9 ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย

จากเหตุการณ์ความไม่สงบทั่วกรุงเช้านี้ได้เกิดเหตระเบิด เวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด ได้แก่ 1. 08.50 น. เกิดเหตุระเบิดภายในซอยพระราม 9 57/1 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน เป็นเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร เขตสวนหลวง ขณะกำลังทำความสะอาดกวาดเศษใบไม้ภายในซอย เบื้องต้นระเบิดมีลักษณะคล้ายระเบิดปิงปอง

จากเหตุการณ์ความไม่สงบทั่วกรุงเช้านี้ได้เกิดเหตระเบิด เวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด ได้แก่ 
1. 08.50 น. เกิดเหตุระเบิดภายในซอยพระราม 9 57/1 มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 คน เป็นเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร เขตสวนหลวง ขณะกำลังทำความสะอาดกวาดเศษใบไม้ภายในซอย เบื้องต้นระเบิดมีลักษณะคล้ายระเบิดปิงปอง

 

9 ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย

 

2. 08.36 น. เกิดเหตุระเบิดใต้บีทีเอส ช่องนนทรีย์ 2 ครั้ง ไม่ชัดเจนว่ามีคนบาดเจ็บหรือไม่ แต่มีรถยนต์เสียหาย ผู้อยู่ในเหตุการณ์ บอกว่า จุดระเบิดอยู่ในพุ่มไม้ใต้สถานีรถไฟฟ้า มีเศษดินกระจัดกระจาย เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สั่งปิดพื้นที่ระหว่างรอเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ คนสัญจรไม่ได้ แต่รถยนต์ยังสัญจรได้ตามปกติและทางสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีช่องนนทรี สามารถออกได้บริเวณทางออก 1 และ 2 เท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่ปิดทางออก 3 และ 4 ชั่วคราว

 

9 ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย


3. 09.00 น. หน้าคิงส์พาวเวอร์ ตึกมหานคร เป็นจุดเดียวกับช่องนนทรีย์


4. 09.00 น. มีเสียงดังคล้ายระเบิดเกิดขึ้น 3 ครั้ง บริเวณพุ่มไม้ด้านหน้าอาคารศูนย์ราชการ โดยครั้งแรกได้ยินเสียงเกิดขึ้น 2 ครั้ง และตามมาอีก 1 ครั้ง ล่าสุดมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดูแลแล้ว พบลักษณะคล้ายเป็นระเบิดแสวงเครื่อง

 

9 ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย

 

5. บริเวณป้ายสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถ.ศรีสมาน เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร สำหรับจุดดังกล่าวนี้คาดว่าเป็นอีก 1 จุด ที่มีการใช้ระเบิดแบบแสวงเครื่อง
อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่ทหารรักษาการณ์ได้แจ้งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบและเก็บวัตถุพยานหลักฐานพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องทั้งนี้ยังพบเศษระเบิดกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องตรวจสอบหาข้อมูลตัวผู้ก่อเหตุต่อไป

 

9 ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย


ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย
1.สิ่งของวางอยู่ในที่ที่ไม่ควรอยู่ เช่น เป้ กระเป๋า ถุง กล่อง ฯลฯ หากสอบถามหาเจ้าของแล้ว ไม่มีผู้แสดงตน ให้สงสัยว่าเป็นวัตถุอันตราย
2.เป็นวัตถุที่มีลักษณะภายนอกผิดปกติจากรูปเดิม เช่น สีที่แตกต่างจากความเป็นจริง กล่องปิดผนึกไม่เรียบร้อย หรือมีรอยยับบริเวณที่ปิดผนึก
3.เป็นวัตถุที่ไม่เคยพบเห็น ณ ที่นั้นมาก่อน มีส่วนประกอบของสายไฟ แบตเตอรี่ นาฬิกา หรือ โทรศัพท์
4.เมื่อพบเห็น ห้ามจับต้อง หยิบยก เคลื่อนย้าย หรือทำให้เคลื่อนไหวโดยเด็ดขาด
5. ตั้งสติ ควบคุมอารมณ์ แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบทันที เพื่อดำเนินการตรวจพิสูจน์ และเก็บกู้ โดยสามารถติดต่อ สายด่วนเพื่อขอความช่วยเหลือได้ที่ 
- โทร.๑๙๑ ศูนย์วิทยุตำรวจนครบาล
- โทร.๑๓๗๔ สายด่วน กอ.รมน.
- โทร.๑๕๕๕ กรุงเทพมหานคร 
- โทร.๑๑๑๑ สายด่วนภาครัฐ

 

9 ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย


6.จดจำลักษณะทั่วไปของวัตถุต้องสงสัย เพื่อเป็นข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ เช่น ขนาด รูปร่าง ลักษณะบ่งบอกอื่น ๆ เช่น มีเสียงการทำงาน มีสายไฟฟ้า
7. หากสามารถกระทำได้ ควรบันทึกภาพเมื่อพบเห็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้กระทำ หรือจงใจวางสิ่งของต้องสงสัยนั้นส่งเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการต่อไป
8.หลังจากแจ้งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับวัตถุต้องสงสัยแล้ว ให้รีบออกจากพื้นที่ที่พบวัตถุต้องสงสัยไม่น้อยกว่า ๑๐๐ – ๔๐๐ เมตร และขอให้รอเพื่อให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิด
9.กรณีเจ้าของกิจการ ร้านค้า ถูกข่มขู่วางระเบิดทางโทรศัพท์ ให้โทรแจ้ง ๑๑๐๐

 

9 ข้อสังเกตและแนวทางปฏิบัติเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย