- 22 ก.ย. 2563
ถือเป็นประเด็นร้อนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง กับการลุกขึ้นทำหน้าที่คนไทย ในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จากการถูกแกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ปราศรัย บิดเบือน โจมตี เพื่อใส่ร้ายให้เกิดความเข้าใจผิด ในข้อเท็จจริง และนำไปสู่การเรียกร้อง กดดัน ให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ซึ่งล้วนมีหลักคิดในเรื่องการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันฯ ตามทิศทางเดียวกับที่แกนนำคณะก้าวหน้า เปิดประเด็นว่าด้วยการปฏิวัติอำนาจประขาชน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศฝั่งยุโรป
ถือเป็นประเด็นร้อนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง กับการลุกขึ้นทำหน้าที่คนไทย ในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จากการถูกแกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ปราศรัย บิดเบือน โจมตี เพื่อใส่ร้ายให้เกิดความเข้าใจผิด ในข้อเท็จจริง และนำไปสู่การเรียกร้อง กดดัน ให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ซึ่งล้วนมีหลักคิดในเรื่องการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสถาบันฯ ตามทิศทางเดียวกับที่แกนนำคณะก้าวหน้า เปิดประเด็นว่าด้วยการปฏิวัติอำนาจประขาชน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศฝั่งยุโรป
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : ปลาวาฬ อิสสระ รู้ที่มาศรีพันวาโดนถล่ม ลั่นผมเป็นคนไทย รับไม้ได้ รุ้ง พาดพิงกษัตริย์ )
ทั้งนี้องค์ประกอบหนึ่งที่นำมาใข้โจมตี นายวรสิทธิ์ อิสสระ หรือ ปลาวาฬ ผู้บริหารศรีพันวา คือ พุ่งไปที่การหาข้อมูล วิพากษ์วิจารณ์เชิงลบ พร้อมการปั่นกระแสแฮชแทค "แบนศรีพันวา" จนนักธุรกิจเจ้าของโรงแรมหรู อย่าง ศรีพันวา ต้องอธิบายว่า “ตั้งแต่ผมทำธุรกิจมาที่ศรีพันวา ผมทำทุกอย่างถูกต้องหมด ไปขอเรื่องที่ดินก็ถูกต้อง ตอนที่เขามาตรวจเรื่องที่ดินที่ภูเก็ต เราก็โดนตรวจด้วย ซึ่งตอนนั้นมีเรื่องที่วังน้ำเขียวก่อ น ว่ารุกที่ รุกป่าหรือเปล่า
เราเป็นบริษัทอยู่ในตลาดหุ้น เราต้องทำทุกอย่างถูกต้อง เราก็โดนตรวจเหมือนกัน เราโดนตรวจสาม-สี่รอบภายใน 10 ปี เพราะมันก็มีคนหวังร้าย ก็ตรวจได้เลยอีกทีหนึ่ง แต่เขามาดึงเข้ารูปนี้ ซึ่งก็เขาคงไม่มีอะไรเถียง แต่เรื่องที่ผมรับไม่ได้ก็คือ ที่พูดเรื่องสถาบัน เพราะมันยาวมาก และมันไม่เกี่ยวที่เด็กไม่แฮปปี้กับรัฐบาล เพราะม็อบครั้งก่อนก็แทบจะไม่มีเรื่องนี้ขึ้นมาเลย แต่นี่มันเป็นซับเจค (วัตถุประสงค์) อันเดียวเลย ของการชุมนุมอันนี้ ซึ่งผมว่ามันไม่ถูก ที่สำคัญจากเรื่องที่มีการโจมตีทางโซเชียล โดยความจริงมีข้อความส่วนตัว สนับสนุนประมาณ 70% และด่าตนอีก 30% แต่คนที่ด่าก็เป็นพวกใช้บัญชีปลอม"
นอกจากนี้ยังมีการนำข้อมูลของ "ศรีพันวา" ไปแชร์ในโชเชียล ตั้งข้อสังเกตุเพื่อโจมตีว่า ทำไม "ศรีพันวา" เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่สำนักงานประกันสังคม เลือกเป็นผู้ถือหุ้น รวมถึงยังกล่าวหาว่าผลประกอบประสบการขาดทุน เพื่อสร้างปมขัดแย้งให้มีการขยายประเด็นไปคอมเม้นต์เชิงลบ
ขณะที่การลงทุนทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ "ศรีพันวา" เป็นอย่างที่มีการนำไปวิพากษ์วิจารณ์จริงหรือไม่ ? เริ่มจาก
1.ปัจจุบัน "ศรีพันวา" เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้ชื่อ "SRIPANWA : ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โรงแรมศรีพันวา" มียอดทุนจดทะเบียน 3,097,722,025.60 บาท ด้วยยอดจำนวนหุ้น 279,064,000 หุ้น
2.สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ไม่ใช่มีเฉพาะสำนักงานประกันสังคม อย่างที่มีการนำมาโฟกัส ด้วยเจตนาเป็นเป้าล่อให้เกิดการโจมตี เพราะเหตุกรณี นายวรสิทธิ์ อิสสระ หรือ ปลาวาฬ รับไม่ได้กับข้อความปราศรัยของ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือ รุ้ง ที่มีเนื้อหาบิดเบือน จาบจ้วง สถาบันเบื้องสูง จึงออกมาเรียกร้องให้มีการดำเนินการทางกฎหมาย แต่ประกอบด้วยบริษัทธุรกิจชั้นนำ ระดับประเทศ รวมอยู่ด้วย อาทิ
ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น
1. สำนักงานประกันสังคม จำนวน 63,072,615 หุ้น คิดเป็น 22.60 %
2. บริษัท ชาญอิสสระ เรสซิเดนซ์ จำกัด 54,390,157 หุ้น 19.49 %
