- 12 ก.ค. 2562
สืบเนื่องจากกรณี น.ส.กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ได้ลุกขึ้นอภิปรายประเด็นการใช้ ภาษาถิ่น ในที่ประชุม โดยระบุว่า เป็นสิทธิพื้นฐานการแสดงออกเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย สภาแห่งนี้ควรทำหน้าที่ปกป้องเสรีภาพนั้น เรื่องการถกเถียงเรื่องภาษาไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการถกเถียงกันทั่วโลก สภาบางแห่งต้องออกมาเป็นข้อบังคับ เช่น แคนาดา ใช้ทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสภาเบลเยียมใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศส และภาษาเฟลมิช รัฐสภาฟินแลนด์ ใช้ภาษาสวีดิชและภาษาฟินนิช รัฐสภาแคนาดาอนุญาตให้ใช้ภาษาครี ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมือง ในที่ประชุมรัฐสภา โดยมีบริการล่ามเพื่อความเข้าใจ หรืออย่างอินเดียที่มีความหลากหลายสูง รัฐสภาอินเดียก็อนุญาตให้มีการอภิปรายกว่า 20 ภาษา
สืบเนื่องจากกรณี น.ส.กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ได้ลุกขึ้นอภิปรายประเด็นการใช้ ภาษาถิ่น ในที่ประชุม โดยระบุว่า เป็นสิทธิพื้นฐานการแสดงออกเป็นสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย สภาแห่งนี้ควรทำหน้าที่ปกป้องเสรีภาพนั้น เรื่องการถกเถียงเรื่องภาษาไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการถกเถียงกันทั่วโลก สภาบางแห่งต้องออกมาเป็นข้อบังคับ เช่น แคนาดา ใช้ทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส รัฐสภาเบลเยียมใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศส และภาษาเฟลมิช รัฐสภาฟินแลนด์ ใช้ภาษาสวีดิชและภาษาฟินนิช รัฐสภาแคนาดาอนุญาตให้ใช้ภาษาครี ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมือง ในที่ประชุมรัฐสภา โดยมีบริการล่ามเพื่อความเข้าใจ หรืออย่างอินเดียที่มีความหลากหลายสูง รัฐสภาอินเดียก็อนุญาตให้มีการอภิปรายกว่า 20 ภาษา
หลายๆท่านอาจจะบอกว่า 2-3 ภาษานี้เป็นภาษาประจำชาติ รัฐสภาแคนาดาเองก็อนุญาตให้ใช้ภาษาครีส์ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองในที่ประชุมรัฐสภาโดยมีการให้บริการล่ามเพื่อความเข้าใจของท่านสมาชิก อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจในบางประเทศที่มีความหลากหลายทางภาษาสูงอย่างประเทศอินเดีย ในรัฐธรรมนูญได้กำหนดภาษาหลักตามตารางที่ 8 เอาไว้ทั้งหมด 22 ภาษา รัฐสภาอินเดียอนุญาตให้สมาชิกอภิปรายในภาษาทั้งหมดนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ขอยืนยันในประเด็นที่จะต้องให้รัฐสภาเป็นที่ที่แสดงความหลากหลายทางอัตลักษณ์ของสมาชิก เป็นไปไม่ได้ที่เราจะมีภาษาแบบเดียวอย่างเดียว ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลาย ทั้งเชิงวัฒนธรรมและภาษา ยิ่งไปกว่านั้น ภาษาเป็นเครื่องมือของการสื่อสาร อยากให้ทุกท่านเพื่อนสมาชิก ท่านประธานสภา ท่านคณะกรรมการทุกท่านลองนึกดูถึงสมาชิกสภาที่ปกติแล้วเกิดโตมาใช้ภาษาถิ่นมาตลอดทั้งในโรงเรียน ในการติดต่อราชการในพื้นที่ของเขา แม้กระทั่งการหาเสียงโดยใช้ภาษาถิ่นมาตลอด ทำไมในพื้นที่สภาแห่งนี้จะเป็นพื้นที่ที่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสารไม่ได้
ล่าสุด หฤทัย ม่วงบุญศรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีใจความดังนี้
“เป็นความคิดที่ตื้นเขินมาก สำหรับข้อเสนอแนะให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายโดยใช้ภาษาท้องถิ่น คุณคิดได้แต่ความเป็นจริงมันทำไม่ได้ เพราะ…”
1. คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านอื่นๆ ที่รับฟังปัญหาของท่านในสภาฯจะไม่เข้าใจ ว่าท่านสื่อสารอะไร แล้วจะอนุมัติงบประมาณให้ได้อย่างไร ส.ส.จะยกมือสนับสนุนให้ได้อย่างไร ถ้ารับฟังท่านไม่เข้าใจ
2. การประชุมสภาทุกครั้ง จะมีการบันทึกรายงานการประชุม ถอดเป็นเอกสารราชการ ถ้าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการถอดเทปไม่เข้าใจภาษาท้องถิ่นที่พูด เอกสารทางราชการที่อภิปรายจะถูกบิดเบือน และในอนาคตอาจมีคนติดคุกโดยมิได้ตั้งใจ เพราะความผิดพลาดจากการถอดเทปก็อาจเป็นได้
3. มันคงจะดีกว่ามิใช่หรือ ? ถ้าการอภิปรายจากสภา ถ่ายทอดสดให้คนทั่วทั้งประเทศ ได้ฟังแล้วเข้าใจ รับรู้ปัญหาไปพร้อมกัน ว่าแต่ละท้องถิ่น เกิดปัญหาหรือต้องการการช่วยเหลืออะไรบ้าง ?
4. ภาษากลางเราดูโทรทัศน์ ละคร ดูข่าวก็เข้าใจกันทั้งประเทศมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ก็ไม่มีปัญหา
**หมายเหตุ อินเดีย เป็นประเทศที่กว้างใหญ่มาก และมีประชากรมากกว่าประเทศไทยเป็นพันล้านคน มีความหลากหลายทางภาษา แคนาดาเป็นประเทศที่ใหญ่เช่นกัน เป็นประเทศที่มีผู้อพยพย้ายถิ่นไปอยู่ใหม่ และมีชาวอินเดียนแดงท้องถิ่น จึงมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากเช่นกัน เราจะไปเปรียบเทียบกับชาติเหล่านี้ไม่ได้