- 11 เม.ย. 2562
หยุดแชร์ข่าวปลอม แอบอ้าง"ทีนิวส์" บิดเบือนข้อเท็จจริง..กล่าวหา "ปิยบุตร" หลบหนีหมายเรียก สำนักข่าวทีนิวส์ยืนยันว่าไม่มีการนำเสนอข่าวดังที่ปรากฏตามภาพ และสำหรับคนที่ทำข่าวปลอม และแชร์ข่าวปลอม สำนักข่าวทีนิวส์จะดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด
สืบเนื่องจากการที่ สำนักข่าวทีนิวส์ ได้นำเสนอข่าว “ปิยบุตร ออกนอกประเทศไทย เผยมาต่างประเทศ พร้อมยืนยันวันกลับ” https://www.tnews.co.th/contents/501924 เผยแพร่เมื่อวันที่ 10 เม.ย 62 ที่ผ่านมา
ต่อมาได้มีแอบอ้างนำลิงค์ข่าวดังกล่าวของสำนักข่าวทีนิวส์ ไปบิดเบือนดัดแปลง จากเดิมเปลี่นป็น “ด่วน!ปิยบุตรหนีคดีแล้ว หลบหนีหมายเรียกพร้อมภรรยาชาวฝรั่งเศส คนคิดดี ทำดีจะหนีทำไม มึงจะกลับไม่มาไหม๊” จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงประเด็นดังกล่าวตามโซเชียลมีเดีย (ตามภาพด้านล่าง)
สำนักข่าวทีนิวส์ยืนยันว่าไม่มีการนำเสนอข่าวดังที่ปรากฏตามภาพ และสำหรับคนที่ทำข่าวปลอม และแชร์ข่าวปลอม สำนักข่าวทีนิวส์จะดำเนินการทางกฎหมายอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้ปฏิเสธไม่ว่า “โซเชียลมีเดีย” ในยุคแห่งโลกออนไลน์ที่กระแสข้อมูล ข่าวสาร ไหลเวียนกันอย่างรวดเร็วอย่างใน Facebook , Twitter นั้นส่งผลและทรงอิทธิพลเป็นอย่างมา เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทุกเพศ ทุกวัย ในทุกวงการ ทั้งแวดวงธุรกิจ การตลาด E-Commerce ต่าง ๆเป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังร่วมไปถึง อิทธิพลไปในวงกว้างโดยเฉพาะ แวดวงการเมือง ซึ่งทุกสายตาได้จับจ้องอยู่ขณะนี้ เรื่องนี้ประจักษ์ชัดจากผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. ที่ผ่าน ความสามารถบริหารจัดการสื่อโซเชียลมีเดีย ของพรรคอนาคตใหม่ ที่ส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย เจาะกลุ่ม “คนรุ่นใหม่” ได้สำเร็จ การเกิดขึ้นของกระแส แฮทแท็กอันดับหนึ่งได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ตั้งแต่ #ฟ้ารักพ่อ มาถึง #savethanathorn ตามด้วยอีกหลายๆ แฮชแท็ก จึงเป็นเครื่องหมายการันตีของอิทธิพลโซเชียลมีเดีย
ดังนั้น “โซเชียลมีเดีย”จึงเป็นช่องทางที่จะสื่อสารที่เข้าถึง ใกล้ชิด กลุ่มเป้าหมาย ได้ดีที่สุดอีกช่องทางหนึ่ง ..แต่อย่าลืมว่า “เหรียญมีสองด้าน” ในการไหลเวียนของกระแสข่าวสาร นอกเหนือจากเว็บไซต์ที่ลง "ข่าวปลอม" หรือ "เฟคนิวส์ (Fake News)" ที่กำลังระบาดอย่างหนัก ภัยคุกคามความมั่นคงไทย-โลก
ยังก่อเกิดช่องโหว่ ให้กลุ่มผู้ที่ไม่หวังดี กระบวนใต้ดินในการโจมตีฝ่ายตรงข้าม สร้างตัวปลอม หรือ ที่เรียกกันจนติดปากว่า “ร่างอวตาร” ฉวยโอกาส ใส่ร้าย บิดเบือน ด้วยภาพหรือข้อมูล ข้อความที่เป็นเท็จ โดยเจตนา!! สร้างความเข้าใจผิด และบางทีอาจเลยเถิดมาถึงความแตกแยก หาผลประโยชน์จากเกลียดชังขึ้นในสังคม
อย่างไรก็ตามประเด็นดังกล่าวที่เป็นที่น่าสนใจ ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้านปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกระบวนการเคลื่อนไหวใต้ดิน ไว้อย่างน่าสนใจ เมื่อวันที่ 6 เม.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่า..
กลับมาแล้วครับ หลังจากโดนขบวนการใต้ดินในโลกโซเชียล ที่กลัวการเปิดโปงไอดีปลอม/อวตาร รุมรีพอร์ทจนทำให้โดนแบนไป 1 วันเต็มๆ
- โดยที่เมื่อวานนี้ หลายคนคงสงสัยว่าทำไมผมลบโพสท์ดังกล่าวหลังลงได้เพียงแค่ 1 ชม.กว่าๆ ความจริงก็คือ ผมไม่ได้ลบโพสท์ครับ แต่โดนรุมรีพอร์ทด้วยข้อหา...
#เนื้อหาลามกอนาจาร #มีภาพโป๊เปลือย ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงอย่างสิ้นเชิง!!!
- เพราะในโพสท์นั้นมีแต่การแฉข้อมูลของไอดีปลอม/อวตารเท่านั้น ถ้าจะมีก็มีเพียงประโยคที่ไอดีปลอมนี้ ทำการเขียนรีวิวให้เพจไอดอลเพจหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยคที่มีข้อความลามกหยาบคาย
- แต่ก็เป็นเพียงข้อมูลประกอบให้เห็นถึงว่าไอดีปลอมนี้ทำอะไรไว้บ้างโดยที่ตัวโพสท์ที่นำข้อมูลมาเปิดเผยนั้น ไม่ได้มีเนื้อหาเรื่องเพศหรือลามกอนาจารแต่ประการใด
- อีกทั้งผมยังได้ทำการเซ็นเซอร์ตัวข้อความในโพสท์ ด้วยการซ่อนพยัญชนะ ห ให้เหลือเพียง "_ี" เพื่อไม่ให้เป็นคำหยาบคายตรงๆ จนเกินไป แต่ก็ไม่วายที่จะโดนรุมรีพอร์ทจากการนำข้อความของไอดีปลอมนั้นมาเปิดเผยให้สังคมได้เห็น
- ซึ่งการที่ facebook จะมานั่งพิจารณาข้อความเล็กๆ เพียงประโยคเดียวที่มีการเซ็นเซอร์คำแล้วด้วยนั้น ตามปกติวิสัยย่อมไม่เกิดขึ้น
- แต่สิ่งที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่ามีการจัดตั้งขบวนการเพื่อรุมรีพอร์ทในข้อหาเดียวกันนี้ ในจำนวนมาก เพื่อให้เกิดการกดดัน facebook เพื่อพิจารณาให้เข้าข่ายมีเนื้อหาลามกอนาจาร (ซึ่งเป็นข้อหาตลกมาก)
- แสดงให้เห็นว่าขบวนการดังกล่าวนี้ "กลัวการถูกเปิดเผยข้อมูล" จึงต้องรีบตั้งทีมจำนวนมาก มารุมรีพอร์ทเพื่อทำการ #ปิดปาก ไม่ให้เกิดการแฉการสร้างเรื่องอันฉ้อฉลของพวกเขา
- ซึ่งก็แปลกดีนะครับ เพราะพวกนี้ชอบ #อ้างประชาธิปไตย #อ้างเสรีภาพ ในการนำเสนอและการพูด แต่กลับกลัวการถูกเปิดโปงเรื่องชั่วๆ ของตน เลยต้องมารุมรีพอร์ทคนที่เปิดโปงตนเอง
*** แต่ไม่ต้องห่วงครับ ผมลงใหม่เรียบร้อยแล้ว เพียงแค่ตัดข้อความลามกหยาบคายของไอดีปลอมนั้นออก แล้วให้คนเข้าไปพิจารณาจากต้นทางเองก็พอ
อย่างไรก็ตามท้ายที่สุด แม้จะไม่สามารถห้ามหรือควบคุมให้กลุ่มคนเหล่านั้น สร้างข่าวปลอม โจมตีผู้อื่นไม่ได้ แต่สามารถที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ในการตรวจสอบที่มาที่ไปของข่าวสาร ควรจะใช้วิจารณญาณให้มากๆ ว่าข้อมูลที่ส่งมานั้น มีความจริงมากน้อยเพียงใด สมกับคำที่ฮิตในสมัยปัจจุบัน #เสพข่าวอย่างมีสติ #เช็คก่อนแชร์