- 20 พ.ค. 2562
อีกหนึ่งประเด็นร้อนที่เกิดหลังจากที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่ออกมาเปิดเผยในตนเองต่อหน้า สื่อมวลชนต่างประเทศ โดยไม่ต้องมีสื่อมวลชนสำนักใด หรือใครออกมาขุดคุ้ย ในบนเวทีบรรยายที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ เอฟซีซีที (FCCT) ในหัวข้อ อะไรคืออนาคตของพรรคอนาคตใหม่ (What is the future of Future Forward? เมื่อวันที่ 15พ.ค. ที่ผ่านมา
อีกหนึ่งประเด็นร้อนที่เกิดหลังจากที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่ออกมาเปิดเผยในตนเองต่อหน้า สื่อมวลชนต่างประเทศ โดยไม่ต้องมีสื่อมวลชนสำนักใด หรือใครออกมาขุดคุ้ย ในบนเวทีบรรยายที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ เอฟซีซีที (FCCT) ในหัวข้อ อะไรคืออนาคตของพรรคอนาคตใหม่ (What is the future of Future Forward? เมื่อวันที่ 15พ.ค. ที่ผ่านมา นายธนาธรได้กล่าวถึงประเด็น การบริหารการเงินของพรรคอนาคตใหม่ โดยระบุว่าตนเองได้ใหพรรคอนาคตใหม่ยืมเงิน 110 ล้านบาท
ช่วงหนึ่งนายธนาธรกล่าวว่า "ผมให้เงินพรรคยืมอยู่ 110 ล้านบาท ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งรอบนี้ พรรคไม่สามารถระดมทุนได้ทันเวลาสำหรับการหาเสียง อย่างที่ผมบอกไปว่าพรรคเพิ่งมีตัวตนในทางกฎหมายเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561 ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะสามารถระดมเงินได้ทันการหาเสียงเลือกตั้ง"
เรื่องดังเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรียกในวงกว่างและนำมาสู่การตั้งคำถามของสังคมโดยเฉพาะการที่พรรคการเมืองกู้ยืมเงินนั้นสามารถทำได้หรือไม่ เพราะพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หมวด 5 รายได้ของพรรคการเมือง มาตรา62 ระบุว่าพรรคการเมืองอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(1) เงินทุนประเดิมตามมาตรา 9 วรรคสอง
(2) เงินค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองตามที่กำหนดในข้อบังคับ
(3) เงินที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการของพรรคการเมือง
(4) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมือง
(5) เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการรับบริจาค
(6) เงินอุดหนุนจากกองทุน
(7) ดอกผลและรายได้ที่เกิดจากเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดของพรรคการเมือง
การได้มาซึ่งรายได้ตาม (2) (3) (4) และ (5) ต้องมีใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานการได้มาซึ่งรายได้นั้นเป็นหนังสือ ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด
การจำหน่ายสินค้าหรือบริการตาม (3) และการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรคการเมืองตาม (4) ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
รายได้ของพรรคการเมืองจะนำไปใช้เพื่อการอื่นใด นอกจากการดำเนินงานของพรรคการเมืองมิได้
ล่าสุดทางด้าน น.ส.พรรณิการ์ วาณิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ได้ออกมาชี้แจงกรณีดังกล่าว ในรายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ออกอากาศทางช่อง สปริง 26 ระบุว่า...
