แม่หยัว มากกว่าแค่สนมเอก เผยบทบาทที่ซ่อนเร้นในราชสำนัก

"แม่หยัว" คำนี้คุ้นหูเราจากละครและวรรณกรรมมากมาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าตำแหน่งนี้มีความสำคัญและซับซ้อนกว่าที่คิด มาทำความรู้จัก แม่หยัง กันให้มากขึ้น พร้อมตำแหน่งสนมเอกในอดีต

"แม่หยัว" มองจากมุมมองประวัติศาสตร์ ไม่ใช่แค่ตัวละครในละคร แต่เป็นสตรีที่มีบทบาทสำคัญในสังคม เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับชีวิตเรื่องราวของแม่หยัวที่อยู่เบื้องหลังพระราชา และเรียนรู้ถึงบทบาทของพวกเธอในการกำหนดทิศทางของประเทศชาติ

แม่หยัว มากกว่าแค่สนมเอก เผยบทบาทที่ซ่อนเร้นในราชสำนัก

สนม 4 ทิศ พระราชอำนาจกษัตริย์อยุธยา

 

 

ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรสุเรนทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ทั้ง 4 นางล้วนไม่ใช่สามัญชนธรรมดา แต่เป็นสตรีที่มีเชื้อสายเจ้านายจากอาณาจักรหรือบ้านเมืองรอบ ๆ อยุธยา ดังนี้

 

 

1. กลุ่มละโว้-อโยธยา หรือราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้สถาปนาอยุธยา ซึ่งมีศูนย์กลางอำนาจแถบตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ละโว้-ลพบุรี)

 

 

2. กลุ่มสุพรรณภูมิ หรือราชวงศ์ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งเป็นพระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระมเหสีในพระเจ้าอู่ทอง มีศูนย์กลางอำนาจแถบตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา (สุพรรณบุรี)

 

 

3. กลุ่มนครศรีธรรมราช มีศูนย์กลางอำนาจที่นครศรีธรรมราช

 

 

4. กลุ่มสุโขทัย มีศูนย์กลางอำนาจที่อาณาจักรสุโขทัย

 

 

เมื่อบ้านเมืองเหล่านี้ถูกผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เจ้าเมืองเหล่านั้นต้องถวายสตรีเข้ามาเป็นพระสนมเอก ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงพระราชอำนาจของกษัตริย์อยุธยา

 

 

สันนิษฐานว่า ท้าวอินทรสุเรนทร์ มาจากราชวงศ์สุพรรณภูมิทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา, ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มาจากราชวงศ์พระร่วงทางทิศเหนือของกรุงศรีอยุธยา, ท้าวอินทรเทวี มาจากราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชทางทิศใต้ของกรุงศรีอยุธยา, และท้าวศรีสุดาจันทร์จากราชวงศ์ละโว้-อโยธยาทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา

 

แม่หยัว สนมเอกสี่ทิศ เรื่องย่อแม่หยัว

อย่างไรก็ตาม ไม่มีระบุในกฎหมายตราสามดวง ว่า พระสนมเอกทั้ง 4 สืบเชื้อสายมาจากเจ้านายหรือราชวงศ์ใด การนำเอาตำแหน่งพระสนมเอกทั้ง 4 คือ ท้าวศรีสุดาจันทร์ ท้าวอินทรสุเรนทร์ ท้าวอินทรเทวี และท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มาเชื่อมโยงกับ 4 กลุ่มอำนาจใหญ่ข้างต้น ล้วนเป็นการตีความของนักวิชาการยุคหลัง

 

 

ทั้งนี้ 4 พระสนมจะมีศักดิ์เท่า ๆ กัน ต่อเมื่อพระชายาองค์ใดประสูติพระราชโอรสที่จะได้เสวยราชย์ หรือได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์แล้ว พระชายาองค์นั้นจึงจะได้รับการยกฐานะขึ้นสูงกว่าพระชายาองค์อื่น ๆ เป็น “แม่อยู่หัว” ดังเช่น ท้าวศรีสุดาจันทร์ได้เป็นแม่อยู่หัวเพราะโอรส คือ “พระยอดฟ้า” ได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์องค์ต่อมาแทนพระราชบิดา คือ สมเด็จพระไชยราชาธิราช

 

 

ท้าวศรีสุดาจันทร์ เป็นธิดาของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่ไม่ปรากฏนาม สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ละโว้-อโยธยา หรืออู่ทอง ที่มีศูนย์กลางอำนาจแถบตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา คือ ละโว้-ลพบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทิศตะวันออกของอยุธยา

 

แม่หยัว ท้าวสีสุดาจันทร์ เรื่องย่อ

 

ท้าวศรีสุดาจันทร์มีพระราชโอรส 2 พระองค์กับสมเด็จพระไชยราชาธิราช คือ “สมเด็จพระยอดฟ้า” และ “พระศรีศิลป์” เมื่อประสูติพระราชโอรสแล้วจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “แม่หยัวเมือง” (แม่อยู่หัว)

 

 

จากนั้น เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต สมเด็จพระยอดฟ้าได้เสวยราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาขณะมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษา ทำให้ท้าวศรีสุดาจันทร์ได้สำเร็จราชการแทนพระองค์

 

 

“สุจิตต์ วงษ์เทศ” อธิบายว่า หากวิเคราะห์จากข้อมูลของขุนวรวงศาธิราช ที่มีน้องชายชื่อ “จัน” ซึ่งมีบ้านอยู่ที่มหาโลก แถบแม่น้ำป่าสัก ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันออกของอยุธยา เป็นดินแดนของอาณาจักรละโว้ และเป็นแหล่งกำเนิดของบรรพบุรุษราชวงศ์อู่ทอง

 

 

ขณะที่ “พิเศษ เจียจันทร์พงษ์” ก็เห็นว่า ท้าวศรีสุดาจันทร์สืบเชื้อสายจากราชวงศ์อู่ทองเช่นกัน โดยวิเคราะห์จากการเถลิงอำนาจของพระนาง เมื่อครั้งสถาปนาขุนวรวงศาธิราชเป็นกษัตริย์ พร้อมกันนั้นก็กำจัดสมเด็จพระยอดฟ้า เชื้อสายของสมเด็จพระไชยราชาธิราช ซึ่งเป็นราชวงศ์สุพรรณภูมิออกไป ย่อมแสดงให้เห็นว่า ท้าวศรีสุดาจันทร์คือราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองที่พยายามกลับเข้ามามีอำนาจในอยุธยาอีกครั้ง