3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 16,715,000 หุ้น 5.99 %
4. บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) 14,000,000 หุ้น 5.02 %
5. บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) 12,400,000 หุ้น 4.44 %
6. น.ส. กมลทิพย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 3,485,105 หุ้น 1.25 %
7. บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) 3,410,290 หุ้น 1.22 %
8. บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) 3,401,315 หุ้น 1.22 %
9. บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน) 2,809,269 หุ้น คิดเป็น 1.01 %
3.อีกหนึ่งประเด็นสำคัญ คือ มีการโจมตีว่า "ศรีพันวา" มีผลประกอบการขาดทุน เพื่อย้ำความไม่ปกติของการพิจารณาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของ สนง.ประกันสังคม จากการตรวจสอบพบว่า ในปี 2560 "ศรีพันวา" มีมูลค่าสินทรัพย์รวม 3,671.12 ล้านบาท ก่อนขยับเพิ่มเป็น 4,324.30 ล้านบาท ในปี 2561 และ 4,237.91 ในปี 2562 ขณะที่ครึ่งปีแรก 2563 มียอดสินทรัพยฺ์รวม 4,324.94 ล้านบาท
และที่เป็นไฮไลต์ของการบิดเบือนข้อมูล โจมตี "ศรีพันวา" ก็คือ การกล่าวหาว่ามีผลประกบอารขาดทุน แต่เมื่อพิจารณาข้อมูลที่แสดงชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์ กลับพบว่า "ศรีพันวา" มัผลประกอบการกำไรสะสม มาตลอดต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2560 ด้วยตัวเลข 128.04 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 246.66 ล้านบาท , 162.42 ล้านบาท และ 254.59 ล้านบาท ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2563
สัมพันธ์กับตัวเลขรายได้จากการลงทุนสุทธิ เป็นบวกตลอดทุกปี เริ่มจากปี 2560 มีรายได้สุทธิ 235.76 ล้านบาท ถัดมาในแต่ละปี 2561 จนถึง 6 เดือนแรกปี 2563 ยังพบว่ามียอดรายได้ โดยในปี 2561 มีรายได้จากการลงทุนสุทธิ 234.80 ล้านบาท , ปี 2562 จำนวน 243.46 ล้านบาท และ 6 เดือนแรกของปี 2563 มีจำนวน 123.74 ล้านบาท
จากข้อมูลพิจารณา เมื่อย้อนกลับไล่เรียงที่มาของข่าวปล่อยชิ้นดังกล่าว พบว่ามาจากเพจเฟซบุ๊กที่ชื่อ "มิตรสหายท่านหนึ่ง" ซึ่งมีแต่การนำเสนอข้อความโจมตีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรัฐบาล ในทุกรูปแบบ และข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจของ "ศรีพันวา" ที่นำมาโพสต์ และสื่อออนไลน์บางแห่ง นำไปขยายความในช่องทางโซเชียล ก็ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในเว็บไซด์ตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย
ส่วนกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาขาดทุน พบว่า เป็นการแยกคิดเฉพาะธุรกิจ "ศรีพันวา” หรือ "พูลวิลล่าศรีพันวา" โครงการบ้านพักตากอากาศ และโรงแรมสุดหรู แบบพูลวิลล่า ตั้งอยู่บนหาดส่วนตัว ปลายสุดของแหลมพันวา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต ซึ่งจดทะเบียนบริษัทภายใต้ชื่อ บริษัทศรีพันวาแมเนจเมนท์จำกัด เมื่อวันที่ 18 ก.ค 2556 ด้วยทุนจดทะเบียน 100,000,000 บาท โดยมีการแจ้งผลประกอบการงบกำไรขาดทุน 3 ปี ย้อนหลังพบว่า ปี 2560 ขาดทุน 41,117,116 บาท , ปี2561 ขาดทุน 75,921,731 บาท และ ปี 2562 ขาดทุน 157,541,048 บาท
ขณะที่ทางด้าน นายสงกรานต์ อิสสระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัทชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (CI) ระบุว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้น เป็นเพราะภาพรวมมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และความเข้มงวดของสถาบันการเงินรวมถึงมาตรการ LTV ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทปรับลดลง รวมถึงผลกระทบของเงินบาทแข็งค่าและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางเอาไว้
"สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผลกระทบจากการขายและการโอนที่ชะลอตัว ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น จากการปรับปรุงโครงการโรงแรมศรีพันวา จ.ภูเก็ต ทั้งการปรับปรุงวิลล่า และห้องประชุมในโรงแรม แต่ในเชิงธุรกิจ ศรีพันวายังเป็นธุรกิจที่ยังได้มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต เมื่อสถานการณ์ทุกอย่างกลับมาสู่ภาวะปกติ "