ข้อควรระวังในการรับประทานผักชีลาว*****
          ผักชีลาวมีประโยชน์มากมายอย่างที่เราได้ทราบกันไป แต่ปริมาณการรับประทานก็ควรอยู่ในปริมาณที่จำกัดค่ะ เพราะผักชีลาวเองก็ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้เช่นกัน เนื่องจากการรับประทานผักชีลาวมากเกินไปอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสงและอาจทำให้เป็นผื่นแดงได้ ดังนั้นหากจะรับประทานผักชีลาวแบบปลอดภัยไร้ผลข้างเคียง ควรให้แพทย์กำหนดปริมาณการใช้ที่ปลอดภัยให้ นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลมชัก ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยผักชีลาวเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
 

3.สะเดา

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


  สะเดาขึ้นชื่อว่าต้นไม้แห่งยา ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า แค่สะเดาต้นเดียวก็สามารถช่วยบำรุงสุขภาพของเราให้แข็งแรงได้ เห็นได้จากสรรพคุณดังนี้ 

1. ดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกาย 

          ใบสะเดาเมื่อนำมาต้มในน้ำร้อน ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง ก็จะช่วยให้เลือดสะอาด เป็นการล้างพิษในกระแสเลือด กระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น 

2. รักษาโรคผิวหนัง 

          สารเกดูนิน (Gedunin) และ นิมโบลิดี (Nimbolide) ในใบและเมล็ดสะเดามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา แบคทีเรียและเชื้อไวรัสสูง ดังนั้น จึงสามารถบรรเทาอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไวรัส และแบคทีเรียได้ผลอย่างชะงัดนัก ไม่ว่าจะเป็นเชื้อราตามเท้า เล็บมือ เล็บเท้า กลาก-เกลื้อน หิด เริม แผลจากโรคสะเก็ดเงิน (เชื้อแบคทีเรีย) หัด ลมพิษ ผดผื่นคัน หูด และอีสุกอีใส 

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

3. แก้ไข้มาเลเรีย 

          สารเคมีกลุ่มลิโมนอยด์ (Limonoids) ได้แก่ สารเกดูนิ และนิมโบลิดี ในใบและเมล็ดสะเดา สามารถยับยั้งเชื้อฟัลซิปารัม (P.Falciparum) ซึ่งเป็นเชื้อไข้มาลาเรียดื้อยาชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ­­­ 

4. โรคไขข้อ 

          ขอบใบสะเดา เมล็ดสะเดา และเปลือกต้น เป็นส่วนที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคไขข้อได้ โดยช่วยลดอาการปวด และบวมในข้อ ซึ่งอาจนำมาสกัดเป็นน้ำมันใช้ทาในบริเวณที่มีอาการปวดกล้ามเนื้­­­อ ปวดข้อ และอาการปวดหลังช่วงล่าง หรือนำใบมาต้มเป็นน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการของโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคกระดูกพรุน 

5. บำรุงธาตุ บำรุงน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร 

          ใบสะเดา สามารถนำมาทำเป็นเมนูเรียกน้ำย่อยได้ เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำดี เพิ่มปริมาณน้ำดี ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งน้ำดีที่ถูกกระตุ้นสร้างออกมานั้นจะช่วยย่อยอาหารประเภท­­­ไขมันได้ดีขึ้นด้วย 

6. บำรุงสุขภาพช่องปาก 

          ตามตำราอายุรเวทแล้ว สะเดาเป็นพืชที่มีคุณสมบัติบำรุงเหงือกและฟัน จึงนิยมนำมาสกัดเป็นส่วนผสมในยาสีฟันทั่วไป จึงช่วยรักษาโรครำมะนาด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเหงือก และลดอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก 

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

7. ช่วยให้เจริญอาหาร

          การที่สะเดาช่วยเพิ่มปริมาณน้ำดีทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น จะทำให้เราเจริญอาหารตามไปด้วย นอกจากนี้ ความขมของสะเดาก็ยังช่วยให้เจริญอาหารด้วยเช่นกัน  

8. ลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง 

          มีผลวิจัยบางชิ้นเผยว่า สารพอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารลิโมนอยด์ (Limonoids) ที่พบในเปลือก ใบ และผลสะเดา มีคุณสมบัติช่วยลดความเสี่ยงการเกิดเนื้องอก และมะเร็ง โดยไม่ก่อผลข้างเคียงใด ๆ 