เรื่องดังกล่าวมีการหารือกันมาตลอด เนื่องจากทางพรรคไม่สามารถระดมทุนได้ทัน แม้จะได้มาหลายสิบล้านบาท แต่ก็ไม่เพียงพอสำหรับการบริหารพรรคในช่วงเริ่มต้น ดังนั้นทางกรรมการบริหารพรรคได้ข้อสรุปว่าต้องกู้เงิน ซึ่งในประเทศไทยไม่เคยมีใครทำมาก่อน ดังนั้นทีมกฎหมายของพรรค ศึกษามาอย่างดีวิธีที่ตรงไปตรงมาที่สุดก็คือการกู้เงิน แล้วเงินกู้ถือเป็นรายจ่าย ไม่ใช่รายได้ เพราะฉะนั้นการกู้เงินจึงไม่ได้ถูกจำกัด ตามม.62 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งกำหนดที่มารายได้ ไม่เกี่ยวกับรายจ่าย
เมื่อถามว่าเรื่องนี้นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคพรรคอนาคตใหม่และเป็นนักกฎหมาย ได้ยืนยันหรือไม่ว่าสามารถทำได้ ? ทางโฆษกพรรคอนาคตใหม่กล่าว่า “ทำได้คะ ยืนยันจริงว่าทำได้ ตามกฎหมายพรรคการเมืองกำหนดรายละเอียดที่มาของรายได้ แต่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดของรายจ่าย ” และได้กล่าวยืนยันอีกด้วยว่า การกู้เงินเป็นรายจ่ายไม่ใช่รายได้ ซึ่งเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 135/2550 เหมือนกับบริษัททั่วไป
สำหรับประเด็นข้อกังขาจำนวนเงินกู้ที่แท้จริง คือ 110ล้านบาท หรือ 250ล้านบาท นางสาวพรรณิการ์กล่าวว่า การกู้ดังกล่าวนายธนาธรตัดสินใจกู้ในรูปแบบ Credit line หรือ วงเงินสินเชื่อ ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 250ล้านบาท ซึ่งใช้ตามจริง ระยะเวลาที่ผ่านม ในช่วงเลือกตั้งใช้ไม่ถึง เพราะว่ากฎหมายเลือกตั้งที่ออกมาจำกัดการใช้เงินของพรรคการเมืองค่อนข้างมาก และยืนยันว่าเงินที่ใช้ในการหาเสียงของพรรคไม่เกิน 30ล้าน ตามกฎหมายกำหมดแน่นอน อีกทั้งเงินก้อนนี้ ไม่ได้ใช้เพียงการหารเสียงเท่านั้น ยังใช้ในการบริหารจัดการพรรค ในครุภัณฑ์ เช่าที่ อาคาร สำนักงาน พนักงาน เป็นต้น สรุปจากวงเงิน 250 ล้านบาท ใช้จนถึงสิ้นสุดการเลือกตั้ง (24มี.ค.62) 90ล้านบาท ถ้าถึงวันนี้(20พ.ค.62) ใช้ไปทั้งสิ้นประมาณ 110 ล้านบาท ถ้าบริหารจัดการให้ดี พรรคก็จะไม่ต้องกู้ถึง 250ล้านบาท
ขณะที่ทางด้านของนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จ่อร้อง กกต.สอบธนาธรและพรรคอนาคตใหม่กรณีดังกล่าวอีกด้วย
นายศรีสุวรรณ เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏในสื่อสารมวลชนเป็นการทั่วไป กรณีที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้รับเชิญให้ไปขึ้นเวทีบรรยายที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย หรือ เอฟซีซีที (FCCT) ในหัวข้อ อะไรคืออนาคตของพรรคอนาคตใหม่ (What is the future of Future Forward?) เมื่อวันพุธที่ 15 พ.ค.62 ในการบรรยายตอนหนึ่งนายธนาธรได้กล่าวถึง การบริหารการเงินของพรรคอนาคตใหม่ว่า เพื่อให้พรรคสามารถเดินหน้าในช่วงการเลือกตั้งได้ ปัจจุบันตนจึงให้เงินทางพรรคยืมไปแล้วราว 110 ล้านบาทนั้น
กรณีดังกล่าวจึงเป็นข้อที่น่าสงสัยว่า เป็นการกระทำที่ขัดหรือฝ่าฝืน ม.66 แห่งพรป. ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 หรือไม่ เนื่องจากรายได้ของพรรคการเมืองตาม ม.62 ของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ระบุให้บุคคลใดหรือให้พรรคการเมืองใดสามารถกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจกรรมของพรรคการเมืองได้ นอกจากเงินทุนประเดิมของพรรค เงินค่าธรรมเนียมและคำบำรุงพรรค เงินจากการจำหน่ายสินค้าและบริการของพรรค เงินที่ได้จากการจัดกิจกรรมระดมทุนของพรรค เงินที่ได้จากการรับบริจาค เงินอุดหนุนจากกองทุนพรรคการเมือง และดอกผลและรายได้ที่เกิดจากเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดของพรรคเท่านั้น
ถ้าหากการดำเนินการดังกล่าวของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นการขัดหรือฝ่าฝืนกฎหมายข้างต้นก็อาจจะมีความผิดตาม ม.124 ของ พรป.พรรคการเมือง 2560 ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ คือ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกําหนด 5 ปี ส่วนพรรคอนาคตใหม่ ก็จะมีบทลงโทษตาม ม.125 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกําหนด 5 ปี และให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ส่วนที่เกินมูลค่าที่กําหนดไว้ตาม ม.66 ให้ตกเป็นของกองทุนพรรคการเมือง
ดังนั้นสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความไปร้องให้ กกต.ไต่สวน สอบสวน และวินิจฉัย ในวันอังคารที่ 21 พ.ค.62 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน กกต. ศูนย์ราชการ อาคาร B ถ.แจ้งวัฒนะ หลักสี่ กทม.นายศรีสุวรรณกล่าวในที่สุด