- 19 มิ.ย. 2567
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ได้รับรางวัลยกย่องให้เป็นเรือมรดกโลก วันนี้รายการปาฏิหาริย์ ช่วง เจนจิราหามาเล่า จะพาทุกคนไปรู้จักประวัติและที่มา เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์หนึ่งเดียวในโลก ที่ได้รับรางวัลยกย่อง ไปติดตามได้เลยค่ะ
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ได้รับ รางวัลยกย่องให้เป็น เรือมรดกโลก (หนึ่งเดียวในโลก) ปรากฎหลักฐานชัดเจนว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงอยุธยา หรือต้นรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091) โดยมีชื่อเรียกว่า สุวรรณหงส์ ด้วยความสำคัญของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ จึงทำให้ องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ให้ความสนใจส่งผู้แทนมาพิจารณามอบ รางวัลเรือโลก ให้กับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2535 คณะกรรมการองค์การ “World Ship Trust” เช่น นายอีเวนเซาท์บี-เทลยัวร์ ประธานองค์การเรือโลก เป็นต้น ได้เดินทางมายังประเทศไทยและเข้าเฝ้ารัชกาลที่ 9 ทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ (เหรียญรางวัลมรดกทางทะเลขององค์การเรือโลก ประจำปี 2535 / The World Ship Trust Maritime Heritage Award “Suphannahong Royal Barge”) จากนั้นรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าวแก่อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็นกรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาเรือพระที่นั่ง
ประวัติเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในสมัยอยุธยาต้นรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (ราว พ.ศ. 2091) ในสมัยกรุงศรีอยุธยาจะเรียกว่า สุวรรณหงส์ ดังปรากฎในบทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ฯ ที่ว่า “…สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม...”
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ปรากฎชื่อเป็น เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ คำว่า "สุวรรณหงส์" แปลว่า หงส์ทอง ตามคัมภีร์ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หงส์เป็นพาหนะของเทพ เช่น พระพรหม ส่วนในศาสนาพุทธ หงส์เป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณบริสุทธิ์ หรือจิตอันเที่ยงแท้ดังปรากฏในชาดกที่กล่าวถึงพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นหงส์ ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฏชื่อเป็น เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ได้ชำรุดทรุดโทรมเรื่อยมา และได้รับการซ่อมแซมมาหลายครั้ง รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน เพราะเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ลำเดิมผุพังเกินกว่าที่จะซ่อมได้ แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2454) และเปลี่ยนชื่อเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์มาเป็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ และได้มีการประกอบพิธีลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2454
ลักษณะเรือสุพรรณหงส์ หัวเรือพระที่นั่งนี้มีโขนเรือรูปหัวของหงส์ ลำตัวเรือทอดยาว คือ ส่วนตัวหงส์ จำหลักไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกมีพู่ห้อย ปลายพู่เป็นแก้วผลึก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือทาสีแดง ตอนกลางลำเรือมีที่ประทับเรียก ราชบัลลังก์กัญญาสำหรับพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เรือมีความยาว 46.15 เมตร กว้าง 3.17 เมตร ลึกจนถึงท้องเรือ 94 เซนติเมตร กินน้ำลึก 41 เซนติเมตร น้ำหนัก 15 ตัน ใช้กำลังพลประกอบด้วยฝีพาย 50 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือโดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ
อ่านประวัติเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เพิ่มเติมใต้ภาษาอังกฤษ
"The Royal Barge Suphannahong", from historical evidence, appears to have been built since the Ayutthaya period or the beginning of the reign of King Maha Chakkraphat, around the year 1548. During the Ayutthaya period, the name of the ship was called "Suwanahong" as it appeared in a poem by Prince Thammathibet (Prince Kung), the son of His Majesty King Borommakosot, the 31st king of the Ayutthaya kingdom.
Later in the reign of King Rama I, the king of the Chakri Dynasty, the Royal Barge Suwanahong" still appears with the name "Suwanahong" as before. The word "Suwanahong" means "golden swan" according to the Brahmin-Hindu scriptures, the swan is the vehicle of deities such as Brahma. In Buddhism, the swan is a symbol of spiritual purity or the true mind, as seen in the Jataka where the Buddha was born as a swan. But later in the reign of King Rama III, The Royal Barge Suwanahong appears to have its name changed to "The Royal Barge Sri Suphannahong" instead.
During the reign of King Chulalongkorn (Rama V), the Royal Barge Sri Suphannahong was damaged and repaired several times, King Chulalongkorn (Rama V) ordered the construction of the current the Royal Barge Suphannahong because the original the Royal Barge Sri Suphannahong was too damaged to be repaired. But it was completed during the reign of King Rama VI and changed the name "The Royal Barge Sri Suphannahong" to "The Royal Barge Suphannahong" and a water ceremony was held on November 13, 1911
"The Royal Barge Suphannahong", the bow is made into a head of haṁsa, carved with gilded lacquer and mirrored glass decoration and a crystalline ball and tassels dangling from his mouth. The hull is painted black outside and red inside. In the middle of the barge is placed a pavilion in which there is a throne called ratcha-banlang-kanya (Pali: raja-pallaṅka-kaññā).This pavilion was built to house the king and his immediate royal family. The length of the barge is 46.15 meters and the width at the beam 3.17 meters. The depth of the hull is 94 centimeters and the draught is 41 centimeters. Its displacement is 15 tons. It is manned by fifty oarsmen with two steersmen, two officers fore and aft, one standard bearer, one signalman, seven Royal Chatras bearers and one chanter. The chanter is the singing leader of the boat song and the oarsmen chant rhythmically in unison together with the chanter on each barge.
Due to the importance of the Royal Barge Suphannahong, the "World Ship Trust" of the United Kingdom was interested in sending a representative to consider and award the World Ship Trust Maritime Heritage Award "Suphannahong Royal Barge" to The Royal Barge Suphannahong of Thailand, on June 4, 1992
อ้างอิงที่มาจาก : พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี