- 09 ม.ค. 2562
นับว่าเป็นปัญหาที่สั่งสมและเรื้อรังมายาวนาน และมีแนวโน้มว่าจะกระทบต่อการส่งออกอันจะสะท้อนกลับยังเศรษฐกิจของประเทศ เกี่ยวกับการกดขี่แรงงานริดรอนสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่แฝงอยู่ในฝูงเรือประมงไทย จนทางฮิวแมนไรท์วอทช์ (องค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศซึ่งทำวิจัยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน)
นับว่าเป็นปัญหาที่สั่งสมและเรื้อรังมายาวนาน และมีแนวโน้มว่าจะกระทบต่อการส่งออกอันจะสะท้อนกลับยังเศรษฐกิจของประเทศ เกี่ยวกับการกดขี่แรงงานริดรอนสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่แฝงอยู่ในฝูงเรือประมงไทย จนทางฮิวแมนไรท์วอทช์ (องค์การนอกภาครัฐระหว่างประเทศซึ่งทำวิจัยและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน) ได้นำประเด็นดังกล่าว ไปอภิปรายบนเวทีโลกสาระสำคัญคือความกังวลต่อแรงงานประมงข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถูกริดรอทสิทธิ์ขั้นพื้นฐานทั้งไม่ได้รับค่าจ้างตามเวลา และได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เลวร้ายที่สุดคือแรงงานข้ามชาติ ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานของไทย และไม่มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน จนทางประเทศไทยได้รับ สัญญาณเตือน หรือ ใบเหลือง ที่ทำเอารัฐบาลต้องนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาหาทางออกอย่างเร่งด่วน เพราะสหรัฐฯ ได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่จับตามองระดับ Tier 2 ในรายงานการค้ามนุษย์ (TIP report) ซึ่งอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมการประมงไทยหยุดชะงัก จากการถูก ห้ามส่งออก อาหารทะเล ไปสหภาพยุโรป เนื่องจากปัญหาการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing)
เรียกได้ว่าเป็นความกดดันที่รัฐบาลปัจจุบันต้องแบกรับ ด้วยเพราะก่อนหน้านี้มีแนวโน้มว่าประเทศไทยมีโอกาสที่จะได้ เซ็นสัญญา ส่งออกอาหารทะเลเป็นประเทศแรกๆของอาเซียน แต่กลับกลายเป็นว่าต้องถอยหลังมาตั้งหลักกันใหม่ กระทั่งช่วงเดือน ก.ค. 2561 ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกกฎหมายการประมง เพื่อแก้ปัญหาไอยูยู ซึ่งการที่กระทรวงแรงงานจะผลักดันประเทศไทยให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา C 188 พร้อมให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานภาคการประมง ค.ศ. 2007 (2550)
มีสาระสำคัญคือ เป็นการกำหนดให้คนงานประมง มีสภาพการทำงานที่มีคุณค่าตามข้อกำหนดขั้นต่ำในการทำงานบนเรือประมง อาทิ มีข้อกำหนดขั้นต่ำในการทำงานที่ชัดเจน ทั้งในเรื่องอายุขั้นต่ำ มีใบรับรองแพทย์ก่อนลงเรือ มีเวลาพักขั้นต่ำ 10 ชั่วโมงจาก 24 ชั่วโมง และ 77 ชั่วโมงใน 1 สัปดาห์มีทะเบียนลูกจ้าง สัญญาจ้าง การจ่ายค่าตอบแทนผ่านระบบบัญชีธนาคาร มีที่พัก อาหาร น้ำดื่มที่เพียงพอเหมาะสม มียารักษาโรคเบื้องต้นกรณีเจ็บป่วย มีช่องทางการติดต่อสื่อสารกับบนฝั่ง มีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ได้รับสิทธิความคุ้มครองด้านการประกันสังคม และเข้าถึงการดูแลรักษาทางการแพทย์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ทางสำนักข่าวทีนิวส์ได้ติดต่อสัมภาษณ์ คุณบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย และได้รับข้อมูลที่น่าสนใจถึงความเป็นไปได้ที่จะนำกฏหมายดังกล่าวมาบังคับใช้ความว่า ทั้งหมดอยู่ที่ การปรับตัว เพราะถือเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศไทยที่ไม่เคยให้ความสำคัญกับสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานประมง ยกตัวอย่างจะเห็นได้วา มีเรือจำนวนน้อยมากที่มีการต่อเติมให้ถูกสุขลักษณะ การใช้ชีวิตของลูกเรือนั้นเป็นไปอย่างตามมีตามเกิด
ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากอนุสัญญานั้น คือ กลุ่มของเรือประมงพาณิชย์ที่ถูกบังคับให้ต่อเติมเรือให้สอดคล้องกับกฏหมาย ส่งผลให้มีภาระค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานตามที่กำหนดโดยเฉพาะในเรื่องของสวัสดิการแรงงาน อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าหลังจากนี้จะทำให้ตัวเลขของแรงงานประมงที่ถูกริดรอนสิทธิพื้นฐานลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ เพราะต้องรอเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบังคับใช้กฏหมาย ซึ่งขณะนี้กำลังจะยื่น สนช. เพื่อให้พิจารณาต่อไป
ล่าสุดจากการยึดแนวทางปฏิบัติและการดำเนินการของรัฐบาลได้นำไปสู่ผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม เพราะเมื่อวันที่ 8 ม.ค. เวลาประมาณ 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ กล่าวภายหลังนายเคอเมนู เวลลา ( Mr.Karmenu Vella) กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเล และประมง (European Commissioner for Environment, Maritime Affairs, and Fisheries) ประกาศแถลงการณ์ผลการพิจารณาปลดใบเหลืองประมงไอยูยูของประเทศไทย ซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวที่ได้รับการพิจารณาในครั้งนี้ ณ สำนักงานใหญ่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ว่า
ถือเป็นความสำเร็จและน่ายินดีที่ทุกภาคส่วนได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการทำประมงไอยูยูมาโดยตลอด เพราะตั้งแต่ประเทศไทยได้ใบเหลืองเมื่อเดือนเมษายน 2558 ก็ได้ได้มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย อย่างเต็มที่จนสามารถแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ ทั้งด้านกรอบกฎหมาย การบริหารจัดการประมง การบริหารจัดการกองเรือ การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) การตรวจสอบย้อนกลับ และการบังคับใช้กฎหมาย ความมุ่งมั่นทั้งหมดส่งผลให้สหภาพยุโรปปลดใบเหลืองให้กับไทย ทั้งนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำเร็จที่ไทยได้ยกระดับของการทำประมงเชิงพาณิชย์ ทั้งในและนอกน่านน้ำเข้าสู่มาตรฐานสากล และพร้อมที่จะเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการส่งเสริมการประมงอย่างยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค
ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัย ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าจากนี้ไปรัฐบาลไทยก็ยังมีความมุ่งมั่น ที่จะขจัดปัญหาการทำประมงไอยูยู เพราะตระหนักดีถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่ออนุชนรุ่นหลัง พร้อมกันนี้ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กำกับดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และเชื่อมั่นว่าไทยได้วางรากฐานระบบป้องกันการทำประมงไอยูยู ไว้อย่างสมบูรณ์ทั้ง 6 ด้านคือ 1. ด้านกฎหมาย 2. ด้านการบริหารจัดการประมง 3. ด้านการบริหารจัดการกองเรือ 4 ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) 5. ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ และ 6. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย
การดำเนินการระยะต่อไปหลังการเจรจาระดับทวิภาคีร่วมกับนายเคอเมนู เวลลา แล้ว ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันเกี่ยวกับแผนงานความร่วมมือในอนาคตกับสหภาพยุโรปเพื่อให้ไทยบรรลุการเป็นประเทศปลอดประมงไอยูยู หรือ ไอยูยูฟรีได้โดยสมบูรณ์ต่อไป
ด้านนายเคอเมนู เวลลา กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเล และประมง กล่าวรู้สึกยินดีที่เป็นเจ้าภาพต้อนรับ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ของประเทศไทย พร้อมกันนี้ได้ย้ำถึงความสัมพันธ์ที่มีมานานจะทำให้การแก้ปัญหาประสบความลำเร็จยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ในการหารือร่วมกันของรัฐบาลไทยและสหภาพยุโรปมีความยินดีที่จะประกาศให้ประเทศไทยปลดใบเหลือง ในกลุ่มประเทศที่ทำประมงผิดกฎหมายและขอแสดงความยินดีกับรองนายกรัฐมนตรี สำหรับความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น ในการทำให้การปฏิรูปนี้เป็นไปได้
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทางด้านเฟสบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith ซึ่งเป็นนักวิชาการอิสระ ที่เกาะติดการดำเนินงานของรัฐบาลมาโดยตลอด ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจความว่า
ปลดแล้ว!!! ใบเหลืองจาก กรณีการทำประมงผิดกฎหมาย ไร้การรายงานและไร้การควบคุม
- ข่าวดีวันนี้ เมื่อ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เดินทางไปยังที่ทำการสหภาพยุโรป (EU) ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม
- เพื่อไปร่วมแถลงการณ์ที่สหภาพยุโรป กรณีที่ประเทศไทยดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องการประมงผิดกฎหมาย และการใช้แรงงานเถื่อน จนสามารถปลด ใบเหลือง จากทางสหภาพยุโรปได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว!!!
- กรณีประมงไทยที่ทำผิดกฎหมายหนักสั่งสมมานานหลายสิบปี ทั้งการใช้อุปกรณ์ที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้แรงงานเถื่อน การขาดการดูแลสวัสดิภาพของแรงงาน (หรือเรียกรวมๆ ว่าการค้ามนุษย์)
- จนเมื่อปี 2558 ไทยโดนสหภาพยุโรปลดอับดับไปขึ้นบัญชีเฝ้าระวัง ซึ่งทำให้การส่งออกสินค้าจากการประมงพวกสัตว์น้ำไปยังสหภาพยุโรปมีปัญหา ก่อนที่รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขตลอด 4 ปีที่ผ่านมา
- จนมาวันนี้ผลของการดำเนินการตลอด 4 ปีได้บรรลุเป้าหมาย ไทยหลุดพ้นจากบัญชีใบเหลืองในเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Finishing: IUU) เป็นที่เรียบร้อย!!
- ส่วนคนที่น่าจะ เงิบ มากที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มนักการเมืองที่ออกมาโจมตีก่อนหน้านี้ ว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางปลดใบเหลืองสำเร็จ จนกว่าจะมีการ&รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
- ดังเช่นกรณีที่ หมอเหวง ไปปราศรัยตอนหาเสียงในนามพรรคไทยรักษาชาติ แล้วกลับมาโพสท์ข้อความลง facebook วันที่ 23 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาว่า....
ชาวบ้านพูดเองครับว่า วิธีแก้ปัญหาก็คือ ต้องให้คสช.และรัฐบาลคสช.พ้นไปโดยเร็วไม่เว้นแม้แต่ปัญหาประมงเรื่องอียู และIUU ชาวบ้านเขาพูดเลยครับว่า ปัญหาใบเหลือง ของIUU จะแก้ได้ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และรัฐบาลทหาร(คสช.)พ้นไปแล้วครับ
งานนี้ก็ไม่รู้ว่าทางพรรคไทยรักษาชาติและหมอเหวงจะว่าอย่างไรกับเรื่องนี้นะครับ