- 28 พ.ค. 2563
ถือเป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายเฝ้าจับตาบทสรุป สำหรับคดีความของนายพานทองแท้ ชินวัตร หรือ โอ๊ค ลูกชายนายทักษิณ ชินวัตร ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 , 9 , 60 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , จากกรณีตรวจพบหลักฐานว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ทุจริตการปล่อยสินเชื่อธ.กรุงไทยฯ ให้ธุรกิจเครือกฤดามหานคร หลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษายกฟ้อง และคณะทำงานอัยการคดีศาลสูง มีความเห็นไม่อุทธรณ์ จนทำให้ น.พ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะรักษาราชการแทนอธิบดีดีเอสไอ ต้องทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่อุทธรณ์คดี นายพานทองแท้ ชินวัตร จำเลยคดีร่วมกันฟอกเงิน 10 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทยฯ ที่ปล่อยกู้ให้เครือกฤษดามหานคร เสนอให้ นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด วินิจฉัยชี้ขาด ตามรายละเอียดที่สนข.ทีนิวส์ นำเสนอมาเป็นลำดับ
ถือเป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายเฝ้าจับตาบทสรุป สำหรับคดีความของนายพานทองแท้ ชินวัตร หรือ โอ๊ค ลูกชายนายทักษิณ ชินวัตร ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5 , 9 , 60 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 , จากกรณีตรวจพบหลักฐานว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ทุจริตการปล่อยสินเชื่อธ.กรุงไทยฯ ให้ธุรกิจเครือกฤดามหานคร หลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษายกฟ้อง และคณะทำงานอัยการคดีศาลสูง มีความเห็นไม่อุทธรณ์ จนทำให้ น.พ.ไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะรักษาราชการแทนอธิบดีดีเอสไอ ต้องทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่อุทธรณ์คดี นายพานทองแท้ ชินวัตร จำเลยคดีร่วมกันฟอกเงิน 10 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทยฯ ที่ปล่อยกู้ให้เครือกฤษดามหานคร เสนอให้ นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด วินิจฉัยชี้ขาด ตามรายละเอียดที่สนข.ทีนิวส์ นำเสนอมาเป็นลำดับ
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ศาลอาญาคดีทุจริตฯ อนุญาตขยายเวลาอุทธรณ์คดีโอ๊ค รออสส.วินิจฉัยคำโต้แย้งดีเอสไอ )
ล่าสุดมีรายงานข่าวผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ อ้างว่า สำนักงานอัยการสูงสุด โดย รองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทน อัยการสูงสุด ได้ลงนามคำสั่งชี้ขาดไม่ยื่นอุทธรณ์คดีดังกล่าวแล้ว และจะทำให้ผลแห่งคดีถือเป็นสิ้นสุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ขณะทื่สำนักข่าวอิศรา นำเสนอข้อมูลอีกด้านว่า "นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด (อสส.) ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวอิศรา ถึงกรณีนี้ว่า เบื้องต้นขอตรวจสอบข้อมูลก่อน เพราะเรื่องความเห็นชี้ขาดว่าจะอุทธรณ์ หรือไม่อุทธรณ์นั้น ต้องเป็นไปตามพยานหลักฐาน"
พร้อมเน้นย้ำข้อมูลว่า คดีของนายพานทองแท้ มีประเด็นให้สมควรต้องดำเนินการอุทธรณ์ เพื่อให้เกิดการพิจารณาข้อเท็จจริงแห่งคดีจนถึงที่สุด เนื่องจากในชั้นการพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ปรากฎว่าความเห็นของ 2 ผู้พิพากษาในองค์คณะ มีความแตกต่างเป็น 2 ส่วน โดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่า นายพานทองแท้ มีความผิด สมควรลงโทษจำคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา ส่วนผู้พิพากษาอีกรายหนึ่งในองค์คณะเห็นว่า นายพานทองแท้ไม่มีความผิด เห็นควรรยกฟ้อง ส่งผลให้ต้องยกประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184 ที่บัญญัติว่า ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้อธิบดีผู้พิพากษาข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้นหรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็นสุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไป จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : เปิด 4 เหตุผลร้อน ทำไมอสส.ต้องอุทธรณ์คดี โอ๊ค ฟอกเงินกรุงไทย )