- 29 ต.ค. 2562
@ ถือเป็นยุคกระแสทางการเมือง ที่ถูกปลุกเร้าให้เกิดความรู้สึกร่วมโดยขาดสติ จนหลายครั้งเห็นได้ชัดว่า แม้แต่กระบวนการยุติธรรมยังโดนใส่ร้าย ป้ายสี เกินขอบเขตการวิพากษ์วิจารณ์อย่างที่ควรจะเป็น
@ ถือเป็นยุคกระแสทางการเมือง ที่ถูกปลุกเร้าให้เกิดความรู้สึกร่วมโดยขาดสติ จนหลายครั้งเห็นได้ชัดว่า แม้แต่กระบวนการยุติธรรมยังโดนใส่ร้าย ป้ายสี เกินขอบเขตการวิพากษ์วิจารณ์อย่างที่ควรจะเป็น
กรณีที่เห็นได้ชัดคือ ศาลรัฐธรรมนูญ จนทำให้ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องออกเอกสารเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 แจกแจงรายละเอียดอย่างชัดเจนว่า พฤติการณ์ประเภทไหน อย่างไร ที่เข้าข่ายการละเมิดอำนาจศาล มีรายละเอียด สรุปเป็นใจความสำคัญดังนี้
1. ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 210 และพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 คือ การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรือร่างกฎหมาย การพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์อิสระ และหน้าที่และอำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ระบอบการปกครองและความมั่นคงแห่งรัฐ
2.การพิจารณากรณีที่กฎหมาย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ กฎหมายอื่นกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
3.รวมถึงการพิจารณาวินิจฉัยคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันได้แก่ การวินิจฉัยการสิ้นสุดสมาชิกภาพ หรือคุณสมบัติของส.ส. หรือส.ว. และรัฐมนตรี ซึ่งในการพิจารณาหรือวินิจฉัยคดีนั้น ก่อน พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้ นักการเมือง หรือประชาชน
4.บุคคลทั่วไปสามารถวิพากษ์วิจารณ์คำสั่ง คำวินิจฉัย หรือการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญได้ ส่วนในกรณีกระทำการเกินเลยไปถึงขั้นดูหมิ่น ข่มขู่ หรือคุกคามศาล หรือตุลาการ ผู้กระทำอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาในฐานความผิดเรื่องดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หรือศาลฯ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 136 หรือมาตรา 198 ตามลำดับ
@ประเด็นสำคัญ คือ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เน้นย้ำด้วยว่า ในปัจจุบัน พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2561 ดังนั้น การวิพากษ์วิจารณ์คำสั่ง คำวินิจฉัย หรือการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตหรือบทบัญญัติของพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 38 (วรรคสาม)
กล่าวคือการวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคีดนั้น จะต้องกระทำโดยสุจริต และมิได้ใช้ถ้อยคำ หรือมี ความหมายหยาบคาย เสียดสี หรือ อาฆาตมาดร้าย ซึ่งครอบคลุมถึงการใช้สื่อและสังคมออนไลน์ด้วย
ขณะเดียวกันในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลที่เข้ามาหรือจะเข้ามาในที่ทำการศาล หรือ บริเวณที่ทำการศาลหรือเข้าฟังการไต่สวนของศาล กรณีมีความจำเป็น ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการออกคำสั่งให้บุคคลใดกระทำการ หรืองดเว้นกระทำการเพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และรวดเร็ว
ตลอดจนมีอำนาจในการออกข้อกำหนดหรือคำสั่งเพื่อให้กระบวนการพิจารณาของศาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งหรือข้อกำหนดดังกล่าวให้ถือเป็นการละเมิดอำนาจของศาลซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 39 วรรคหนึ่ ง( 3)
ทั้งนี้การบังคับใช้บทบัญญัติละเมิดอำนาจศาลดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่กรณีและให้กระบวนการพิจารณาคดีดำเนินต่อไปได้ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยทั้งในบริเวณศาลและนอกศาลและป้องกันการประวิงคดีและการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่เกินขอบเขตและไม่สุจริต ทั้งนี้ศาลจะใช้ตามความจำเป็นเพื่อให้อำนวยความยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
@ ไม่เท่านั้นต่อมาเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 เป็นการแสดงรายละเอียด หรือ ขยายความข้อกำหนดว่าด้วยบทลงโทษ สำหรับผู้กระทำการละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
