“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้

โมงยามที่ประชาชนต่างหน่ายหนักกับนักการเมืองสวมหัวโขนนั่งรากงอกในสภา กลับปรากฏมีหน่ออ่อนที่เสมือนหนึ่งกลุ่มบุคคลกร้าวทางความคิดแลอุดมการณ์...ที่ปรารถนาชักนำพาประเทศสู่ความศิวิไลซ์ หากจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่สุดแล้วแต่วิจารณญาณ

โมงยามที่ประชาชนต่างหน่ายหนักกับนักการเมืองสวมหัวโขนนั่งรากงอกในสภา กลับปรากฏมีหน่ออ่อนที่เสมือนหนึ่งกลุ่มบุคคลกร้าวทางความคิดแลอุดมการณ์...ที่ปรารถนาชักนำพาประเทศสู่ความศิวิไลซ์ หากจะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่สุดแล้วแต่วิจารณญาณ

“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้

ก็หาใช่ว่าเป็นเรื่องแปลกใหม่ กับบรรยากาศสุดแสนจำเจและซ้ำซากให้ห้วงเดือนเมษายน ภายใต้แสงแดดอันระอุ ที่สาดฉายทอดอยู่บนร่างกายของชายหนุ่มร่างกำยำหรืออ้อนแอ้นผสมปนเปกันอย่างชวนสนเท่ห์ มากหน้าหลายตา หากไม่มากในความปรารถนา ที่ล้วนแต่คาดหวัง “ใบดำ” มากกว่า “ใบแดง” ด้วยพวกเขาเชื่อว่า กระดาษเหล่านี้ จะเป็นบัตรผ่านเข้าสู่ประตู “แดนสนธยา” ตามคำบอกเล่ากล่าวขาน จริงเท็จบ้างตามประสา แต่หลายครั้งครากลับถูกแต่งแต้มและใส่สีตีไข่อยู่ร่ำไป

พลันที่ “กล่องเหล็ก” ปรากฏตรงหน้า หลายคนเริ่มออกอาการขวัญหนีดีฝ่อ อุปมาดั่ง “มือเท้าเย็น” ก็มิเกินจริงเท่าใดนัก เพราะบางสิ่งที่บรรจุอยู่ในนั้นเป็นประกาศิตที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาหลังจากนี้ชนิด “หน้ามือเป็นหลังมือ”

ฤดูกาลเกณฑ์ทหารผ่านพ้นไปหลายขวบปี และทุกๆปีก็เกิดประเด็นถกเถียงที่ค่อนคร่ำครึไปพร้อมกัน กับการจุดประกายโดยกลุ่มบุคคลที่แสดงจุดยืนเรียกร้องให้มีการ “ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร” ในแง่มุมหนึ่งอาจเป็นความปรารถนาให้กองทัพมีพัฒนาการทัดเทียมกับชาติพัฒนา หากทว่าบางขณะได้นำมาซึ่งคำถามย้อนกลับว่า การยกเลิกหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างกองทัพอาจนั้นจะเป็นทางออกหรือคำตอบที่ดีเสมอไป หรือไม่

“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้

สืบเนื่องจากทางเพจเฟสบุ๊ก New Dem ที่อ้างว่าเป็นกลุ่ม “คนรุ่นใหม่” ที่จะเป็นตัวกลางขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า และที่สำคัญเป็นกลุ่มที่สังกัดพรรคเก่าแก่อย่าง “พรรคประชาธิปัตย์” ที่ใครก็ต่างรู้ดีว่ามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับกองทัพมาโดยตลอด

โดยระบุความว่า นอกจากไทย ประเทศไหนยังมีการเกณฑ์ทหาร? ประเทศไหนกลับมาใช้? จำเป็นหรือไม่ มีทางเลือกอะไรบ้าง? แนวทาง “ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร” ของ New Dem เป็นอย่างไร?

“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้

วนบรรจบ มาครบปี การเกณฑ์ทหารก็วนมาอีกครั้งสำหรับบ้านเรา แน่นอนไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่มีการเกณฑ์ทหาร วันนี้จะพาดูการเกณฑ์ทหารทั่วโลก บางประเทศที่กลับมาเกณฑ์ และความจำเป็น

ประเทศไหนยังมีการเกณฑ์ทหาร?

แม้ว่าในหลายประเทศทั่วโลกมีการยกเลิกการบังคับเกณฑ์บุคคลหรือประชาชนทั้งเพศชายและเพศหญิงเข้ารับใช้กองทัพทหาร เปลี่ยนเป็นการรับสมัครบุคคลผู้ที่สนใจทำงานหรือเป็นทหาร และมีเงินเดือนรวมไปถึงสวัสดิการต่างๆ ที่พึ่งมีเช่นการประกอบอาชีพต่างๆ แต่ก็ยังมีอีกประเทศทั่วโลกอีก 27 ประเทศที่ยังคงระบบการ “บังคับ” ให้บุคคลผู้มีอายุถึงเกณฑ์ที่ทางรัฐกำหนดต้องเข้าเป็น “ทหาร” เนื่องจากเป็นหน้าที่ของประชาชน คือ

อาร์เมเนีย ออสเตรีย เบลารุส อาเซอร์ไบจาน เบอร์มิวด้า บราซิล เมียร์มาร์ โคลัมเบีย ไซปรัส เดนมาร์ค อียิปต์ ฟินแลนด์ กรีซ อิหร่าน อิสราเอล เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ เม็กซิโก นอร์เวย์ รัสเซีย สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ ไต้หวัน ไทย ตูนิเซีย ตรุกี ยูเครน สหรัฐอาหรับเอมิเรต์ รายชื่อประเทศเหล่านี้ล้วนเป็นประเทศที่ยังคงมีการเกณฑ์ทหารของประชาชนทั้งชายและหญิง

แหล่งข่าวอื่นกลับระบุว่ามีประเทศที่ยังเกณฑ์ทหารเหลืออยู่ 100 กว่าประเทศ และมีวี่แววการนำการเกณฑ์ทหารกลับมาใช้เพิ่มขึ้น สื่อเดอะการ์เดียนและองค์กรต่อต้านสงครามนานาชาติ (War Resister’s International-WRI) ระบุว่า เมื่อเดือน มี.ค. 2560 สวีเดนได้นำระบบเกณฑ์ทหารกลับมาใช้ใหม่ หลังยกเลิกการเกณฑ์ทหารที่มีมายาวนาน 109 ปีไปเมื่อปี 2553 ส่วนคูเวตได้นำการเกณฑ์ทหารกลับมาใช้ในปี 2557 กาตาร์จัดให้มีการเกณฑ์ทหารในปี 2557 และ 2560 ตามลำดับ

ความจำเป็นของการเกณฑ์ทหารในแต่ละประเทศ และไทย

หลายประเทศมีเหตุผลในการเกณ์ทหารจากภัยคุกคามของประเทศเพื่อนบ้าน หลายประเทศอยู่ในภาวะสงคราม ความขัดแย้ง และเหตุผลแวดล้อมอื่นๆ

การเกณฑ์ทหารในแต่ละประเทศนั้น นอกเหนือจากปัจจัยด้านความมั่นคงแล้ว การเกณฑ์ทหารยังส่งผลถึงงบประมาณด้านการทหารที่ทางกองทัพของแต่ละประเทศจะได้รับเพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าตอบแทน ค่าฝึกอบรม รวมไปถึงการลงทุนด้านอาวุธต่างๆของกองทัพด้วย

ปัจจุบันประเทศไทยถือว่าไม่พบภัยคุกคามเป็นตัวเป็นตนจากประเทศอื่น ไม่มีความเสี่ยงในการเกิดสงครามเต็มรูปแบบ

ทางเลือกการทำประโยชน์ด้านอื่น

บางประเทศมีการเสนอให้มีทางเลือกให้ประชาชนที่ไม่ต้องการเข้ารับราชการทหาร ให้เข้าทำหน้าที่อื่นๆ โดยสอดคล้องกับเหตุผลในการไม่เข้าเกณฑ์ทหาร และผลประโยชน์ของสังคม โดยการเข้าทำหน้าที่เช่นว่าต้องไม่เป็นไปในเชิงการลงโทษ

ในกฎหมายของไซปรัสอนุญาตให้มีการทำหน้าที่อื่นแทนที่การเกณฑ์ทหาร โดยกำหนดระยะเวลาให้ต้องเข้าทำงานเป็นระยะเวลานานกว่าการเข้ารับราชการทหาร โดยสามารถเข้าทำหน้าที่ได้ทั้งในและนอกกองทัพ ในกฎหมายระบุว่าการทำหน้าที่ต้องทำในด้านการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมสามารถตัดสินระงับการเข้าทำหน้าที่แทนการเป็นทหารได้ในยามสงครามหรือเวลาที่ต้องระดมกำลัง

แนวทาง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ให้เหลือแต่ “ทหารสมัครใจ 100%” ของ New Dem

ทำให้เป็นจริงอย่างไร? กำลังพลจะพอเหรอ?
1. “ลดยอดพลทหาร 30-40%” (ที่ไม่กระทบความมั่นคง)
- กำจัดทหารรับใช้
- ลดไขมันองค์กร
2. “เพิ่มยอดสมัคร” โดยการ”เพิ่มคุณภาพชีวิตพลทหาร”
- เพิ่มรายได้ 5,000 บาท/เดือน (ค่าอาหารไม่ถูกหัก)
- ขยายสวัสดิการ (รักษาพยาบาล, เบี้ยเลี้ยงบุตรหรือผู้สูงอายุ)
- กำจัดความรุนแรง (อนุญาตใช้มือถือทุกคืนช่วงฝึก เปิดให้มีผู้ตรวจการจากภาคประชาชน)

ใครได้?
1. “คนที่ไม่อยากเป็นทหาร”
--> ได้อิสรภาพที่จะใช้ชีวิตและทำประโยชน์ให้ชาติในทางที่ตัวเองถนัดและใฝ่ฝัน
2. “คนที่อยากเป็นทหาร”
--> ได้รับรายได้ที่สูงขึ้น ไม่โดนหักสวัสดิการ และไม่ถูกกระทำความรุนแรงในค่าย
3. “ประชาชนทั่วไป” 
--> ได้ประเทศที่มั่นคงเหมือนเดิมด้วยกำลังพลที่เพียงพอ
4. “กองทัพ”
--> ได้ปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ พ้นครหาสถาบันอำนาจนิยม และเป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทย

“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้

ดูน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเมื่อผ่านทัศนะของใครหลายคน โดยเฉพาะกลุ่มประชากรชายไทยที่หวาดหวั่นเกรงว่าตนจะเข้าสู่ระบบเกณฑ์ทหารในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้หนึ่งในสมาชิก New Dem นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ ไอติม หลานชายของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ปลดประจำการหลังสมัครเข้ารับการเกณฑ์ทหารด้วยการยื่นวุฒิปริญญาตรี ลดระยะเวลาการประจำการจาก 2 ปี (กรณีจับใบดำใบแดง) เหลือเพียง 6 เดือน ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงข้อเสนอให้ปรับปรุงระบบเกณฑ์ทหารมาเป็นระบบสมัครใจ พร้อมให้เหตุผลและหนทางสู่ความเป็นไปได้คล้ายบทความของ New Dem ที่กล่าวมาข้างต้น

ดุจ “ไฟลามทุ่ง” เพราะในเวลาต่อมามีเสียงสนับสนุนจำนวนไม่น้อย จนทาง พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. ต้องออกมาให้ความมั่นใจต่อประชาชนว่า กองทัพจะดูแลทหารใหม่ให้ดีที่สุดประดุจน้องคนสุดท้องของหน่วยทหาร ด้วยการออกระเบียบใหม่เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการตลอดจนความปลอดภัยในการฝึก นอกจากนี้ยังกล่าวถึงกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ว่าเป็นแค่เสียงของคนกลุ่มเดียว เพราะขณะนี้ไม่มีประเทศไหนในโลกที่ไม่มีทหาร ดังนั้นการยกเลิกการเกณฑ์จึง "เป็นไปไม่ได้"

“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้

อนึ่งจะเห็นได้ว่าข้อเสนอของทาง New Dew ที่ยกขึ้นมาเป็นอันดับแรกนั้นคือการ “ลดขนาดกำลังพล” ลงถึง 30-40% ในแง่ทฤษฎีนั้น อาจมีความน่าสนใจประมาณหนึ่งแต่ในเชิงปฏิบัตินั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นไปได้ยากยิ่ง

ก่อนอื่นใดการทำความเข้าใจต่อบริบทการบอกเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทยนั้น ถูกส่งต่อถ่ายทอดในมุมของการอยู่รอดของชาติ เพราะกว่าที่ประเทศไทยยืดหยัดคงไว้ซึ่งเอกราชจวบจนทุกวันนี้ได้นั้น ต้องผ่านการทำสงครามแบบ “รัฐชนรัฐ” อันจะเรียกได้ว่า “สงครามตามแบบ” ที่เน้นปริมาณกำลังพลเพื่อเข้าปะทะยึดพื้นที่ มากกว่าจะเป็น “สงครามนอกแบบ” ใช้กำลังจากชุดปฏิบัติการขนาดเล็กมีขีดศักยภาพสูง ที่กำลังแพร่กระจายอยู่ตามชาติมหาอำนาจที่ปฏิบัติต่อประเทศโลกที่สามอย่างหวังผลประโยชน์ด้านทรัพยากร ด้วยอ้างเหตุผลทำนองความว่าเป็นการรุกรานโดยชอบธรรม

