- 02 ธ.ค. 2563
ถือเป็นอีกไฮไลต์ทางการเมือง สืบเนื่องจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดให้นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ และอ่านคำวินิจฉัย กรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) หรือไม่ ในวันนี้ ( 2 ธ.ค. 2563) เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
ถือเป็นอีกไฮไลต์ทางการเมือง สืบเนื่องจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดให้นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ และอ่านคำวินิจฉัย กรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) หรือไม่ ในวันนี้ ( 2 ธ.ค. 2563) เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป
กรณีดังกล่าว รศ. หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความเห็นประกอบการติดตามสถานการณ์การเมืองที่จะเกิดขึ้น ว่า "บ่ายนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยว่า การที่พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ยังคงพักอาศัยอยู่ในบ้านพักรับรองของทหาร จนถึงปัจจุบันเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 หรือไม่
หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การกระทำดังกล่าว ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 186 และมาตรา 170
รัฐธรรมนูญมาตรา 184 อยู่ในหมวด 9 เรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เป็นมาตราที่ใช้บังคับกับ ส.ส.และ ส.ว. ใน(3)เขียนไว้ว่า “ (3)ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติ”
มาตรา 186 ระบุว่า “ให้นำความในมาตรา 184 มาใช้บังคับต่อรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม....”
ส่วนมาตรา 170 ระบุว่า “ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก ... (5) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือ มาตรา 187” ดังนั้น หากการกระทำของพล.อ. ประยุทธ์ ขัดต่อมาตรา 184 ก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นการเฉพาะตัว
>> Shopee โค้ดช้อปสุดว้าว! เริ่มแล้ว 12.12 BIRTHDAY SAEL สนใจคลิก <<
คำถามจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า สิ่งที่พล.อ.ประยุทธ์กระทำ เป็นสิ่งผิดจริยธรรม ร้ายแรง ตามที่ส.ส.ฝ่ายค้านคนหนึ่งกล่าวหาหรือไม่ เพราะการพักอาศัยอยู่ในบ้านพักของทหารหลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว มีให้เห็นโดยทั่วไป และสำหรับพล.อ. ประยุทธ์ แม้จะเกษียณอายุราชการแล้ว แต่ยังคงทำงานให้ประเทศชาติ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุผลของ พล.อ.ประยุทธ์ที่ว่า ทำให้ง่ายต่อการรักษาความปลอดภัย จึงฟังดูสมเหตุสมผลอย่างยิ่ง
คำถามที่สำคัญจึงไม่ใช่เรื่องจริยธรรม และไม่ใช่คำถามว่า กองทัพบกอนุญาตตามระเบียบอย่างถูกต้องหรือไม่ แต่เป็นคำถามว่า การพักอาศัยในบ้านรับรองของทหาร ของพลเอกประยุทธ์ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นการรับประโยชน์ใดๆจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆในธุรกิจการงานปกติ ซึ่งเป็นการขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่
หากพล.อ. ประยุทธ์เป็นเพียงทหารเกษียณ ที่กองทัพบกอนุญาตให้พักอาศัยอยู่ในบ้านรับรองของทหาร โดยที่กองทัพบก จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟให้ โดยมีระเบียบรองรับ กรณีข้างต้น จะไม่เป็นปัญหาใดๆเลย แต่นี่พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเป็นเรื่องน่าคิดอย่างยิ่ง
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 184 น่าจะไม่ต้องการให้ ส.ส. ส.ว. และรัฐมนตรี ได้รับประโยชน์จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นพิเศษกว่าคนอื่น เพื่อรักษาความเป็นกลางไว้นั่นเอง
กรณีพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นกรณี “ปลาตายน้ำตื้น” เช่นเดียวกับคุณสมัคร สุนทรเวช หรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ??
