- 12 มี.ค. 2562
ย้อนเหตุการณ์ม็อบเดือดปี53! "อภิสิทธิ์" ที่มีทุกวันนี้ ก็เห็นๆอยู่ว่าเป็นเพราะใคร ไม่ใช่เพราะบุคคลเหล่านี้หรอกหรือ บุคคลที่เขาประกาศปาวๆ ว่าไม่เอาแล้ว ไม่ร่วม ไม่สนับสนุนด้วย แบบนี้คงจะเป็นจริงอย่างคำพูดของ สุเทพ ที่ว่า "มึงอยากจะเป็นนายกฯ มากจนลืมหัวกูแล้วใช่มั้ย"
หลังจากที่ 'นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้อัดคลิป ลงแฟนเพจ Abhisit Vejjajiva โดยเป็นการประกาศจุดยืนชัดๆของตนเอง ที่จะไม่สนับสนุน 'พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา' เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ เพราะ การสืบทอดอำนาจ สร้างความขัดแย้ง และขัดกับอุดมการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ "ประชาชนเป็นใหญ่" ทั้งนี้ สำนักข่าวทีนิวส์ได้นำเสนอเหตุการณ์เบื้องลึกเบื้องหลังของเขาไปบ้างแล้วก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีอีก 1 เหตุการณ์สำคัญ ที่คนธรรมดาอย่างเราๆ ยังไม่ทันได้ลืม และเชื่อว่า คุณอภิสิทธิ์ จะยังไม่ลืมเช่นกัน ....
ย้อนกลับไปปี 2553 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553 มีเป้าหมายเรียกร้องให้ 'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ประกาศยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่ ต่อมา รัฐบาลใช้มาตรการทางทหารเข้ายุติการชุมนุม จากนั้น อภิสิทธิ์ ประกาศแผนปรองดอง ซึ่งผู้ชุมนุมมีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม การชุมนุมจึงดำเนินต่อไป และอภิสิทธิ์ก็ประกาศยกเลิกวันเลือกตั้งใหม่ตามแผนปรองดอง ก่อนจะใช้กำลังทหารเข้ายุติการชุมนุมอีกครั้งที่แยกราชประสงค์ เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม จนกระทั่ง แกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
การชุมนุมประท้วงต่อต้าน 'รัฐบาลอภิสิทธิ์' เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2552 เนื่องจากผู้ชุมนุมมีข้อสงสัยว่ากองทัพไทยอยู่เบื้องหลังการยุบพรรคพลังประชาชน พร้อมทั้งจัดตั้งรัฐบาลผสม ที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ในปีต่อมา กลุ่มคนเสื้อแดง ประกาศจะเริ่มการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553 'อภิสิทธิ์' จึงเพิ่มมาตรการรักษาความมั่นคงอย่างมาก รวมทั้งเข้มงวดกับการตรวจพิจารณาสื่อมวลชนและอินเทอร์เน็ต ตลอดจนสั่งปิดสถานีโทรทัศน์ และสถานีวิทยุที่ดำเนินงานโดยกลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวไม่สามารถยับยั้งกลุ่มเสื้อแดงไม่ให้เดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานครได้
ทั้งนี้ กลุ่มคนเสื้อแดงส่วนมากเดินทางมาจากต่างจังหวัด แต่ก็มีชาวกทม.ส่วนหนึ่งเข้าร่วมการชุมนุมด้วยเช่นกัน การชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม สื่อต่างประเทศรายงานว่าเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย โดยในช่วงแรก การชุมนุมเกิดขึ้นที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศบนถนนราชดำเนินและเป็นไปโดยสงบ กลุ่มผู้ชุมนุมใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การเดินขบวนรอบกรุงเทพมหานคร การรวบรวมเลือดไปเทที่หน้าประตูทำเนียบรัฐบาล หน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์
และหน้าบ้านพัก'อภิสิทธิ์' เพื่อกดดันรัฐบาล จากนั้นมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมถึงสองครั้งสองครา ได้ข้อสรุปว่าจะมีการยุบสภา แต่ไม่สามารถสรุปวันเวลาได้ โดยทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุม มีการยิงลูกระเบิดชนิดเอ็ม-79 หลายสิบครั้ง แต่ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำมาลงโทษได้แม้แต่คนเดียว
