- 16 ต.ค. 2567
สุพรรณหงส์ สู่เวทีโลก! เรือพระที่นั่งลำสำคัญของไทยได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในสายตานานาชาติ
สุดยอดแห่งมรดก เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ได้รับการยอมรับในฐานะมรดกโลก สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในสายตานานาชาติ เรือลำนี้ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ แต่ยังเป็นตัวแทนของฝีมือช่างชาวไทยที่งดงามตระการตาอีกด้วย
ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 งานพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดย "ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค" เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคในครั้งนี้ ใช้เรือพระราชพิธีจำนวนทั้งสิ้น 52 ลำ ความยาว 1,280 เมตร กว้าง 90 เมตร ใช้กำลังพลประจำเรือรวม 2,399 นาย
การจัดรูปขบวนเรือพระราชพิธี จํานวน 52 ลํา แบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ดังนี้
1. ริ้วสายกลาง ซึ่งเป็นเรือสายสำคัญ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง 4 ลำ ดังนี้
- เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
- เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
- เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
- เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
- นอกจากนี้มีเรืออีเหลืองเป็นเรือกลองนอก เรือแตงโมซึ่งเป็นเรือของผู้บัญชาการขบวนเรือเป็นเรือกลองใน พร้อมด้วยเรือตำรวจนอก และเรือตำรวจ รวมทั้งสิ้น 10 ลำ
2. ริ้วสายใน ขนาบข้างสายเรือพระที่นั่ง มีเรือทองขวานฟ้า และเรือทองบ้าบิ่น เป็นเรือประตูหน้าเรือเสือทยานชล และเรือเสือคำรณสินธุ์เป็นเรือพิฆาต เรือรูปสัตว์ 2 ลำ และปิดท้ายริ้วสายในด้วยเรือเอกไชยเหินหาว และเรือเอกไชยหลาวทอง ซึ่งเป็นเรือคู่ชัก รวมทั้งสิ้น 14 ลำ
3. ริ้วสายนอก ประกอบด้วยเรือดั้ง และเรือแซง สายละ 14 ลำ รวมทั้งสิ้น 28 ลำ
- เรือพระที่นั่ง 4 ลำ
- เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช : เป็นเรืออัญเชิญผ้าพระกฐินประดิษฐานเหนือบุษบก
- ลำที่ 2 เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ : เป็นเรือที่ประทับ
- เรือลำที่ 3 เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ : เป็นเรือที่ประทับของพระบรมวงศ์
- เรือลำที่ 4 เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 : เป็นเรือพระที่นั่งสำรอง