- 23 ก.ค. 2563
นับว่าเป็นภาพและเหตุการณ์สุดหายาก ที่หลายปีจะมีให้เห็นสักครั้งในโลกนี้จริงๆ จนทำให้ชาวเน็ตทั่วโลกตื่นเต้น ตื่นตา และตื่นใจไม่น้อย เมื่อ ชาวบ้านพบเจอตะพาบสีเหลืองสด สุดแปลกตาในอินเดีย จึงได้รีบส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ กระทั่งพบความจริงว่าที่แท้เป็นภาวะผิวเผือก ทำให้มีสีต่างไปจากปกติ
นับว่าเป็นภาพและเหตุการณ์สุดหายาก ที่หลายปีจะมีให้เห็นสักครั้งในโลกนี้จริงๆ จนทำให้ชาวเน็ตทั่วโลกตื่นเต้น ตื่นตา และตื่นใจไม่น้อย เมื่อ ชาวบ้านพบเจอตะพาบสีเหลืองสด สุดแปลกตาในอินเดีย จึงได้รีบส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ กระทั่งพบความจริงว่าที่แท้เป็นภาวะผิวเผือก ทำให้มีสีต่างไปจากปกติ
โดย สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เกษตรกรชาวอินเดียได้พบเจอตะพาบลักษณะหายาก มีสีเหลืองสดใสทั้งตัว ขณะทำงานอยู่ในไร่ที่หมู่บ้านสุจันปูร์ เมืองบาลาซอร์ รัฐโอริสสา ทางตะวันออกของอินเดีย เขาจึงได้เก็บเจ้าตะพาบตัวนี้กลับมาบ้าน ก่อนส่งมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ป่าไม้ตรวจสอบ
จากรายงานเผยว่า นายบาสุเดฟ มหาพาตรา ได้พบเจอตะพาบประหลาดตัวนี้ในวันที่ 19 กรกฎาคม ก่อนจะส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ซึ่งทางหน่วยงานก็ได้ประสานให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบอีกที
ด้าน นายสิทราถะ ปาติ ผู้อำนวยการบริหารจากสมาคมอนุรักษความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งทำงานเพื่อปกป้องสัตว์ป่าและถิ่นอาศัย ยอมรับว่าตะพาบลักษณะนี้เป็นอะไรที่หาพบได้ยากมาก ตัวเขาก็เพิ่งจะเคยเห็นตะพาบแบบนี้เป็นครั้งแรก โดยสีเหลืองสดที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะเป็นผลจากภาวะผิวเผือก (albinism) ซึ่งเป็นความผิดปกติของยีนที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสี ตั้งแต่กำเนิด ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้ปล่อยตะพาบตัวนี้กลับคืนสู่ป่าในเมืองบาลาซอร์แล้ว
ทั้งนี้ นายสิทราถะ กล่าวว่าปกติ มักจะพบตะพาบและปู แล้วนำพวกมันไปปล่อยในน้ำ แต่นี่เป็นครั้งแรกในรัฐโอริสสาและครั้งที่ 2 ในอินเดียที่พบตะพาบเผือก โดยทั่วไปแล้ว อาจพบเห็นตะพาบได้ในปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย เนปาล บังกลาเทศและเมียนมา พวกมันกินไม่เลือก อาหารโปรด ได้แก่ กบ หอยทากและไม้น้ำ
โดย ตะพาบชนิดนี้ รู้จักกันในชื่อวงศ์ตะพาบหับ หรือ flapshell turtle จะโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ปีครึ่งถึง 2 ปี และเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่คล้ายกันในลักษณะเช่นนี้เมื่อปี 2559 มีผู้พบตะพาบเผือกสีเขียวบนชายหาดแคสต์อะเวย์ รัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย ซึ่งอาสาสมัครจากชายหาดคัมและนอร์ท ชอร์ ประหลาดใจมากที่เห็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ดูแปลกตา และตั้งชื่อให้ว่า “ลิตเติล อัลบี”
ขอบคุณข้อมูล ซีเอ็นเอ็น