หลายประเทศสนใจพลังงานนิวเคลียร์ แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน แม้มีความเสี่ยง

หลายประเทศสนใจใช้พลังงานนิวเคลียร์ แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน แม้มีความเสี่ยงเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เมื่อปี 2011

หลายประเทศสนใจพลังงานนิวเคลียร์ แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน แม้มีความเสี่ยง วิกฤตขาดแคลนพลังงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ทำให้หลายประเทศสนใจที่จะหันกลับมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้งเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น ญี่ปุ่น เยอรมนี และเบลเยียม ซึ่งนับตั้งแต่เกิดสงครามยูเครน ทำให้ยุโรปยุติการสั่งซื้อพลังงานและเชื้อเพลิงจากรัสเซีย จึงทำให้ต้องมีการจัดหาแหล่งพลังงานทดแทนอย่างเร่งด่วน และหลายประเทศก็มองว่าพลังงานนิวเคลียร์คือทางออก

หลายประเทศสนใจใช้พลังงานนิวเคลียร์ แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน แม้มีความเสี่ยงเกิดเหตุการณ์คล้ายปี 2011

 

 

โดย ปัจจุบัน มี 32 ประเทศทั่วโลกที่ใช้พลังงานจากนิวเคลียร์ ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ 10% ของที่ใช้ทั้งโลก แต่หลังจากเกิดเหตุกัมมันตรังสีรั่วไหลที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เมื่อปี 2011 ทำให้หลายประเทศรู้สึกว่าพลังงานนิวเคลียร์มีความเสี่ยง และเริ่มลดการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ บางประเทศมีแผนจะยุติการใช้พลังงานจากนิวเคลียร์ทั้งหมดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่วิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้น ทำให้หลายประเทศต้องหันมาพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง


ด้าน เบลเยียมที่มีแผนจะหยุดใช้พลังงานนิวเคลียร์ทั้งหมด ภายในปี 2025 ก็ได้ตัดสินใจเลื่อนกำหนดการออกไปก่อน เยอรมนีที่มีแผนจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สามแห่งสุดท้ายในช่วงสิ้นปีนี้ ก็กำลังพิจารณาเลื่อนแผนออกไปเหมือนกัน

หลายประเทศสนใจใช้พลังงานนิวเคลียร์ แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน แม้มีความเสี่ยงเกิดเหตุการณ์คล้ายปี 2011

 

ทั้งนี้ ฝ่ายที่มองว่าพลังงานนิวเคลียร์มีอันตรายและกังวลเรื่องสารปนเปื้อน ไม่เห็นด้วยกับการที่หลายประเทศจะหันกลับมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง และมองว่าการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์จะทดแทน การสูญเสียก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียได้เพียง 1% เท่านั้น เนื่องจากก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ส่วนใหญ่แล้วจะถูกนำไปใช้สำหรับเครื่องทำความร้อนในช่วงฤดูหนาว ไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า


อย่างไรก็ตาม ขณะที่หลายฝ่ายก็เห็นด้วยกับการหันมาใช้พลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง เพราะนอกจากตอนนี้ที่ยุโรปสูญเสียพลังงานที่ส่งมาจากรัสเซีย ยังเจอกับปัญหาภัยแล้ง ที่ทำให้การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำต้องลดน้อยลงไปอีก ดังนั้น การผลิตกระแสไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ย่อมช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ แม้จะช่วยได้เพียง 1% ก็ตาม

หลายประเทศสนใจใช้พลังงานนิวเคลียร์ แก้วิกฤตพลังงานขาดแคลน แม้มีความเสี่ยงเกิดเหตุการณ์คล้ายปี 2011

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ Thainewsonline