- 02 ธ.ค. 2563
สืบเนื่องจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดให้นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ และอ่านคำวินิจฉัย กรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) หรือไม่ นับแต่เมื่อใด
สืบเนื่องจากการที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดให้นัดแถลงด้วยวาจา ปรึกษาหารือ และลงมติ และอ่านคำวินิจฉัย กรณีประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) หรือไม่ นับแต่เมื่อใด
ทั้งนี้องค์คณะตุลาการศาลรัฐ่ธรรมนูญ ได้พิจารณาในแต่ละประเด็นคำร้อง ประกอบด้วย 1.กรณีข้อเท็จจริงปรากฏว่า พล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้บ้านพักในกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ถ.วิภาวดี-รังสิต กทม. ซึ่งเป็นบ้านพักของทางราชการ เป็นที่พักอาศัยของตนเองและครอบครัว ตั้งแต่เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2553-30 ก.ย. 2557 และเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก ตั้งแต่ 24 ส.ค. 2557-9 มิ.ย. 2562 จนถึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยสอง ตั้งแต่ 9 มิ.ย. 2562 และตำแหน่ง รมว.กลาโหม ตั้งแต่ 10 ก.ค. 2562 จนถึงปัจจุบัน พล.อ.ประยุทธ์ และครอบครัว ยังคงใช้บ้านหลังดังกล่าวเป็นที่พักอาศัยตลอดมา
เนื่องจากบ้านที่ พล.อ.ประยุทธ์ และครอบครัว ใช้พักอาศัย เป็นบ้านพักของทางราชการ จัดไว้ให้เฉพาะบุคคลที่เป็นข้าราชการ และลูกจ้างประจำในสังกัดของกองทัพบกอาศัยเท่านั้น เป็นไปตามระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในอาคาร บ้านพัก ของข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดกองทัพบก พ.ศ. 2553 ข้อ 11 เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ เกษียณอายุราชการ ในตำแหน่ง ผบ.ทบ. เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ ย่อมหมดสิทธิการเข้าพักอาศัยในบ้านหลังดังกล่าวทันที ตามข้อ 14.2 ของระเบียบกองทัพบกดังกล่าว
2.การที่ พล.อ.ประยุทธ์ และครอบครัว ใช้บ้านหลังดังกล่าวเป็นที่พักอาศัยอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน จึงเป็นการอยู่อาศัยโดยมิชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ระเบียบคณะกรรมการอำนวยการสวัสดิการ กองบัญชาการกองทัพไทย ว่าด้วยการพักอาศัยในอาคารสวัสดิการ กองบัญชาการกองทัพไทย พ.ศ. 2556 ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าและน้ำประปาที่เบิกจ่ายจากงบประมาณ งบงานบริหารหน่วย พ.ศ. 2546 และหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ. 2560 ของกระทรวงการคลังแล้ว เห็นได้ว่าบุคคลที่จะเข้าพักอาศัยและใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาของราชการได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่รับราชการอยู่เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ พ้นจากตำแหน่งหน้าที่ราชการในสังกัดกองทัพบกตั้งแต่ 30 ก.ย. 2557 จึงหมดสิทธิที่จะเข้าพักอาศัยในบ้านพักของทางราชการหลังดังกล่าวตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
3.การที่ พล.อ.ประยุทธ์ ยังคงใช้บ้านพักหลังดังกล่าวอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน โดยไม่ได้เสียค่าเช่าให้กับทางราชการทหารเป็นระยะเวลานับตั้งแต่ 1 ต.ค. 2557 เป็นต้นมา ระยะเวลากว่า 5 ปีเศษ และได้ใช้ไฟฟ้าและประปาโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง คิดเป็นมูลค่าเงินนับล้านบาท กรณีจึงถือเป็นการรับประโยชน์ใด ๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติต่อบุคคลอื่นในธุรกิจการงานปกติ อันเป็นการกระทำที่ถือเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 186 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 184 (3) ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (5) นอกจากนี้การกระทำดังกล่าวยังเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 27 ประกอบข้อ 7, 8, 9, 10, 11 อันเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 (4) ประกอบมาตรา 160 (5)
(คลิกอ่านข่าวประกอบ : จับตาคำวินิจฉัยศาลรธน. ต่อกรณีคำร้องเพื่อไทย ใช้โค่นเก้าอี้ นายกฯตู่ ผ่าน 2 ปมร้อน?? )
โดยล่าสุดคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่า (ข้อมูลเบื้องต้น) ผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) มีสิทธิ์พักอาศัยในบ้านพักรับรองของกองทัพบก ตามระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการเข้าพักอาศัยในบ้านพักรับรองกองทัพบก พ.ศ. 2548 ข้อ 4, 5, 8, 11
เนื่องด้วยถึงแม้จะเป็นบุคคลที่เกษียณอายุราชการ แต่ถือเป็นบุคลลที่ทำประโยชน์แก่กองทัพ ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ รวมถึงกองทัพบกได้กำหนดเงื่อนไขบุคคลผู้เข้าใช้สิทธิ์ในบ้านพักรับรอง และพิจารณาตามเหตุผลและสภาพการณ์ของบุคคลที่มีหน้าที่สำคัญของประเทศ ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังปรากฎในอดีตที่ผ่านมากับการให้สิทธิ์กับอดีตผู้บัญชาการทหารบกคนอื่น ๆ จึงไม่ถือว่าสถานะของผู้ถูกร้องไม่ได้กระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 หมวด 9 เรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เป็นมาตราที่ใช้บังคับกับ ส.ส.และ ส.ว. ใน(3) ซึ่งกำหนดว่า “(3)ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติ”
และไม่ถือว่าสถานะของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงตาม มาตรา 170 อันระบุว่า “ ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก ... (5) กระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 186 หรือ มาตรา 187” ตลอดจน มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3)