- 15 ก.พ. 2562
สืบเนื่องจากกรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอร่าง พ.ร.บ.ข้าว ฉบับใหม่ แต่นำมาซึ่งข้อถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ด้วยหลายฝ่ายกังวลว่า เป็นการจำกัดสิทธิชาวนาและต้องซื้อจากผู้ที่ขึ้นทะเบียนการค้าเมล็ดพันธุ์
สืบเนื่องจากกรณีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เสนอร่าง พ.ร.บ.ข้าว ฉบับใหม่ แต่นำมาซึ่งข้อถกเถียงและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ด้วยหลายฝ่ายกังวลว่า เป็นการจำกัดสิทธิชาวนาและต้องซื้อจากผู้ที่ขึ้นทะเบียนการค้าเมล็ดพันธุ์ ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษทั้งจำทั้งปรับ โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่มีการนำเสนอไม่ตรงตามความเป็นจริงทั้งหมด จนเกิดเป็นความเข้าใจว่าชาวนาจะได้รับผลกระทบโดยตรง ไม่สามารถผลิตพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำคุกและปรับ และจำกัดให้ต้องใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทใหญ่เท่านั้น
ล่าสุด 15 ก.พ. 2562 บนเฟสบุ๊ก "Kittitouch Chaiprasith" ซึ่งเป็นของนักวิชาการอิสระที่ได้ติดตามการดำเนินงานเชิงนโยบายของรัฐบาลมาโดยตลอด ได้โพสต์ให้ความกระจ่างต่อกรณีดังกล่าวระบุว่า
หยุดการบิดเบือนและตีความแบบผิดๆ เกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.ข้าว โดยสื่อมวลชน และทำความเข้าใจ พ.ร.บ.ข้าว ที่กำลังเป็นประเด็นในเวลานี้
-------------------
ความรู้เบื้องต้น: หลักการเสนอกฎหมาย
-------------------
การเสนอกฎหมายทำได้ 4 ทางคือ
1. เสนอโดย รัฐบาล/คณะรัฐมนตรี
2. เสนอโดย ส.ส.ไม่น้อยกว่า 20 คน
3. เสนอโดย ศาลหรือองค์กรอิสระ
3. เสนอโดย ประชาชน 10,000 คนเข้าชื่อ
ส่วนขั้นตอนการพิจารณากฎหมายมีดังนี้
1. ตั้งคณะกรรมาธิการทำงาน
2. รัฐบาลยอมรับในร่างกฎหมาย
3. ส่งให้กฤษฎีกา (ฝ่ายกฎหมาย) ตรวจสอบ
4. ลงคะแนนเสียงโดยสภาผู้แทนราษฎร
5. ลงคะแนนเสียงโดยวุฒิสภา
6. แก้ไขเพิ่มเติมโดยสองสภา (ถ้ามี)
7. นายกฯ ทูลเกล้าถวายในหลวง
8. ประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้
-------------------
ลำดับเหตุการณ์ พ.ร.บ.ข้าว
-------------------
ร่างกฎหมายข้าวฉบับที่เป็นประเด็นนี้เสนอมาจากคณะกรรมาธิการใน สนช. ไม่ใช่จากรัฐบาลหรือกระทรวงเกษตร โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. รัฐบาลเห็นด้วยใน [หลักการ]
2. รัฐบาลมีข้อไม่เห็นด้วยในเชิง [ข้อปฏิบัติ] เพราะมีบางข้อที่รัฐบาล/กระทรวงเกษตรเห็นว่าทำแล้วอาจมีปัญหา หรือ ทำงานจริงจะทำได้ยากมาก เพราะคนอาจไม่พอ
3. กระทรวงเกษตรส่งอธิบดีกรมการข้าวไป [โต้แย้ง] ในคณะกรรมาธิการยกร่างกฎหมาย
