- 26 มิ.ย. 2563
ถือเป็นอีกหนึ่งคดีประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย กับกรณีพนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายนพรุจ หรือ นพรุฒ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 , นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน , นายวันชัย นาพุทธา , นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. เป็นจำเลยที่ 1-7 ในคดีหมายเลขดำ อ.3531/2552 ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯ ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ , โดยเป็นหัวหน้า หรือผู้มีหน้าที่สั่งการ , ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกไปแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง , 215 , 216 , 297 , 298 ประกอบมาตรา 33 , 83 , 91 อันเป็นความผิดสืบเนื่องจากการบุกรุกบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ (ในขณะนั้น) เมื่อช่วงปี 2550
ถือเป็นอีกหนึ่งคดีประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย กับกรณีพนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายนพรุจ หรือ นพรุฒ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 , นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน , นายวันชัย นาพุทธา , นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) , นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช. , นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำ นปช. เป็นจำเลยที่ 1-7 ในคดีหมายเลขดำ อ.3531/2552 ความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯ ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีอาวุธ , โดยเป็นหัวหน้า หรือผู้มีหน้าที่สั่งการ , ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกไปแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง , 215 , 216 , 297 , 298 ประกอบมาตรา 33 , 83 , 91 อันเป็นความผิดสืบเนื่องจากการบุกรุกบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ ของพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ (ในขณะนั้น) เมื่อช่วงปี 2550
กระทั่ง ศาลอาญา รัชดาภิเษก ได้นัดอ่านคำพิพากษาชั้นฎีกา คดีดำเลขที่ 3531/2552 เป็นครั้งที่ 4 หลังจากมีการเลื่อนมาแล้วด้วยเหตุผลต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงประกาศการควบคุมแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ได้มีประกาศเรื่องการบริหารจัดการคดีภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 และยังอีกด้วยประกาศคำแนะนำของประธานศาลฎีกาเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ด้วย ที่ให้ผู้รับผิดชอบราชการศาล ใช้ดุลพินิจพิจารณาเลื่อนคดีจัดการพิเศษ , คดีสามัญ , คดีสามัญพิเศษทุกคดี
โดยคำพิพากษาศาลฎีกาสั่งจำคุกอดีตแกนนำนปช. 2 ปี 8 เดือน ซึ่ง ศาลฎีกาตรวจสำนวนปรึกษาหารือกันเเล้วว่าการกระทำของจำเลยที่ 1,4-7 มีพฤติการณ์ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองเป็นเรื่องร้ายเเรงที่จำเลยทั้งหมดขอให้ลงโทษสถานเบาเเละรอการลงโทษนั้น ศาลฎีกาเห็นว่าฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้นศาลเห็นพ้องกับที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษพิพากษายืนจำคุกจำเลยทั้งหมดคนละ 2 ปี 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา
ต่อมามีการเผยแพร่คลิปภาพ ระหว่างที่แกนนำนปช.ทั้ง 5 ในฐานะจำเลยคดีดังกล่าว ถูกควบคุมตัวไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ โดยนายวีระกานต์อยู่ในสภาพอิดโรย มีนายณัฐวุฒิคอยประคองเคียงข้าง ส่วนนักโทษรายอื่น ๆ ยังสามารถเดินไปขึ้ันรถได้ตามปกติ พร้อมมีมวลชนคนเสื้อแดงไปยืนส่งเสียงให้กำลังใจ
ทั้งนี้ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานนปช. กล่าวภายหลังฟังคำตัดสินว่า ตนเองและคณะได้พูดมาตลอดว่า การต่อสู้ไม่ตายก็ติดคุก และวันนี้หลังศาลมีคำพิพากษาจำคุก ทุกคนก็น้อมรับคำตัดสิน ส่วนตนเองและคนที่เหลืออยู่ในสำนวนที่ 2 แตกต่างกันในเรื่องวันเวลาเท่านั้น และตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี เข้าออกคุกสลับกันเสมอ วันนี้ตนเองยังมีเวลาเหลืออยู่ ที่จะต้องกลับไปจัดการกับชีวิตทั้งเรื่องส่วนตัว ส่วนรวม และสุขภาพ เพราะยังไงก็หนีไม่พ้น และไม่มีทิศทางเป็นอย่างอื่น ซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง และน้อมรับคำตัดของศาลโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ
ทางด้าน นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธาน นปช .กล่าวว่า ขณะนี้ทางคดีสิ้นสุดลงแล้ว ต่อไปคงหาแนวทางการเข้าเยี่ยมแกนนำกลุ่ม นปช. และหวังว่าบุคคลทั้ง 4 คน จะได้มีโอกาสทำงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมในเรือนจำ รวมถึงหวังว่าจะได้รับการฏิบัติที่เหมาะสม แม้จะมีความคิดที่แตกต่างกัน เพราะพวกเขาไม่ใช่อาชญากร