ซีพีโผล่อีก! ร่วมซื้อซองประมูลสนามบินอู่ตะเภา เนรมิต6,500ไร่เป็นอุตสาหกรรมการบิน-โลจิสติกส์รองรับEEC

กลุ่มซีพี เข้าร่วมประมูลสนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง พร้อมแผน กำหนดให้พื้นที่ กว่า 6,500 ไร่ เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ ตามแผนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

จากกรณีพล.ร.อ.โสภณ วัฒนมงคล รองผู้บัญชาการทหารเรือ(รองผบ.ทร.) ได้ออกมาเปิดเผยในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก ครั้งที่1ว่า มีผู้สนใจซื้อเอกสารทั้งสิ้น 42 รายทั้งบริษัทไทยและต่างประเทศ อาทิ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์  โฮลดิ้ง จำกัด  บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน)  บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โอลดิ้งจำกัด(มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) บริษัท พีทีที เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ จำกัด  บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้น จำกัด(มหาชน) เป็นต้น

 

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

 

ทั้งนี้ รองผู้บัญชาการทหารเรือ ยังกล่าวอีกว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้มีประกาศจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเรื่อง กำหนดให้พื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภา จังหวัดระยอง เป็นเขตส่งเสริม เมืองการบินภาคตะวันออก (พื้นที่เขตส่งเสริมเมืองการบินฯ) เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการฯเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา

 

“กองทัพเรือและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้จัดทำเอกสารเพื่อประกาศเชิญชวนเอกชนที่มีศักยภาพเข้าร่วมการคัดเลือกเอกชนในโครงการฯ โดยที่ผ่านมา กองทัพเรือได้เปิดให้เอกชนซื้อซองข้อเสนอจากนั้นจึงจัดให้มีการประชุมชี้แจงแบบและตอบข้อซักถาม ไปจนถึงประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ และจะเปิดให้มีการรับซองข้อเสนอในช่วงปลายเดือนก.พ.62”

 

สนามบินอู่ตะเภา

 

 

 

สำหรับการลงทุนในโครงการฯ แบ่งเป็นการออกแบบและก่อสร้าง ตลอดจนการให้บริการและการซ่อมบำรุงรักษา ทางวิ่ง (Runway) ทางขับ (Taxiway) และระบบที่เกี่ยวข้องในสนามบินอู่ตะเภาสำหรับการขึ้นลงและเคลื่อนตัวของอากาศยาน อาคารหอบังคับการบินแห่งที่ 2 (Air Traffic Control Tower) อาคารปฏิบัติการ อาคารสนับสนุน และระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในสนามบินอู่ตะเภาสำหรับการควบคุมการจราจรทางอากาศ

 

คิง เพาเวอร์

 

นอกจากนี้ยังมีงานหลักสนับสนุนการพัฒนาโครงการฯ เช่น อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ศูนย์การขนส่งภาคพื้นดิน เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการจราจรสำหรับการให้บริการขนส่งสาธารณะไปสู่สนามบิน ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ เป็นต้น พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรีและเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่องในสนามบินอู่ตะเภา ศูนย์ธุรกิจการค้าเพื่อพัฒนาพื้นที่ในสนามบินอู่ตะเภา ระบบสาธารณูปโภคกลาง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานของกรมศุลกากร และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและอื่นๆ

 

อย่างไรก็ตาม พล.ร.อ.โสภณ ยังกล่าวอีกว่า การเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในครั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนร่วมกันใช้แหล่งเงินทุน ความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญมาดำเนินงาน การออกแบบและก่อสร้าง การให้บริการและการบำรุงรักษาโครงการฯในการยกระดับสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นสนามบินระดับโลก เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ภายในพื้นที่ EEC ให้เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก และพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในระดับภูมิภาค

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 
- “ดร.สามารถ” ถามตรงๆ “ซีพี” มีเงื่อนไขพิเศษอะไร?? กล้าเสี่ยงลงทุนกว่าแสนล้าน ประมูล “ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน”
- เปิดซองแรกตามคาด "ซีพี-บีทีเอส" ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ ประมูลไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน

 

 

ภาพสนามบินอู่ตะเภา