4. รัฐบาลยอมให้ผ่านในวาระที่ 1 เพราะเห็นด้วยในหลักการที่ดี แต่มีปัญหาในเชิงปฏิบัติ รัฐบาลจึงขอให้คณะกรรมาธิการ แก้ข้อบกพร่องในวาระที่ 2-3
5. ร่างปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนวาระที่ 2 ที่ต้องแก้ไขในรายละเอียด และ รับฟังความคิดเห็นของภาคประชาสังคม-นักวิชาการเพิ่มเติม ก่อนจะเสนอให้รัฐบาลพิจารณา ว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่ในวาระที่ 2-3
อ้างอิงจาก:
https://www.youtube.com/watch?v=f_B64hilGEE
-------------------
หลักการสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ข้าว
-------------------
ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ฉบับนี้เกิดมาจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมตัวกันพิจารณาและเสนอกฎหมายที่จะช่วยยกระดับวงการข้าว จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีสาระดังนี้
1. คุมโรงสีไม่ให้เอาเปรียบชาวนา
2. ผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องจดทะเบียน
3. เพิ่มอำนาจกรมการข้าว วิจัย-อนุญาต-ตรวจสอบ
4. กำหนดโทษสูงสุดจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท
https://news.thaipbs.or.th/content/277691
https://www.youtube.com/watch?v=wRHFU4OClBA
อ้างอิง:
ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2561
http://www.ricethailand.go.th/…/imag…/ict_rd/PDF/Binder1.pdf
ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2561 http://web.senate.go.th/bill/bk_data/455-1.pdf
-------------------
1. คุมโรงสีไม่ให้เอาเปรียบชาวนา
-------------------
- โรงสีต้องเก็บหลักฐานข้าวเปลือกไว้ 5 ปี
- โรงสีต้องออกใบกำกับคุณภาพข้าวเปลือก
- ชาวนาเอาใบกำกับคุณภาพไปตรวจสอบได้
ถ้าชาวนาสงสัยว่าโรงสีมั่วคุณภาพ เพื่อกดราคา ชาวนาสามารถนำไปร้องต่อ [กรมการข้าว] เพื่อขอให้ตรวจสอบได้ ถ้าโรงสีออกใบเท็จ เพื่อกดราคาชาวนา แล้วถูกตรวจสอบว่าเป็นจริงตามนั้น เจ้าของโรงสีโดนโทษ คุก 1 ปีหรือปรับ 1 แสนบาท!!!
อ้างอิง:
http://www.thansettakij.com/content/301445
-------------------
2. ผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องจดทะเบียน
-------------------
- ห้ามขายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้รับรอง
- ห้ามขายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เสื่อมคุณภาพ
- ห้ามโฆษณาหลอกลวงเรื่องคุณภาพเมล็ดพันธุ์
สำหรับชาวนาที่พัฒนาสายพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเมื่อไรนำสายพันธุ์ที่พัฒนามา "ขาย" ต้องไปขอใบขึ้นทะเบียนกับ [กรมการข้าว] เพื่อได้รับการตรวจสอบ ว่าไม่ได้เอาของด้อยคุณภาพมาขายให้กับคนอื่น