ทั้งนี้ก่อนหน้า พล.อ.ประยุทธ์ ได้เคยชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ต่อข้อกล่าวหาของพรรคเพื่อไทย ในหลายประเด็นสำคัญ แต่สิ่งที่น่าจะเป็นสาระเกี่ยวเนื่องกับผลแห่งคดี คือ
1.เหตุผลและความจำเป็นตามข้อกล่าวอ้างว่า พล.อ.ประยุทธ์ มีหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยขณะนั้น จึงจำเป็นต้องเข้าใช้บ้านพักรับรองของกองทัพบกภายใน ร.1 รอ. เป็นที่พักและศูนย์กลางการปฏิบัติหน้าที่เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการสั่งการ
เมื่อเกษียณอายุราชการ และพ้นตำแหน่ง ผบ.ทบ. ในปี 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประเทศยังคงใช้กฎอัยการศึก ความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยขั้นสูงสุดยังมีอยู่ บ่อยครั้งที่ คสช. ไม่มีสถานที่ประชุมของตนเอง จึงเปลี่ยนมาใช้บ้านพักรับรองของ พล.อ.ประยุทธ์ หรืออาคารต่าง ๆ ในบริเวณ ร.1 รอ. เป็นที่หารือหรือประชุมในทางราชการเป็นครั้งคราว
2.ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้รับผิดชอบระเบียบการใช้บ้านพักรับรองกองทัพบกที่ผ่าน ๆ มา พิจารณาเห็นว่า พล.อ.ประยุทธ์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ และมีคุณสมบัติตามแบบธรรมเนียมที่กองทัพบกเคยปฏิบัติต่ออดีตผู้บังคับบัญชา และเป็นไปตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก พ.ศ. 2548 ข้อ 4, 5, 8, 11 โดยคำนึงถึงสถานการณ์ สถานะของความเป็นนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในสมัยรัฐบาลต่อมา และความจำเป็นอื่น ๆ ประกอบกัน จึงพิจารณาให้ พล.อ.ประยุทธ์ มีสิทธิเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองดังกล่าวต่อไปภายหลังเกษียณอายุราชการในปี 2557 เช่นเดียวกับกรณีของผู้เคยดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. คนอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นตามควรแก่สถานภาพและสถานการณ์โดยไม่เลือกปฏิบัติ เพียงแต่บุคคลอื่น ๆ เมื่อตำแหน่ง ผบ.ทบ. ไปแล้ว ไม่มีตำแหน่งอื่นเกี่ยวกับราชการทหาร และการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประเทศ
3.ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก พ.ศ. 2548 เปิดช่องให้เข้าพักอาศัยอยู่ได้ เช่น ข้อ 5 ผู้มีสิทธิเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองต้องมีคุณสมบัติตาม 5.2 เป็นอดีตผู้บังคับบัญชาชั้นสูงของกองทัพบกซึ่งทำคุณประโยชน์ให้กับกองทัพบกและประเทศชาติและเคยดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. มาแล้ว เป็นต้น
นอกจากนี้ยังอ้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 184 (3) โดยระบุถึงความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบมาตรา ที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้น และเผยแพร่เมื่อปี 2562 ที่อธิบายว่า บทบัญญัติใน (3) เพื่อเป็นข้อห้ามในการใช้อำนาจหน้าที่ของตนเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ เพื่อรับเงินหรือประโยชน์อื่นใดจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษ แต่กรณีการรับเงินหรือประโยชน์อื่นใด ๆ ในธุรกิจการงานปกติ สามารถรับได้ตามระเบียบที่ทางราชการกำหนด
ดังนี้ด้วยเงื่อนไขแห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย มาตรา 184 (3) การพักอาศัยในบ้านรับรองทหารของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นการรับประโยชน์ใดๆจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติ หรือไม่
และ ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก พ.ศ. 2548 ในการให้สิทธิ์ผู้บัญชาการทหารบก พิจารณาอนุญาต ให้พล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้บ้านพักรับรอง กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) เป็นเหตุเป็นผลอย่างไร จึงเป็นประเด็นต้องติดตามว่าศาลรัฐธรรมนูญ จะมีคำวินิจฉัยในสถานะของความเป็นนายกรัฐมนตรี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จากประเด็นคำร้องของพรรคเพื่อไทยอย่างไร ??