- 13 มิ.ย. 2562
เจ้าจอมสดับ ลดาวัลย์ เป็นกุลสตรีหัวสมัยใหม่ ได้รับการศึกษาทั้งการเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความคิดวิเคราะห์และความกล้าในการแสดงความคิดเห็นที่ต่างจากบุคลิกของหญิงไทยสมัยก่อนเป็นอันมาก ทำให้พระนางนั้นโดดเด่นและเป็นที่สนพระทัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕
เจ้าจอมสดับ ลดาวัลย์ เป็นกุลสตรีหัวสมัยใหม่ ได้รับการศึกษาทั้งการเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความคิดวิเคราะห์และความกล้าในการแสดงความคิดเห็นที่ต่างจากบุคลิกของหญิงไทยสมัยก่อนเป็นอันมาก ทำให้พระนางนั้นโดดเด่นและเป็นที่สนพระทัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ ทั้งนี้นอกจากความโดดเด่นทางด้านนี้แล้วนั้น เจ้าจอมสดับ ยังเป็น แม่หญิงที่เพรียบพร้อมไปทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านการทำอาหาร งานฝีมือ และทางด้านการร้องเพลง
ความรู้ ความสามารถในเรื่องงานบ้านงานเรือนของ เจ้าจอมนั้น ได้รับการยอมรับและกล่าวขานว่าหามีผู้ใดเทียมได้ ซึ่งท่านก็มิได้หวงแหนในความรู้ที่ท่านมีแต่อย่างไร ซ้ำ ยังถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับลูกหลาน เพื่อสืบทอดความรู้นั้นๆให้สืบไป โดยสิ่งที่ลูกหลานของท่านได้สืบทอดต่อมาและเป็นที่ยอมรับโดยทั่ว นั่นคือ ยาดมส้มโอมือ และ น้ำอบน้ำปรุง
ยาดมส้มโอมือ และ น้ำปรุง สูตรของเจ้าจอม ม.ร.ว. สดับ (ในรัชกาลที่ ๕) นั้น จะต้องมีตราประทับ เป็นรูป ตัว S โดยย่อมาจาก S.B.C. ซึ่งเป็นอักษรย่อที่ รัชกาลที่ ๕ ทรงประทานไว้ให้ มาจากคำว่า
S คือ สดับ
B คือ ภูมินทรภัคดี
C คือ จุฬาลงกรณ์
และ/หรือ ตราสัญลักษณ์ พิณภายใต้พระจุลมงกุฎ กำกับ
เครื่องหอมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ยาดมส้มโอมือ คือการนำเปลือกส้มโอมือหรือเปลือกส้มโอ มาผสมกับเครื่องเคราใช้ดมแก้หวัด วิงเวียน เป็นลม สำหรับยาดมสูตรเจ้าจอมสดับนั้น จะใช้สัญลักษณ์เป็นรูปซอสามสายและชฎาอยู่คู่กันเป็นเครื่องหมายการค้าของยาดมส้มโอมือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ วรรณดี รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เล่าความเป็นมาของตำรับยาดมส้มโอมือตำรับของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ให้ผู้เขียนฟังว่า
ตำรับของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากคุณครูเลื่อน สุนทรวาทิน ว่าเป็นตำรับของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) บิดาของคุณครูเลื่อน ในนามยาดมท่านเจ้าคุณ ยาดมส้มโอมือตำรับนี้ ได้เคยนำมาถวายพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ณ พระตำหนักสายสุทธานภดล เมื่อครั้งที่พระยาเสนาะดุริยางค์ได้มาคุมซ้อมบรรเลงดนตรี เรื่องพระราชนิพนธ์เงาะป่าในรัชกาลที่ ๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๗
ในหนังสืออนุสรณ์งานศพเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับในรัชกาลที่ ๕ (๒๕๒๖) ได้อธิบายถึงวิธีการทำยาดมส้มโอมือไว้ว่า
หากไม่มีส้มโอมือก็ใช้เปลือกส้มโอแทน ใช้แต่เปลือกส้มโอเอามานึ่งเหมือนการดองมะนาวมะกรูด เสร็จแล้วเอามาผึ่งพอหมาดๆ คนโบราณเขาจะต้องกำส้มโอจนเล็กๆ บรรจุลงในถ้ำยาดม แต่ก่อนจะบรรจุจะต้องผสมพิมเสน การพลูและน้ำมันหอมเข้าด้วยกันเสียก่อน แล้วบรรจุลงในถ้ำยาดม
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ รับสนองพระมหากรุณาธิคุณในกิจการห้องพระเครื่องต้นแห่งราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทำให้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีความชำนาญในการปรุงอาหารคาวหวาน และยังเป็นผู้ที่มีรสนิยมในการรับประทานอาหารเป็นอย่างยิ่ง มีความสุขที่จะเป็นผู้ทำอาหารให้ผู้อื่นรับประทานมาตั้งแต่ยังสาว จนกระทั่งแม้อายุ ๙๒ ปี ก็ยังไม่งดที่จะลงมือตำน้ำพริกเองยามมีหลานหรือแขกไปรับประทานอาหารด้วย
วันหนึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกรุณาเสด็จเยี่ยมที่ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน ประจวบเป็นเวลาที่เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับกำลังจะรับประทานอาหารกลางวันจึง กราบเรียนเชิญเสด็จ พร้อมทั้งกราบทูลว่า แหม นี่ถ้าประทานรับสั่งมาก่อนล่วงหน้าสัก ๑๐ นาทีว่าจะเสด็จมา จะตำน้ำพริกตั้งเครื่องทันที เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับนอกจากจะเป็นผู้ที่มีรสมือหาตัวจับยากแล้ว ยังเป็นผู้ไม่ปิดบังตำรา ตรงกันข้ามกลับมีความยินดีที่จะถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้น และทุกครั้งที่ได้ถ่ายทอดแก่ผู้ใดแล้วก็ตามก็จะต้องพูดติดปากเสมอว่าเป็นตำราพระวิมาดา แสดงถึงความยกย่องในพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ในฐานะที่ทรงเป็นต้นตำรับ และแสดงถึงความเป็นผู้ไม่แอบอ้างว่าอาหารอร่อยเพราะเพียงฝีมือผู้ปรุงเท่า นั้น ตำรับเป็นส่วนสำคัญด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.ของชําร่วยงานศพไทย.com
https://goodlifeupdate.com