*** หลักการนี้ไม่ต่างอะไรกับสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ที่ต้องขอ ตรา อย. หรือจะผลิตเหล้า หรือขายยา (ทางการแพทย์) ก็ต้องไปขอใบอนุญาต เพื่อให้มีการตรวจสอบว่าของที่ขายนั้นได้คุณภาพ ไม่หลอกลวงผู้บริโภค
อ้างอิง:
http://www.thansettakij.com/content/301445
-------------------
3. เพิ่มอำนาจกรมการข้าว วิจัย-อนุญาต-ตรวจสอบ
-------------------
ให้กรมการข้าวมีอำนาจดังนี้
- มีอำนาจแบบบูรณาการเรื่องข้าว
- ไม่ได้ทำหน้าที่แค่วิจัยอย่างเดียว
- มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วย
- ออกใบรับรองให้กับผู้ขายเมล็ดพันธุ์
- มีสิทธิสุ่มตรวจสอบโรงสีต่างๆ ได้เอง
(จากเดิมต้องให้กรมการค้าภายใน มาตรวจสอบ)
*** ใน พ.ร.บ.ข้าว ฉบับใหม่นี้ กรมการข้าวจะทำหน้าที่แบบบูรณาการ คือ วิจัย และตรวขสอบคุณภาพพันธุ์ข้าว เพื่อป้องกันการขายเมล็ดพันธุ์ด้อยคุณภาพของพวกพ่อค้าหัวหมอ พ่อค้าขี้โกง
*** อีกทั้งยังคอยเป็นเจ้าหน้าที่รับเรื่อง ดูว่าโรงสีโกงใบรับประกันคุณภาพข้าวเปลือกที่รับซื้อจากชาวนาด้วย ต่อไปชาวนาสงสัยว่าโรงสีโกงคุณภาพข้าวที่ตัวเองเอามาขาย ก็สามารถร้องเรียนต่อกรมการข้าวให้ตรวจสอบได้
-------------------
สาระอื่นๆ
-------------------
- นอกจากเรื่องสาระหลักข้างต้น ยังมีประเด็นอื่นๆ เช่น ระบุให้พื้นที่ปลูกข้าว 50,000 ไร่ขึ้นไปให้รัฐบาลประกาศเป็น #เขตพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร การปลูกข้าวและเกษตรกรรมยั่งยืน
- เพื่อให้การสนับสนุนในเชิงกายภาพโครงสร้าง เช่น แหล่งน้ำ ตลาดกลาง โรงสี ลานตาก ยุ้งฉาง โรงอบ โรงปุ๋ย เครื่องจักรกลการเกษตร เช่นเดียวกับภาครัฐได้ทำเขตนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตส่งเสริมพิเศษทางธุรกิจ
https://www.dailynews.co.th/politics/677971
- รวมถึงเนื้อหาบางอย่างเช่น ที่สภาเกษตรกรฯ สนับสนุนให้ร่าง พ.ร.บ.ข้าวฯ ฉบับนี้ มีการจัดสวัสดิการ-บำนาญให้ชาวนา หรือ การส่งเสริมศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน เป็นต้น
- รายละเอียดเพิ่มเติมของร่าง พ.ร.บ.ข้าวฉบับนี้ สามารถฟังได้จากบทสัมภาษณ์นาย กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณร่างพ.ร.บ.ข้าว ในลิ้งค์ด้านล่างนี้
"พ.ร.บ.ข้าว" ปฏิวัติข้าวไทย ช่วยชาวนาได้จริงหรือ?
https://www.youtube.com/watch?v=LbOPAxLVO34
-------------------
ข้อโต้แย้งและปัญหาในเชิงปฏิบัติ
-------------------
#โรงสี
เป็นผู้ได้รับผลโดยตรง จึงออกมาโต้แย้งว่ากฎหมายฉบับนี้ทำเหมือนว่าโรงสีเป็นผู้ร้าย จะทำให้โรงสีเดือดร้อน ตัวแทนโรงสีจึงออกมาคัดค้านชัดเจน
#นักวิชาการค้าข้าว
เป็นห่วงว่าจะเป็นการควบคุมการค้าและโรงสีมากเกินไป และ อาจทำให้อำนาจการพิจารณาเรื่องข้าวของกรมการข้าวมีมากเกินไป (เกิดอำนาจรวมศูนย์)
