- 02 ก.ย. 2564
ตระกูล เซี่ย รับเงินอู้ฟู่ 4.24 หมื่นล้าน ภายใน 6 เดือน หลัง ลงทุน วัคซีนซิโนแวค ฟันกำไรเพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่า
จากที่ก่อนหน้านี้ทีมข่าวได้นำเสนอเรื่องผลกำไรของ บริษัท ซิโน ไบโอฟาร์มาซูติคอล ที่มี เอริค เซี่ย หนุ่มจีนหน้าใสวัย 27 ปี เป็นเจ้าของ Sino Biopharmaceutical ซึ่ง เอริค มีศักดิ์เป็นหลานชายเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เศรษฐียักษ์ใหญ่ของเมืองไทยในอาณาจักรซีพี ซึ่งเรื่องน่าสนใจคือ เพียงแค่ครึ่งปีแรก โคโรนาแวค (CoronaVac) สามารถสร้างยอดขายกว่า 1,000 ล้านโดสทั่วโลก
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ทำความรู้จัก เอริค เซี่ย หุ้นใหญ่ซิโนแวค หลานชายเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์
- เปิดผลกำไร ซิโน ไบโอฟาร์มา ขายซิโนแวคครึ่งปีแรกได้เงินอู้ฟู่
เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามรายงานได้ระบุว่า จากยอดขายกว่า 1,000 ล้านโดสทั่วโลกของวัคซีนโควิดที่รู้จักในชื่อ โคโรนาแวค นั้นส่งผลให้บริษัท ซิโน ไบโอฟาร์มาซูติคอล ที่ถือหุ้น 15% ในบริษัทลูกของซิโนแวค ไบโอเทค ผู้ผลิตยาชั้นนำของจีน ซึ่งก่อนหน้านี้มีรายงานผลประกอบการเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 64 ว่า มีผลกำไร 8,480 ล้านหยวน หรือ ประมาณ 4.24 หมื่นล้านบาท ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 6 เท่าจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า
โดย เอริค เซี่ย ผู้เป็นกรรมการบริหารบริษัท พ่วงด้วยผู้ถือหุ้นชื่อใหญ่ ในบริษัท ซิโน ไบโอฟาร์มาซูติคอล นอกจากนี้ยังมีประธานบริษัทชื่อ เทเรซา เซี่ย เผยด้วยว่า ในจำนวนนี้ 6,910 ล้านหยวน มาจากบริษัทในเครือและธุรกิจร่วมทุนต่างๆ ของบริษัท ซึ่งรวมถึงหน่วยธุรกิจซิโนแวคอีกด้วย ซึ่งผลกำไรของผู้ผลิตยารายนี้ เป็นตัวบ่งชี้แรกถึงเม็ดเงินมหาศาลที่ซิโนแวคได้รับจากการจำหน่วยวัคซีนไปทั่วโลก หลังเกิดการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19
ในรายละเอียดระบุข้อมูลต่อไปว่า ซิโนแวคซึ่งหุ้นถูกระงับการซื้อขายในตลาดหุ้นแนสแด็กของสหรัฐตั้งแต่ต้นปี 2562 ซึ่งยังไม่รายงานผลประกอบการใดๆ ในปี 2564 ในขณะเดียวกัน ซิโน ไบโอฟาร์มาซูติคอล ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลประกอบการจากแต่ละหน่วยธุรกิจที่เข้าไปลงทุน อีกทั้งราคาหุ้นของซิโน ไบโอฟาร์มาซูติคอล ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ปิดเพิ่มขึ้น 3.07% แตะที่ 6.71 ดอลลาร์ฮ่องกงในวันนี้ (1 ก.ย. 64)
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
หลังจากการค้าขายวัคซีนไปได้ทั่วโลก เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็น ทำให้การเติบโตดังกล่าวสอดคล้องกับบริษัทผู้พัฒนาวัคซีนรายอื่นๆ ผลจากความต้องการวัคซีนโควิด และการระดมฉีดวัคซีนทั่วโลก เช่น บริษัทไฟเซอร์ อิงค์ (Pfizer Inc.) ของสหรัฐ ที่โกยยอดขาย 7,800 ล้านดอลลาร์จากวัคซีนชนิด mRNA ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งร่วมพัฒนากับบริษัทไบออนเทค (BioNTech) ของเยอรมนี ที่คาดว่าจะสร้างรายได้ 3.35 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อปีที่แล้ว บริษัท ซิโน ไบโอฟาร์มาซูติคอล ที่เปลี่ยนจากการลงทุนในบริษัทผลิตยาทั่วไปมาลงทุนในบริษัทผลิตยารักษามะเร็งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ทุ่มเงินลงทุน 515 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อถือหุ้น 15% ใน ซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์ (Sinovac Life Sciences) หน่วยธุรกิจผลิตวัคซีนของซิโนแวค ซึ่งมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นราว 3 เท่าแล้วในปัจจุบัน
ภาพจาก nationtv