ควรค่าแก่การยกย่อง! "บิ๊กป้อม" ชู "วีรชัย พลาศรัย" ข้าราชการคนสำคัญของแผ่นดิน

บิ๊กป้อม ยกย่อง วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา เป็นข้าราชการคนสำคัญของแผ่นดิน หลังถึงแก่อนิจกรรม

สืบเนื่องจากวานนี้ (16 มีนาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 'นายวีรชัย พลาศรัย' เอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกา ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงแล้วเมื่อเวลาเที่ยงคืน 43 นาที (เวลาที่วอชิงตันดีซี)  หรือเวลา 11 นาฬิกา 43 นาที (เวลาประเทศไทย)  โดยมีรายงานว่าเขาได้เข้ารับการรักษาตัวในห้อง ICU ที่โรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ จากอาการไขข้อกระดูกอักเสบอย่างรุนแรง 

 

นายวีรชัย พลาศรัย

 

กระทั่งล่าสุดวันนี้ (17 มีนาคม)  'พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์' โฆษกกระทรวงกลาโหม​ เปิดเผยว่า 'ประวิตร วงษ์สุวรรณ' รองนายกรัฐมนตรี​ และรมว.กลาโหม ได้แสดงความอาลัยอย่างสุดซึ้ง หลังทราบข่าวการเสียชีวิตของ 'นายวีรชัย พลาศรัย' เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา​ โดยได้กล่าวแสดงความอาลัยว่า "ถือเป็นการสูญเสียข้าราชการคนสำคัญของแผ่นดิน ที่ควรค่าแก่การยกย่อง

 

ประวิตร วงษ์สุวรรณ

 

พร้อมทั้งกล่าวชื่นชม นายวีรชัย ถึงการทุ่มเท เสียสละและมีส่วนสำคัญยิ่งในการปฏิบัติราชการแผ่นดินที่สำคัญๆในเวทีระหว่างประเทศที่ผ่านมา  โดยเฉพาะการทำหน้าที่หัวหน้าคณะต่อสู้และชี้แจงต่อศาลโลกคดีปราสาทพระวิหาร  

 

รวมทั้งมีส่วนสำคัญยิ่งในการประสานขับเคลื่อนและผลักดันแก้ปัญหาวิกฤติสำคัญๆของชาติในเวทีระหว่างประเทศจนประสบความสำเร็จ  ส่งผลดีต่อภาพลักษณ์และผลประโยชน์ของประเทศอย่างมาก  ทั้งปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ( IUU ) , ปัญหาการบินพลเรือน ( ICAO ) , ปัญหาการค้ามนุษย์ , ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น"

 

เขตแดน

อย่างไรก็ตามประวัติของ 'นายวีรชัย' เป็นบุคคลที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง  และเคยสร้างคุณงามความดีไว้มากมายให้แผ่นดินไทย และเป็นบุคคลที่ควรค่าแก่การจดจำ ... 'นายวีรชัย พลาศรัย' ชื่อเล่น 'แสบ' เกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2503 ภรรยาชื่อ 'นางอลิซาเบธ พลาศรัย' ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะหัวหน้าคณะต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารการชี้แจงต่อศาลโลกกรณีคดีปราสาทพระวิหาร

 

นายวีรชัย

 

ทั้งนี้ ประวัติการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่น12)เคยเข้าศึกษาที่ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ก่อนที่จะไปศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มหาวิทยาลัยปารีส (นองแตร์) ระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ฝรั่งเศส ระดับประกาศนียบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน 

 

 

ประวัติการทำงานเลขานุการตรี กองแอฟริกา และกลุ่มอาหรับ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจ 3 มีนาคม พ.ศ. 2549 อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 15 กันยายน พ.ศ. 2550 อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (เจ้าหน้าที่การทูต 10) สำนักงานปลัดกระทรวง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551 

 

ควรค่าแก่การยกย่อง! \"บิ๊กป้อม\" ชู \"วีรชัย พลาศรัย\" ข้าราชการคนสำคัญของแผ่นดิน

 

อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย (นักบริหาร 10) 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551 กรรมการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (กรุงเฮก) 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา.
 
 
เรื่องราวชีวิตของท่านทูต ถูกนำเสนอออกมามากมาย หนึ่งในนั้นก็คือชีวิตอีกมุมหนึ่ง ดังเช่นที่เขาบอกเล่าไว้ว่า ในวัยเด็กอยากเป็น 2 อย่างคือ ทูตกับผู้พิพากษา “แต่มาวันนี้เป็นทูต เพราะมองว่าผู้พิพากษา เรามีเป้าหมายเป็นประธานศาลฎีกา

 

นายวีรชัย เล่นดนตรี

 

 แต่ว่าประธานศาลฎีกานั้น เป็นยากกว่า เพราะในแต่ละครั้งมีคนเดียว แต่ทูตมีพร้อมๆ กัน 50-60 คน โอกาสเป็นทูตจึงมีสูงกว่า อีกอย่างคือได้ทุนด้วย คุณแม่ขอไว้ว่า ไม่ให้เป็นนักดนตรีอาชีพ จะเล่นก็เล่นได้ แต่ไม่ให้เป็นอาชีพ ขอว่าถ้าไม่มาทางการทูตก็ให้เป็นผู้พิพากษา ถ้าทำได้”

 

นายวีรชัย เอกอัครราชทูต

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 
-
ทูตวีรชัย พลาศรัย ผู้ต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร เสียชีวิตแล้ว!
- "บิ๊กป้อม" คืนความสุข มอบคืนโฉนดที่ดินให้ปชช.ลดความเหลื่อมล้ำ