- 14 เม.ย. 2562
สืบเนื่องจากกรณีที่ ดร. สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ นาย ธนาธร จึงรุ่งเรื่องกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ในหัวข้อ "Portrait ธนาธร : แกะรอยความคิดและความจริงในตัวธนาธร "
สืบเนื่องจากกรณีที่ ดร. สุวินัย ภรณวลัย' อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับ 'นาย ธนาธร ชื่นฤทัยในธรรม' หัวหน้า'พรรคอนาคตใหม่' ในหัวข้อ "Portrait ธนาธร : แกะรอยความคิดและความจริงในตัวธนาธร " (อ่านรายละเอียด ได้ที่ >> สุวินัย แฉหมดเปลือกธนาธร ประกาศต้องการมีอำนาจมากพอที่จะต่อรองกับ xxxx ในหนังสือportrait ธนาธร) จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก ทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
กระทั้งเมื่อวันที่ 13เม.ย.ที่ผ่านมา ทางด้าน นายเกษียร เตชะพีระอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาแสดงความคิดเห็นเกียวกับประเด็นกังกล่าว ระบุว่า.."ดราม่า" วันสงกรานต์
ตื่นเช้าหลังจากเขียนทักทายมิตรรักนักกลอนตามระเบียบแล้ว ผมก็เตรียมปั่นต้นฉบับคอลัมน์ประจำสัปดาห์ ทว่าเผอิญมีคำขอร้องที่มิอาจปฏิเสธได้ให้ช่วยตอบโต้ข้อเขียนในโพสต์ของอ.สุวินัย ภรณวลัยเกี่ยวกับธนาธรอย่างเป็นงานเป็นการหน่อย เมื่อทำแล้วก็ทำเลยและอ้างอิงแสดงเอกสารแง่คิดข้อมูลข้อถกเถียงในประเด็นใกล้เคียงกันไปด้วยในตัวเลยทีเดียว (บันทึกของคนบ้าโดยหลู่ซิ่น, ด่านวาทกรรมสิทธิมนุษยชนไทย, ฐานันดรสี่ของเอ็ดมันด์ เบิร์ค ฯลฯ) เล่นเอาหมดไปครึ่งเช้ายังเดินหน้าต้นฉบับคอลัมน์ไปไม่ถึงไหน กว่าจะลากจนเสร็จก็ตกบ่ายแก่แล้ว
เมื่อผมบ่นไปตามประสา ก็มีเพื่อนให้แง่คิดสะกิดใจมาในทำนองว่า...
๑) เชื่อว่าเหตุผลย่อมเหนือกว่าอคติในท้ายที่สุด
๒) ปล่อยให้การแสดง/ผู้แสดงอคติดำเนินของมันไป ปลีกตัวปลีกใจไปนิ่งชม/ฟังข้าง ๆ อย่างไม่อินังขังขอบกับดราม่าที่มีเยอะแล้วในแต่ละวันจะมิดีกว่าหรือ
ผมรับฟังและรับปากว่าจะลองไปคิดต่อดู...
พอดีคิดต่อเรียบร้อยแล้วครับ ก็เลยอยากมาคุยต่อไว้ในที่นี้
ผมนึกถึงบทความบทหนึ่งนานมาแล้วของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในมติชนสุดสัปดาห์ (จำชื่อและช่วงปีลงบทความไม่ได้ ต้องขออภัยด้วยครับ) ซึ่งพูดถึงกำเนิดและที่มาของการแสดงละครพูด (แบบฝรั่ง) ในสยาม โดยอาจารย์เชื่อมโยงไปถึงกำเนิดของมันในตลาดนครรัฐกรีกโบราณและพัฒนาการของชีวิตสาธารณะ (public life) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมประชาธิปไตย....
ในขณะที่ไม่ปฏิเสธเหตุผลของความเชื่อและการนิ่งข้างต้น ผมไม่แน่ใจว่าเหตุผลจะชนะอคติได้โดยอัตโนมัติ/ธรรมชาติเสมอไป ผมกลับคิดว่าการโต้แย้งในเวทีสาธารณะ (public debate เช่นในตลาด เวทีประชุมอภิปรายเปิด สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโซเชียลมีเดีย ฯลฯ) เป็นการสำแดงทางสาธารณะชนิดหนึ่ง (public performance) ถ้าไม่ทำ ก็ไม่เกิดขึ้น แปลว่าถ้าไม่แสดงหลักวิชาเหตุผลข้อเท็จจริง การคาดหวังให้เหตุผลชนะอคติก็ดูเป็นความเพ้อฝัน (pipe dream) ที่อาจเปล่าดาย
นอกจากเป็นการสำแดงทางสาธารณะแล้ว การโต้แย้งสาธารณะยังสมทบส่วนให้แก่การคลี่คลายขยายตัวของชีวิตทางปัญญาสาธารณะและประชาสังคม (public intellectual life & civil society) ซึ่งการเติบใหญ่เข้มแข็งและคุณภาพทางการคิดและเหตุผลส่วนรวมของมันจำเป็นแก่การเมืองและรัฐที่อารยะ
ก็แลอนารยะ (uncivility) สังคมและการเมืองที่อนารยะ (uncivil society & uncivil politics) และรัฐที่นิยมอำนาจกว่าเหตุผล (authoritarian state) ส่งผลเสียต่อชีวิตสาธารณะของส่วนรวมกระทั่งชีวิตส่วนตัวของผู้คนอย่างไร สังคมไทยเราก็ได้เห็นมาแล้วในรอบกว่าทศวรรษที่ผ่านมา (ดูบทความของ อ.ประจักษ์ ก้องกีรติเรื่อง "ประชาสังคม ความรุนแรงและการล่มสลายของประชาธิปไตย: ความสำคัญของแนวคิดเรื่องความมีอารยะและการเมืองแบบอารยะของเอ็ดเวิร์ด ชิลส์", เมืองไทยสองเสี่ยง?, รัฐศาสตร์ มธ., ๒๕๕๔)
นอกจากเหตุผลความจำเป็นของ public debate มันก็ยังเป็นเรื่องของจังหวะและสายสัมพันธ์/เหตุผลแบบการณ์จรอื่น ๆ เช่น เผอิญประเด็นที่เป็นที่โต้แย้งถกเถียงกันอยู่นั้น ผมเผอิญค้นคิดเรื่องนั้นมานาน มีข้อมูลข้อความเห็นเกี่ยวข้องตรงเป้าเข้าประเด็นอยู่พอดี คิดว่าสำคัญ ควรนำมาแสดง, เบื้องหลังความสัมพันธ์กับคู่โต้แย้ง, สถานการณ์เฉพาะหน้าตอนนั้น ฯลฯ ที่ทำให้การเข้าร่วมโต้เถียงวิวาทวาทาสาธารณะมีเหตุพึงทำ
ผมไม่ปฏิเสธว่าต้นทุนด้านเวลา พลังแรงงานทั้งสมองและร่างกาย และการเปลืองอารมณ์ความรู้สึกก็ย่อมมี และเป็นต้นทุนที่ควรคำนึงและนำมาชั่งวัดด้วย ซึ่งบางทีก็อาจ "ไม่คุ้มค่า" แต่สิ่งที่อยากชี้คือ ที่เรียกว่า "ดราม่า" นั้นมีแง่มุมสาธารณะ, การเมืองและสังคมเกี่ยวข้องอยู่ที่เกินกว่าแค่ทะเลาะกันให้คนดูถือหางร้องเชียร์เท่านั้น
ล่าสุดนาย เวทิน ชาติกาสร อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกียวกับประเด็นดังกล่าวเช่นกัน ระบุว่า.. Mindset แบบสุวินัย
ถ้าคุณอายุล่วงเข้าวัยเกษียณราชการแล้ว? ถ้าคุณเคย "รบแพ้" มาอย่างบอบซ้ำตอนสมัยคุณยังหนุ่ม? แต่ถ้าคุณยังคงมีจิตวิญญาณที่จักเปลี่ยนแปลงสังคม คุณควรมี Mindset แบบไหน?
ผมกำลังพูดถึง คน 3 คน เสกสรรค์ สุวินัย เกษียร
ผมยังจำประโยค "น้อง...พี่ขอโทษ" ของเสกสรรค์ในวันที่กลับจากป่าเข้ามาในเมืองได้ เสกสรรค์เขียนเล่าเรื่องนี้เอาไว้เอง สุวินัยเคยเอามาเขียนถึง
ทั้งสามคนล้วนเคยเป็น คนหนุ่ม ที่มุ่งหวังเปลี่ยนแปลงแผ่นดิน ต่อสู้ กระทั่งยอมตายเพื่อมัน และล้วนผ่านประสบการณ์แห่งความพ่ายแพ้ที่เจ็บปวด
ประสบการณ์ที่คนรุ่นต่อๆมา อาจพอเข้าใจ เห็นใจ ได้แต่ "มิอาจรู้สึกให้เสมอเหมือน" ได้เลย ไม่ว่าจะเป็น Baby boom แบบผม หรือ GenZ อย่างธนาธร
เพราะเราๆคนรุ่นหลังไม่มี "รอยประทับ" ที่เสมือน ตราของประสบการณ์ที่กระแทกโครมเข้าไปในความคิด จิตใจ จิตวิญญาณ แบบที่พวกเขาโดนประทับมา อย่างดีก็ได้ยิน ได้ฟังเป็น เรื่องเล่าขาน ประวัติ ที่บอกเล่าต่อๆกันมาในรูปแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น
เหมือนให็บัญเอิญ ถ้าไม่นับความสนิทสนมกับ(อ.)สุวินัย หรือ "อดีตสหาย" คนอื่นๆที่เคยได้ทำงานด้วยกัน เมื่อครั้งที่ผมเรียนอยู่หัวข้อที่เสมือนถูกบังคับให้ทำวิจัยคือเรื่องประมาณ "วิกฤติศรัทธา ความพ่ายแพ้ ความบอบซ้ำ ในขบวนการนักศึกษาฯ ก่อนและหลังนโยบาย 66/23" (โดยเฉพาะขบวนการฝ่ายผู้หญิงฯ แต่คงไม่พูดเรื่องนี้ตอนนี้)
ความพ่ายแพ้ ย่อมเจ็บปวด ย่อมมีบาดแผล บาดแผลย่อมต้องการการเยียวยา ทางใดก็ทางหนึ่ง ผ่านล่วงจากปี 2523 ถึงวันนี้ก็ 40 ปีแล้ว น่าสนใจว่าตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นเกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านี้
สำหรับ สุวินัย เนื่องจากความสนิทสนมผมคงไม่พูดถึงในรายละเอียดให้ถูกมองว่า "เชียร์พวกเดียวกันเอง" แต่หนังสือที่ตกผลึกจากความคิดของเขาคือ "มูซาชิ" คงเป็นบทพิสูจน์ในตัวมันเองได้ดีกว่าสิ่งอื่น หรือถ้ายังสงสัยก็ลองสอบถาม
สำหรับ เสกสรรค์ ผมไม่สนิทสนม แต่เคารพในความคิดและจิตวิญญาณผ่านในงานเขียนในช่วงหลายๆปี ผมเชื่อว่า เสกสรรค์ มี "วิถี" ของตนในการก้าวข้ามผ่าน "สิ่งชำรุดในประวัติศาสตร์" ในจิตใจ และเติบใหญ่ทางจิตวิญญาณในพรตวัตรแบบหนึ่ง ที่นับวันเราแทบไม่เห็นเขาเข้ามาข้องแวะกับโลกการเมือง(แม้ผมจะเชื่อเอาเองว่าเขาอาจเลือกพรรคอนาคตใหม่)
ส่วน เกษียร นั้นผมไม่รู้ และไม่เคยสนใจอยากจะไปรู้ แต่เท่าที่อ่านผ่านตามาบ้าง หลายเรื่องก็ได้ "ความรู้" เพิ่มแบบในตำรับตำรา ... ประมาณนั้น เกษียร ถาม สุวินัย ว่า Mindset แบบไหนถึงได้มองความเป็นจริงอย่างมีมิจฉาทิฐิ
ผมยอมรับ เป็นไปได้ เรา(อ.สุวินัยและผมและคนอื่นๆ)อาจมีมิจฉาทิฐิ มิได้บริสุทธิ์ใสในตำราประชาธิปไตยแบบเกษียร แต่เมื่อถามเรื่อง Mindset ผมพอรู้มาบ้าง อยากขอตอบ
Mindset นั้นมี 2 แบบ
Fixed Mindset คิด เชื่อ ตอกย้ำ อยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ เรื่องเดิมๆ
Growth Mindset ทบทวน ปรับ เปลี่ยน กรอบความคิดเดิมๆ ไปสู่ กรอบความคิดใหม่
ส่วนใหญ่ของคนที่ประสบความสำเร็จก็ล้วนมี Growth Mindset ทั้งนั้น
ผมไม่รู้ว่า สุวินัย มี Mindset แบบไหน แต่ที่รู้จักกันมานาน เขาไม่เคยบังคับให้ใครต้องเชื่ออะไรอย่างที่เขาเชื่อ เขาเปิดกว้างรับฟังผู้คนทุกฝ่ายทุกความคิด เขาลุ่มลึกและควบคุม ความคิด ความรู้สึก จุดยืนที่เป็นตัวของตัวเองได้อย่างมั่นคง เขากล้าลุกทายท้า และกล้าเปลี่ยนแปลงเสมอเมื่อมีมิตรทักท้วง
ที่สำคัญ เขาไม่เคยเอาความเจ็บแค้นของตน ไปยัดใส่คนรุ่นหลัง สร้าง "ปีศาจ" ขึ้นมาจากความขลาดของตน
สุวินัยไม่เคยทำ
Mindset แบบไหนผมไม่รู้ แต่สุวินัยไม่เคยส่งมอบ "ความชำรุดทางประวัติศาสตร์" ให้ใคร แล้วอวดอ้างว่านั่นคือ สัมมาทิฐิ