ยิ่งไปกว่านั้น ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมปิดการจราจรที่แยกราชประสงค์ รวมทั้งสร้างแนวป้องกันในบริเวณโดยรอบ วันที่ 8 เมษายน 'อภิสิทธิ์' ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนขึ้นไป ทั้งนี้ วันที่ 14 เมษายน แกนนำเสื้อแดง ประกาศรวมที่ชุมนุมไปยังแยกราชประสงค์เพียงแห่งเดียว
วันที่ 22 เมษายน เหตุปาระเบิดมือทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 86 คน กลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 28 เมษายน ระหว่างที่ผู้ชุมนุมจากแยกราชประสงค์ กำลังเดินทางไปให้กำลังใจกลุ่มผู้ชุมนุมที่ตลาดไท ย่านรังสิต ชานกรุงเทพมหานคร แต่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตั้งแนวขวางกั้น กลางถนนวิภาวดีรังสิต จนเกิดการปะทะกัน โดยมีทหารเสียชีวิต 1 นาย ในเหตุการณ์นี้
อย่างไรก็ตาม 'อภิสิทธิ์' เสนอแนวทางปรองดอง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ซึ่งเสนอให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่อภิสิทธิ์ก็ยกเลิกข้อเสนอดังกล่าว หลังจากที่แกนนำ นปช. ยื่นข้อเรียกร้องให้รองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ เข้ามอบตัวกับตำรวจ แม้จะมีท่าทียอมรับในระยะแรกก็ตาม ต่อมา รัฐบาลสั่งการให้กำลังทหารเข้าล้อมพื้นที่แยกราชประสงค์เพื่อยุติการชุมนุม
ทั้งนี้เมื่อแกนนำ นปช. ประกาศยุติการชุมนุม และยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นผลให้ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเกิดความไม่พอใจ จากนั้น เกิดการก่อจลาจลและวางเพลิงสถานที่หลายแห่งทั่วประเทศ ในช่วงค่ำ รัฐบาลประกาศห้ามออกจากเคหสถานในหลายจังหวัด และให้สถานีโทรทัศน์ทุกช่องนำเสนอรายการของรัฐบาลเท่านั้นเพื่อความปลอดภัยของประชาชน
ทั้งนี้ วันที่ 11 มีนาคม นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง พร้อมด้วย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผู้บัญชาการทหารบก พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง เสนาธิการทหารบก พลโท คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1 พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และ พลตำรวจโท สัณฐาน ชยนนท์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ร่วมกันแถลงข่าวภายหลังการประชุมกองอำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย ที่กองบัญชาการกองทัพบก
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- จับตา ท่าที"อภิสิทธิ์" อุบไต๋ รวม-ไม่ พรรคหนุน"บิ๊กตู่"
- เปิดประวัติ "อภิสิทธิ์" ว่าที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่ กับคำเดิมพัน "หากแพ้ครั้งนี้จะลาออกจากหัวหน้าประชาธิปัตย์?"
- ถอดรหัสคำพูด "อภิสิทธิ์" เต๊ะท่า-วางมาด ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญ ตั้งรัฐบาล!
โดยได้นำชุดควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งชายและหญิง ชุดสายตรวจ ชุดสายตรวจ ชุดปฏิบัติการพิเศษ หรือหน่วยสวาท ชุดจู่โจมเคลื่อนที่เร็ว หรือชุดปะ ฉะ ดะ เพื่อให้ประชาชนรับทราบเจ้าหน้าที่ของตำรวจที่จะปฏิบัติหน้าที่ในช่วงประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ระหว่างวันที่ 11–23 มีนาคม พ.ศ. 2553
นายสุเทพ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ที่จะดูแลความสงบเรียบร้อยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ประกาศเป็นพื้นที่ความมั่นคง ซึ่งทุกคนไม่พกพาอาวุธ นอกจากอุปกรณ์ป้องกันตัว แต่จะมีเพียงชุดสายตรวจ ชุดปฏิบัติการพิเศษหรือหน่วยสวาท ชุดจู่โจมเคลื่อนที่เร็ว หรือชุด ปะ ฉะ ดะ ที่จะมีอาวุธติดตัว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ โดยจะมีเครื่องหมายเลขชัดเจน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ชัดพอไหม! งานนี้มีคนเงิบหนัก "กิตติธัช" เผย "บรรจง" ฉะ "อภิสิทธิ์" ปมประมงเถื่อนและการค้ามนุษย์บนเรือประมง
- ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก? "อภิสิทธิ์" ลั่น ถ้าได้ต่ำกว่า 100 ที่นั่ง จะลาออก!