9. คุมกำเนิด 

          ตามตำราแพทย์อารยุรเวทบันทึกไว้ว่ามีการใช้น้ำมันสะเดาเพื่อคุม­­­กำเนิดในผู้หญิงและผู้ชาย โดยลักษณะวิธีใช้จะต่างกัน สำหรับผู้หญิงนั้นจะใช้น้ำมันสะเดาชุบสำลีทาบริเวณปากในช่องคลอ­­­ดเพื่อชะลอการปฏิสนธิกับไข่ โดยจะฆ่าเชื้ออสุจิให้ตายภายใน 30 วินาที ส่วนผู้ชายจะใช้ฉีดน้ำมันสะเดาบริเวณท่อนำอสุจิ เพื่อยับยั้งการปล่อยอสุจิที่จะออกฤทธิ์นานประมาณ 4 ชั่วโมง 

10. บำรุงข้อต่อ 

          สะเดาช่วยบำรุงกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ ในร่างกายเรา และยังช่วยบรรเทาอาการจากโรคไฟโบรไมอัลเจีย(Fibromyalgia) หรือโรคในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังอีกด้วย 

11. ป้องกันเบาหวาน 

          สะเดามีรสขมสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ โดยจะยับยั้งการผลิตอินซูลินได้กว่าร้อยละ 50 และยังช่วยปรับสมดุลความอยากอาหารได้อีกด้วย 

12. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันโรค 

          สะเดามีฤทธิ์ดีท็อกซ์สารพิษในกระแสเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดดีหมุนเวียนในร่างกายมากขึ้น ลดการติดเชื้อในร่างกาย ต้านโรคหวัดได้ดี 

13. ลดการติดเชื้อในช่องคลอด 

          น้ำมันสะเดา สามารถช่วยลดการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ แต่อาจมีผลข้างเคียงคือ หากใช้เป็นเวลานาน จะมีโอกาสตั้งท้องยากขึ้น 

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

14. บำรุงหัวใจ 
          ตามตำราแพทย์พื้นบ้านระบุว่า ผลของต้นสะเดา หากนำมาต้ม ใช้จิบอย่างน้อยวันละครั้ง มีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นปกติขึ้น ปรับสมดุลจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ หัวใจจึงแข็งแรงขึ้น 
สะเดา ประโยชน์ต่อสุขภาพอันหลากหลาย 

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


          สะเดานอกจากจะมีสรรพคุณทางยาช่วยป้องกันและรักษาโรคแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ดังนี้ 
          1. ลดสิว น้ำมันสะเดาสกัดเย็นบริสุทธิ์ สามารถนำมาบำรุงผิวพรรณได้ เช่น รอยแดง ผื่นคัน สิว รอยสิว และรอยแผลเป็นจากสิว 
          2. รักษารังแคและอาการคันหนังศีรษะ ใช้น้ำต้มใบสะเดาล้างหลังสระผมแล้ว จะช่วยรักษารังแค กำจัดแบคทีเรียบนหนังศีรษะ แก้อาการคัน หนังศีรษะแห้งเป็นขุยได้ 
          3. ยับยั้งเชื้อปรสิตเชื้อรา และไล่แมลงตัวเล็ก สะเดามีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อรา และยังเป็นสารฆ่าแมลงธรรมดาอีกด้วย จึงสามารถลดโรคเรื้อน และเห็บหมัด ในสัตว์เลี้ยง รวมถึงกำจัดเห็บ หมัด เหา โลน มด ไร และยุงได้ 
          4. ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย สะเดามีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนท์ ที่จะช่วยฟื้นฟู และชะลอความเสื่อมต่าง ๆ ของเซลล์จากการถูกทำร้ายของสารอนุมูลอิสระ 
          5. ลดการอักเสบของแผล ใบสะเดามีฤทธิ์เย็น ช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ด้วยคุณสมบัติต้านเลือดแข็งตัว ต่อต้านการอักเสบ จึงช่วยลดการติดเชื้อในบาดแผล แผลอักเสบแผลพุพอง แผลสด และแผลเปื่อย 

 สะเดาเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านของเรา ที่ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย แต่ก็ยังมี