“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้

ขนาดของกองทัพจึงสอดคล้องกับบริบทความเป็นมาของชาติอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า ถึงแม้ทุกวันนี้ประเทศไทยจะแทบไม่หลงเหลือความเสี่ยงที่จะเผชิญ “สงครามตามแบบ” แต่ยังคงมีภัยคุกคามในรูปแบบอื่นที่ยังคงแวดล้อมรอบด้าน

เป็นต้นว่า “สงครามนอกแบบ” ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ใช้ยุทธวิธีการรบแบบสงครามกองโจร ด้วยชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก ซึ่งต้องใช้หน่วยที่มีสมรรถนะเหนือกำลังพลทั่วไปหรือ “รบพิเศษ” ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่า แต่ก็เป็นความจริงที่ปฏิเสธมิได้ว่า บทบาทของกำลังพลทั่วไปยังคงมีไว้ซึ่งการข่มขู่หรือคานอำนาจ เช่น การตรึงกำลังในพื้นที่ การสถาปนาหน่วยขนาดใหญ่ในพื้นที่

“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้

โดยเนื้อแท้ส่วนใหญ่กลุ่มยกอ้างเป็น “หัวก้าวหน้า” ที่มุ่งหวังปรับเปลี่ยนระบบกองทัพนั้น มักสมาทานชาติมหาอำนาจอื่นเป็นต้นแบบทั้งสิ้น ด้วยหารู้ไม่ว่าพัฒนาการของกองทัพของประเทศเหล่านั้นมีการอัดฉีดงบประมาณที่สูงยิ่ง ย้อนแย้งอย่างสิ้นเชิงต่อแนวคิด “กองทัพยุคใหม่” ที่ “คนรุ่นใหม่” บางคนสาธยายว่าจะลดงบประมาณกองทัพโดนที่ไม่กระทบต่อความมั่นคง และนำงบประมาณไปจุนเจือด้านอื่น แบบชวนให้คล้อยกันตาปริบ

ถัดนั้นกับการกำจัดความรุนแรงที่ทาง New Dew ยกมาเป็นข้อรอง จากข้อเท็จจริงนั้นสอดคล้องกับคำยืนยันของ พล.อ.อภิรัชต์ ด้วยเพราะปัจจุบันพบว่ามีการพยายามผลักดันนโยบายด้านความปลอดภัยในกองทัพรวมถึงการสอดส่องดูแลทหารใหม่ให้มีความรัดกุมมากขึ้น ซึ่งในส่วนนี้กองทัพได้ปักขึ้นเป็นหมุดหมายหลักในทุกๆปีในการต้อนรับทหารใหม่  อย่างไรก็ตามเมื่อพินิจอย่างรอบด้าน หลักการของ New Dem อาจมีน้ำหนักไม่เพียงพอและแทบไม่มีความเป็นไปได้ แต่ล้วนขึ้นอยู่กับวิจารณญาณทั้งสิ้น

“การยกเลิกเกณฑ์ทหาร” มิได้มีเพียงแต่ New Dem เท่านั้นที่พยายามผลักดันให้เกิดขึ้น แต่ทาง “พรรคอนาคตใหม่” ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเคลื่อนไหวที่ดูจะปรารถนาอย่างแรงกล้าและเห็นพ้องต้องเช่นกัน มองในแง่กลยุทธ์ทางการเมือง ที่เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง จะเป็นไปได้หรือไม่ว่าเป็นการส่งสัญญาณบางอย่างเพื่อเชื้อเชิญหยิบยื่น “ความร่วมมือ” ให้แก่กัน อาจจะด้วยหวังผลลัพธ์อันเป็นอื่น เพราะท้ายสุดแล้วพวกเขาอาจรู้ดีอยู่แก่ใจว่าเรื่องชวนฝันดังกล่าวนั้น ไม่มีทางเกิดขึ้นเป็นแน่

“New Dem” เบี้ย “ประชาธิปัตย์” แผลงฤทธิ์! หวัง “ยกเลิกเกณฑ์ทหาร” ลดกำลังพล เสนอแนวทางและความเป็นไป(ไม่)ได้