- "บิ๊กตู่" ยืนกราน "ไม่ลาออก" แย๊บ "อภิสิทธิ์" มีอำนาจยังแพ้ "ยิ่งลักษณ์" คาเก้าอี้มาแล้ว!
ทั้งนี้ ชุดแรกที่เข้าควบคุมฝูงชนที่เป็นผู้หญิงก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้หญิงและไม่มีอาวุธ ส่วนชุดควบคุมฝูงชนผู้ชายมีเพียงโล่ และกระบอง หากมีบุคคลอื่นแอบอ้างหรือแต่งเครื่องแบบทหาร นอกเหนือจากนี้จะจับดำเนินคดี สำหรับการถวายอารักขาที่บริเวณรอบโรงพยาบาลศิริราช จะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บัญชาการทหารเรือ และจะมีทหารเรือและทหารบกแต่งเครื่องแบบรักษาความสงบเรียบร้อย โดยใช้กำลังทั้งสิ้น 5 กองร้อย
ต่อมาในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553 พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ ที่ ร.11 รอ. พล.อ.อนุพงษ์ ได้เรียก ผบ.หน่วย ที่รับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เข้าร่วมประชุมรับนโยบาย โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รองผบ.ทบ. พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ผช.ผบ.ทบ. พล.อ.พิรุณ แผ้วพลสง เสธ.ทบ. พล.ท.คณิต สาพิทักษ์ แม่ทัพภาคที่ 1
พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสธ.ทบ. พล.ท.โปฎก บุนนาค ผบ.นสศ. พล.ท.ยุทธศิลป์ โดยชื่นงาม ผบ.นปอ. พล.ต.อุกฤษฎ์ ณรงค์วิทย์ ผบ.มทบ.11 พล.ต.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผบ.พล.1 รอ. พล.ต.สุรศักดิ์ บุญสิริ ผบ.พล.ม.2 รอ. พล.ต.อำพล ชูประทุม ผบ.พล.ปตอ. พล.ต.อุทิศ สุนทร ผบ.พล.ร.9 พ.อ. พ.อ.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ รองผบ.พล.ร.2 รอ. ปฏิบัติหน้าที่แทน พล.ต.วลิต โรจนภักดี ผบ.พล.ร.2 รอ.ที่บาดเจ็บจากการปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน เข้าร่วมประชุม
อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าในอดีตที่ผ่านมา มีบุคคลเหล่านี้ใช่หรือไม่? ที่อยู่เบื้องหลังคอยช่วยเหลือและประคับประครองให้นายอภิสิทธิ์ผ่านพ้นวิกฤติในแต่ละครั้งมาได้โดยตลอด แต่ทว่าเมื่อเวลาเปลื่ยนไป การอยากมีอำนาจก็ทำให้คนเปลื่ยนด้วย
กระทั่งทำให้เขาแกล้งลืมไปว่า ที่มีทุกวันนี้ ก็เห็นๆอยู่ว่าเป็นเพราะใคร ไม่ใช่เพราะบุคคลเหล่านี้หรอกหรือ บุคคลที่เขาประกาศปาวๆ ว่าไม่เอาแล้ว ไม่ร่วม ไม่สนับสนุนด้วย แบบนี้คงจะเป็นจริงอย่างคำพูดของ สุเทพ ที่ว่า "มึงอยากจะเป็นนายกฯ มากจนลืมหัวกูแล้วใช่มั้ย" การอยากมีอำนาจ นี่ไม่เข้าใครออกใครจริงๆ คุณๆเหมือนกันไหมคะ ...