******ข้อยกเว้นสำหรับคนบางกลุ่ม******* ดังนี้ 
          1. เด็กแรกเกิด ไม่ควรใช้น้ำมันสะเดาทาเพื่อลดผื่นผ้าอ้อมในเด็ก เพราะอาจเกิดการระคายเคืองได้ 
          2. ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร และผู้หญิงที่กำลังตั้งท้อง เพราะจะทำให้ไม่มีน้ำนม 
          3. คนเป็นโรคความดันโลหิตต่ำไม่ควรทาน เพราะสะเดามีคุณสมบัติลดน้ำตาลในเลือด อาจยิ่งทำให้เลือดไหลเวียนน้อยลง เป็นลม หมดสติ หรือวูบได้ง่าย 
          4. สะเดามีรสขม จึงเป็นยาเย็น จึงไม่เหมาะกับคนธาตุเย็น เพราะจะยิ่งทำให้ท้องอืด เกิดลมในกระเพาะ 

 

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


          5. คนเป็นโรคไตไม่ควรทาน เพราะสะเดาเป็นอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง 
          6. คนที่เป็นโรคกระเพาะหรือโรคที่เกี่ยวกับช่องท้อง เช่น โรคกรดไหลย้อน ภาวะเรอเปรี้ยว แสบร้อนกลางอก เพราะรสขมเป็นรสที่ช่วยกระตุ้นสร้างน้ำย่อยให้ออกมาขึ้น 

 

4.ขี้เหล็ก

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


    ขี้เหล็ก เป็นพืชผักสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามตลาด นอกจากจะนำมาใช้ทำเป็นอาหารไว้รับประทานแล้ว ในตำราการแพทย์แผนไทยยังได้มีการใช้ประโยชน์ของต้นขี้เหล็ก โดยส่วนที่นำมาใช้และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ดอก ใบ ใบแก่ ฝัก เปลือกฝัก เปลือกต้น ลำต้น กิ่ง แก่น ทั้งต้น และราก ดอกขี้เหล็ก มีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยกำจัดรังแค ทำความสะอาดผมทำให้ผมชุ่มชื่นเงางาม เป็นต้น นอกจากอร่อยแล้วยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วยนะคะ

ข้อควรระวัง เรื่องการรับประทานดอกขี้เหล็ก

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


โทษของขี้เหล็ก การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือด เทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงได้อีกด้วย

 

5.ผักแขยง

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย


    ผักแขยง หรือ ผักกะแยง เป็นอีกหนึ่งผักพื้นบ้านมีมากในภาคอีสาน ในผักติ้วนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีฤทธิ์ช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน คนอีสานมักนำมาประกอบอาหารประเภทลาบ แกง หรือจิ้มน้ำพริก ผักพื้นบ้านเหล่านี้ได้ไม่ยาก  สามารถทานผักต่างๆ เช่น กระเทียม ขิง กะหล่ำ เห็ด ขมิ้น พริก มะละกอ เห็ด และผักอื่นๆ ได้  ประโยชน์และสรรพคุณผักแขยงมีโปรตีน มีคาร์โบไฮเดรต มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีวิตามินบี1 มีวิตามินบี2 มีวิตามินบี3 มีแคลเซียม มีฟอสฟอรัส มีเหล็ก มีไขมัน มีพลังงาน มีเส้นใย มีเบต้าแคโรทีน มีแคลเซียม มีโพแทสเซียม ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้คัน ช่วยรักษากลากเกลื้อน ช่วยรักษาฝีหนอง แก้ไข้ ช่วยลดไข้ แก้บวม เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับพิษ ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำนมในสตรีคลอดลูก แก้พิษเบื่อเมา ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ช่วยป้องกันเส้นเลือดตีบตัน ได้อีกด้วย

 

ยิ่งกินมะเร็งยิ่งกลัว “5 ผักพื้นบ้าน” สมุนไพรไทย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก
1.ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “ติ้วขาว“.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phargarden.com.  
2.ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร  “ติ้วขน“.  อ้างอิงใน : หนังสือไม้อเนกประสงค์กินได้ (คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์), หนังสือผักพื้นบ้านภาคอีสาน (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข), หนังสือผักพื้นบ้านภาคเหนือ (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable. 
3.medthai.com
4.คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5.Livestrong.com
6.herbal-supplement-resource.com
7.คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  
8.กรมส่งเสริมการเกษตร  
9.สำนักงานข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล 
10.ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว  
11. http://bit.ly/2n5uIZd
12. สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), www.pharmacy.mahidol.ac.th
13.ความจริงของมะเร็ง สาเหตุ ทางป้องกัน และการรักษา โดยยุพาพิน ประเสริฐกุล
14.กินอยู่อย่างไรให้ห่างไกลจากโรคไต เบาหวาน มะเร็ง โดยตรีชฎา จงจิตมั่น
15.ผัก ผลไม้ 80 ชนิด ต้านมะเร็ง โดยนารี ยิ่งเจริญ