โดยที่มาตรา 6 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศำลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 บัญญัติให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมติของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจ ออกข้อกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และนอกจากที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจ ออกข้อกำหนดของศาลเกี่ยวกับการพิจารณาคดีได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ส่วนสาระสำคัญมากสุด ปรากฎอยู่ใน ข้อ 10 คือ ห้ามมิให้ผู้ใดบิดเบือนข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามคำสั่ง หรือ คำวินิจฉัยของศาล หรือวิจารณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของศาล โดยไม่สุจริตหรือใช้ถ้อยคำหรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี ปลุกปั่น ยุยง หรืออาฆาตมาดร้าย
และข้อ 11 ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดหรือคำสั่งศาลตามข้อ 10 (และข้อ 8 ข้อ 9) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 39
สำหรับ พ.ร.บ.ศาลรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 39 ระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของศาลหรือคำสั่งศาลตามมาตรา 38 ให้ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล และให้ศาลมีอำนาจ ดังเนื้อหาใจความ ดังต่อไปนี้
มาตรา 39 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกําหนดของศาลหรือคําสั่งศาลตามมาตรา 38 ให้ถือเป็นการละเมิดอํานาจศาล และให้ศาลมีอํานาจ ดังต่อไปนี้
(1) ตักเตือน โดยจะมีคําตําหนิเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหรือไม่ก็ได้
(2) ไล่ออกจากบริเวณศาล
(3) ลงโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
การสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาเท่าที่จําเป็นตามพฤติการณ์แห่งกรณี การสั่งลงโทษตาม (3 ) ต้องมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
และในการดําเนินการให้เป็นไปตามคําสั่งศาลตาม (3) ให้นําประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคบดัวยโดยอนุโลม
@ไล่เรียงความเข้มงวดของข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ของสำนักงานศาลรัฐธรรรมนูญ มาทั้งหมด ก็เพื่อบ่งชี้ว่าทั้งหมดนี้ คือเหตุผลแท้จริง ทำให้นักเคลื่อนไหวความคิด ที่เคยใช้ภาษาดูหมิ่น ดูแคลน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถึงกับต้องพลิกพฤติการณ์จากหน้ามือเป็นหลังมือ
กรณีตัวอย่างสำคัญ มีอาทิ รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ซึ่งมีสถานะทางวิชาการ เป็น รองศาสตราจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภา โพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์ การทำหน้าที่ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการวินิจฉัยคำร้องเรื่อง 32 ส.ส. ถือหุ้นสื่อ แต่เลือกใช้ถ้อยคำ
เสียดสี เข้าข่ายละเมิดอำนาจศาล
ต่อมาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 ลูกสาว และ ลูกชาย (จอห์น วิญญู) ทวิตข้อความในเชิงไม่ใยดีกับผลการกระทำของผูเป็นบิดา "รองศาสตราจารย์ ดร. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร และบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์สากล : สหรัฐอเมริกา ทั้งยังเป็นภาคีสมาชิกราชบัณฑิตยสภาอีกด้วย
ขณะที่ ในวันที่ 10 ตุลาคม 2562 มีเอกสารปรากฎจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ว่า "จากการที่นายโกวิทเข้าพบเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ถ้อยคำชี้แจงข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 62 เลขาธิการศาลฯ ได้ให้นายโกวิท พิจารณาเอกสารเผยแพร่ของศาลรัฐธรรมนูญถึงผลที่ต่างกันในข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงและกระบวนการที่ได้มาในข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ นายโกวิทได้เข้าใจ โดยขออภัยต่อศาล และจะเยียวยาหรืออธิบายข้อเท็จจริงความเห็นในทวิตเตอร์ เพื่อให้ประชาชนเข้าใจในเนื้อหาของการชี้แจงถึงความแตกต่างในคดีของหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กับ 32 ส.ส. เนื่องจากคดีของหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ทำการสืบสวนมาพอสมควรแล้ว และมีเอกสารหลักฐานจากกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับบริษัทดังกล่าว แตกต่างจากคดีของ 32 ส.ส.
ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (เชิงบริหาร) เห็นว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล กรณีการวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีที่มิได้กระทำโดยสุจริต โดยใช้ถ้อยคำที่มีความหมายหยาบคาย เสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ตามมาตรา 38 พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 นั้น โดยนายโกวิท ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และขออภัยต่อศาลแล้ว
@ ต้องย้ำอีกครั้งว่า ดร.โกวิท ที่โพสต์วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จนมีผู้นำไปรีทวิตต่อจำนวนไม่น้อย สุดท้ายเลือกจะขอโทษ แต่ไม่ใช่รายเดียว กรณีล่าสุด นายยุทธเลิศ ลิปปภาค หรือ ต้อม ยุทธเลิศ ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ก็เลือกจะจบในแบบเดียวกัน
ทั้งนี้ก่อนหน้า เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 ต้อม ยุทธเลิศ ที่มีจุดยืนทางการเมืองชัดเจน ในฐานะฝ่ายต่อต้านรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ และคสช. ได้ ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ส่วนตัว ยุทธเลิศ @yuhtlerd กรณีศาลรัฐธรรมนูญเรียก ดร.โกวิท ชี้แจงโพสต์ข้อความหมิ่นศาลว่า "สงสัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เสือกอะไรกับประชาชนก็ได้เหรอ?"
กระทั่งต่อมา ต้อม ยุทธเลิศ คนเดียวกับที่เคยใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสมกับศาลรัฐธรรมนูญ ได้ทวีตข้อความในทวิตเตอร์ มีรายละเอียดระบุว่า
1.วันที่ 25 ตุลาคม 2562 ผมได้ไปพบเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ข้อเท็จจริงกรณีที่ผมใช้ข้อความในทวีตเตอร์ สอบถามเพื่อนในทวิตเตอร์
2.โดยอาจเป็นถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมไปสู่สาธารณะ ซึ่งผมไม่ได้มีเจตนาต่อว่าศาลรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด
3. แต่อย่างไรก็ดีผมรู้สึกในความผิดพลาดและขออภัยต่อศาล มาด้วยความเคารพ
4. หากด้วยหน้าที่การงานที่ผมทำสามารถสื่อสารให้ประชาชนได้ทราบถึงสิทธิหน้าที่ ขอบเขตทางกฎหมาย
5. ในการแสดงความคิดเห็น หรือการใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อศาล ผมยินดีน้อมปฏิบัติด้วยความเต็มใจ
6. สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณศาลที่ให้โอกาสผมได้ชี้แจงข้อเท็จจริง จึงขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ (จบ)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ภาพชัดมาก คำแถลงสหภาพยุโรป เชื่อมั่นไทยหลังเลือกตั้ง อีกหนึ่งเคสเมินคำชี้ชวน #ชังชาติ ธนาธร อย่างสิ้นเชิง?
-ดร.อานนท์อธิบายชัดที่มาคำพูดทูตจีน ซัดหนักนักการเมืองบางคน เทียบคนเนรคุณสองแผ่นดิน ทำอะไรไม่มีวันเจริญ
-ธนาธร อ้างบังเอิญเจอ โจชัว หว่อง โบ้ยภาพถ่ายคู่ถูกนำขยายสร้างความเกลียดชัง...ดูกันยาวๆ ระวังกระทบธุรกิจ ไทยซัมมิท ในจีน
-ธรรมนัส ลุย กระบี่ ตามความก้าวหน้า นำร่องเศรษฐกิจพอเพียง หนุนเกษตรแปลงใหญ่ผสมผสาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน