กางรธน.ดูให้ชัด  ชะตากรรม ”ธนาธร” ปมถือหุ้น วี-ลัค มีเดีย  จบท้ายต้องใช้มาตรา 82 ส่งศาลรธน.วินิจฉัยผิด-ถูก

ถึงนาทีนี้แม้ว่าจะเข้าสู่กระบวนการแสดงตนเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรแล้ว สำหรับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ หลังจากเจอคำถามที่ยังเป็นประเด็นคาใจสำหรับกรณีการขาย-โอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย ว่าการขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 98 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42 หรือไม่

ถึงนาทีนี้แม้ว่าจะเข้าสู่กระบวนการแสดงตนเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรแล้ว  สำหรับนายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ   หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่   หลังจากเจอคำถามที่ยังเป็นประเด็นคาใจสำหรับกรณีการขาย-โอนหุ้น บริษัทวี-ลัค มีเดีย ว่าการขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 98  และ  พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42  หรือไม่  แม้ว่าจะมีความพยายามชี้แจงหลายครั้งว่าดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562  ??? 

ล่าสุดกรณีนี้กลับมาเป็นกระแสให้ต้องติดตามอีกครั้ง    เพราะ  2 เหตุผลสำคัญ  คือ  1.สืบเนื่องจากการที่นายศรีสุวรรณ จรรยา  เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย  เข้ายื่นร้องต่อ กกต.  ให้ตรวจสอบการถือหุ้นสื่อของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่  ในบริษัทอื่นเพิ่มเติม

กางรธน.ดูให้ชัด  ชะตากรรม ”ธนาธร” ปมถือหุ้น วี-ลัค มีเดีย  จบท้ายต้องใช้มาตรา 82 ส่งศาลรธน.วินิจฉัยผิด-ถูก

ด้วยอาจจะเข้าข่ายขัดคุณสมบัติตามมาตรา 98 (3) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ประกอบมาตรา 42 (3) ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561  และข้อ 90 ของระเบียบ  กกต.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 อันเป็นเหตุให้การเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นไปโดยไม่สุจริต และเที่ยงธรรมได้

 

โดยบริษัทต่างๆ  ที่ถูกระบุว่าเข้าข่ายประกอบกิจการเกี่ยวกับสื่ออีก 13 บริษัท  ประกอบด้วย 1.บริษัท ไทยซัมมิท โอโตโมทีฟ จำกัด 2.บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสทตรี จำกัด 3.บริษัท ไทยซัมมิท พลาสเทค จำกัด 4.บริษัท จึงพัฒนา โฮลดิ้ง จำกัด 5.บริษัท ไทยซัมมิท เชป คอร์ป จำกัด 6.บริษัท ไทยซัมมิท ฮาร์เนส จำกัด

 

รวมถึง  7.บริษัท ไทยซัมมิท บ้านโพธิ์ จำกัด  8.บริษัท ไทยซัมมิท โกลด์ เพรส จำกัด 9.บริษัท ไทยซัมมิท โอโด เพรส จำกัด 10.บริษัท ไทยซัมมิท ระยอง โอโดพาร์ท อินดัสตรี จำกัด 11.บริษัท ไทยซัมมิท พีเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด 12.บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค จำกัด และ 13.บริษัท ไทยซัมมิท เอนจิเนียริง จำกัด

 

ต่อมา "สำนักข่าวอิศรา"  แสดงข้อมูลเพิ่มเติมว่า  จากการตรวจสอบพบใน 13 รายชื่อบริษัทดังกล่าว  มีชื่อของนายธนาธร ถือหุ้นอยู่จำนวน 11 บริษัทธนาธรถือหุ้น  โดยยกเว้นกรณีของ บริษัท ไทยซัมมิท เชป คอร์ป จำกัด    และ  บริษัท ไทยซัมมิท เอนจิเนียริง จำกัด     แต่ขณะเดียวกันก็มีอีก 1 บริษัทที่ไม่ได้อยู่ในข้อมูลของนายศรีสุวรรณ  คือ  บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค เอนจิเนียริง จำกัด   ซึ่งตรวจพบว่า นายธนาธร  ยังคงถือหุ้นอยู่   จำนวน 1,500 หุ้น  มูลค่าหุ้นละ 100 บาท  คิดเป็นมูลค่า 1,500,000 บาท

 

และกรณีที่  2. เป็นผลสืบเนื่องจากการที่นายธนาธร  ออกมายืนยันเชิงตอบโต้ข้อกล่าวหาต่าง ๆ อีกครั้ง ด้วยสาระสำคัญว่า กรณีข้อกล่าวหาของนายศรีสุวรรณ  เป็นเรื่องที่ถูกรับรู้มาแต่ต้นแล้วว่าด้วยคุณสมบัติการสมัครรับเลือกตั้ง  จึงได้ดำเนินการเรียบร้อยตามข้อกฎหมายโดยครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ตั้งแต่วันที่  8 มกราคม 2562  ที่ผ่านมา หรือก่อนที่ตนจะสมัครเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎร

 

ดังนั้นประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปก็คือ กรณีของ 12 บริษัทที่อยู่ในข่ายเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสื่อ  และนายธนาธรมีชื่อเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้ถือหุ้นจะมีลักษณะเดียวกับ บริษัทวี-ลัค  มีเดีย  ซึ่งจะต้องมีการพิสูจน์  ตรวจสอบ  จากหน่วยงานเกี่ยวข้องหรือไม่  อย่างไร  

กางรธน.ดูให้ชัด  ชะตากรรม ”ธนาธร” ปมถือหุ้น วี-ลัค มีเดีย  จบท้ายต้องใช้มาตรา 82 ส่งศาลรธน.วินิจฉัยผิด-ถูก

และรวมถึงในขั้นตอนหลังจากนายธนาธร ผ่านพ้นกระบวนการเข้ารับตำแหน่งสมาชิกผู้แทนราษฎรแล้ว   การพิสูจน์ความผิด  ถูก เรื่องการขาย-โอนหุ้น บริษัทวี-ลัค  มีเดีย  จะดำเนินการต่อไปในลักษณะไหน   เช่นเดียวกับผู้แทนราษฎรรายอื่น ๆ ที่ถูกยื่นคำร้องผ่านคณะกรรมการการเลือกตั้ง  (กกต.) ไว้ก่อนหน้านี้

 

ขณะที่จากการตรวจสอบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ  ระบุไว้ตามมาตรา  82   มีรายละเอียดอันเกี่ยวเนื่องการวินิจฉัยสมาชิกภาพของนายธนาธร  ในกรณีผ่านกระบวนการเข้าทำหน้าที่เป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรแล้ว  ตามสาระใจความสำคัญ  ดังนี้ 

 

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา  จํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา  มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา 101 (3) (5) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (12) หรือมาตรา 111  (3) (4) (5) หรือ (7) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคําร้อง ส่งคําร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่

 

เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณา หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคําวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคําร้องตามวรรคหนึ่ง  ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ผู้นั้นพ้นจากตําแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทําไปก่อนพ้นจากตําแหน่ง

กางรธน.ดูให้ชัด  ชะตากรรม ”ธนาธร” ปมถือหุ้น วี-ลัค มีเดีย  จบท้ายต้องใช้มาตรา 82 ส่งศาลรธน.วินิจฉัยผิด-ถูก

 

มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง เป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา

 

ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งได้ด้วย

 

ทั้งนี้ตามมาตรา  101 (3) (5) (6) (7) (8) (9)  (10) หรือ (12)  เป็นบทบัญญัติว่าด้วยสมาชิกภาพสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง  ประกอบด้วยเงื่อนไขตามมาตรา 82  ดังนี้ 

(3) ลาออก

(5) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 97 

(6) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา  98   

(7) กระทําการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 184  หรือมาตรา 185

(8) ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก

(9) พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกตามมติของพรรคการเมืองนั้น

(10)ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของ

พรรคการเมืองเพราะมีคําสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีคําสั่งยุบพรรคการเมือง ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดหกสิบวันนั้น

(12) ขาดประชุมเกินจํานวนหนึ่งในสี่ของจํานวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกําหนดเวลา

ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร

 

กางรธน.ดูให้ชัด  ชะตากรรม ”ธนาธร” ปมถือหุ้น วี-ลัค มีเดีย  จบท้ายต้องใช้มาตรา 82 ส่งศาลรธน.วินิจฉัยผิด-ถูก

 

ขณะที่  มาตรา 111  ว่าด้วยสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง  ตามเงื่อนไขมาตรา 82  ประกอบด้วย

(3) ลาออก

(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 108

(5) ขาดประชุมเกินจํานวนหนึ่งในสี่ของจํานวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกําหนดเวลา

ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา

(7) กระทําการอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 113  หรือกระทําการอันต้องห้ามตามมาตรา 184  หรือมาตรา 185

 

ดังนั้นในกรณีของนายธนาธร   จึงถือว่าอยู่ในเงื่อนไขที่สมาชิกผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา    จะดำเนินการเข้าชื่อร้องต่อประธานผู้แทนราษฎร  หรือ ประธานวุฒิสภา    เพื่อให้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ   วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา  82   วรรคหนึ่ง  ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับลักษณะต้องห้ามบทบัญญัติมาตรา  98   หรือไม่  

 

รวมถึงกรอบอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง  ในกรณีนี้ที่อาจเห็นว่าสมาชิกภาพของนายธนาธรมีเหตุสิ้นสุดลง  ก็สามารถส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยการขาดคุณสมบัติสมาชิกภาพได้เช่นกัน   

 

ขณะที่เนื้อหาสำคัญของมาตรา 98  ก็คือ  รายละเอียดข้อกฎหมาย  ว่าด้วย   บุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(1) ติดยาเสพติดให้โทษ

(2) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