#กระทรวงเษตร
- มองว่าอำนาจบางส่วนของกรมการข้าวซ้ำซ้อนกับกรมการค้า และ ข้อกฎหมายการค้าข้าวเดิมของกระทรวงพานิชย์
- กังวลว่ากรมการข้าวจะมีคนทำงานไม่เพียงพอ ทำให้กฎหมายใช้ไม่ได้ในเชิงปฏิบัติ (แต่ฝ่ายร่างกฎหมาย ก็แย้งว่าว่างั้นก็เพิ่มคนสิ ไม่ใช่อ้างว่าคนไม่พอ)
#องค์กรชาวนา
เสียงแตกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเห็นด้วย และ กลุ่มไม่เห็นด้วย กลุ่มไม่เห็นด้วยอ้างอิงตามนักวิชาการและกระทรวงเกษตร ส่วนกลุ่มเห็นด้วยเชื่อว่ากฎหมายนี้จะช่วยคุ้มครองชาวนาจากการกดราคาของโรงสีได้
-------------------
สรุป
-------------------
1. [หลักการ] ของร่างกฎหมายฉบับนี้ดี และจะช่วยคุ้มครองชาวนาในระยะยาว ไม่ให้ถูกโรงสีเอารัดเอาเปรียบ กดราคา ด้วยการอ้างว่าข้าวเปลือกของชาวนาคุณภาพไม่ดี
(ชาวนาให้กรมการข้าวตรวจข้าวได้)
2. กฎหมายนี้ทำให้พันธุ์ข้าวต่างๆ ได้รับการขึ้นทะเบียนและรับรองมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยทำให้มูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้น ต่อไปข้าวไทยจะได้รับรองมาตรฐานสากล ข้าวท้องถิ่นส่งออกได้ดีขึ้น
3. ป้องกันการหลอกขายเมล็ดพันธุ์ข้าวด้อยคุณภาพของชาวนา/พ่อค้าเมล็ดพันธุ์ที่ไร้ความรับผิดชอบต่อชาวนาคนอื่น
4. [ข้อปฏิบัติ] บางประการ ยังมีปัญหาในเชิงปฏิบัติ ต้องไปแก้ไข หรือหามาตรการรับรองต่อไป ในขั้นตอนวาระที่ 2-3 ของการพิจารณากฎหมาย
-------------------
ความเห็นส่วนตัว
-------------------
- สุดท้าย โดยหลักการของร่างกฎหมายนั้นดี และมีหลายข้อไม่มีปัญหา แต่ยังมีบางข้อที่น่าจะมีปัญหาเชิงปฏิบัติ การติเพื่อก่อ ให้เกิดการอุดช่องโหว่ เป็นเรื่องที่ควรทำ
- ทั้งนี้เราไม่ควรติเพื่อทำลาย หรือ ใส่ร้ายป้ายสี กฎหมายที่ออกมาเพื่อพัฒนาคุณภาพของวงการข้าวไทย ว่าเป็นเรื่องเลวร้าย เอื้อนายทุน ฯลฯ (ตามแบบที่ NGO ชอบหยิบขึ้นมาปลุกระดม)
- แต่ควรช่วยกันคิดเพื่ออุดช่องโหว่ หรือ หาทางที่จะทำให้ได้ตามเป้าหมาย มากกว่าการ "ฉุดรั้ง" โดยให้ชาวนาทำกันไปแบบตามมีตามเกิด หรือหลอกขายพันธุ์ข้าว หรือให้โรงสีกดราคาข้าวเปลือกด้วยการอ้างคุณภาพและความชื้นปลอมๆ กันต่อไป
- การพัฒนาระบบรับรองพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐานนั้น ยังไงเสียก็ต้องมาถึงในเร็ววัน เราไม่ควรมัวแต่ติดและบอกว่า "ทำไมได้หรอก ติดปัญหานู้นนี่นั่น" แต่ควรกลับคำถามใหม่ว่า "แล้วทำอย่างไรที่จะทำให้สำเร็จได้" มากกว่านะครับ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- หยุดก่อนสาย!!แกะรอย “พ.ร.บ.ข้าว” ไม่ธรรมดา ? รมว.เกษตรโดดขวาง ป้องวิถีชีวิตชาวนา
- พระมหากรุณาธิคุณยิ่ง! สมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯทรงเยี่ยมกลุ่มผลิตพันธุ์ข้าวแม่สาย