- 30 ก.ย. 2563
ท่ามกลางกระแสความคิดขัดแย้งทางการเมืองหลังการเลือกตั้งปี 2562 ได้พรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ดูเหมือนว่าแรงกระเพื่อมจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งเกิดเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยอ้างรูปแบบการจัดตั้งว่าเป็นคนรุ่นใหม่ ที่แอบแฝงนัยความคิดเชิงปลุกระดม ให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง โครงสร้างสถาบันกษัตริย์ ผ่านข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ในเชิงกดดันการใช้พระราชอำนาจตามจารีตประเพณี และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
ท่ามกลางกระแสความคิดขัดแย้งทางการเมืองหลังการเลือกตั้งปี 2562 ได้พรรคพลังประชารัฐเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ดูเหมือนว่าแรงกระเพื่อมจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งเกิดเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยอ้างรูปแบบการจัดตั้งว่าเป็นคนรุ่นใหม่ ที่แอบแฝงนัยความคิดเชิงปลุกระดม ให้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง โครงสร้างสถาบันกษัตริย์ ผ่านข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ในเชิงกดดันการใช้พระราชอำนาจตามจารีตประเพณี และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
ล่าสุด นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อความพร้อมคลิป เกี่ยวกับกิจกรรม โครงการ “อ่านเปลี่ยนโลก” ที่จัดขึ้นในอาคารไทยซัมมิท ทาวเวอร์ ว่า "ผมชวนอ่านประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ในแคมเปญ #อ่านเปลี่ยนโลก เข้าใจประวัติศาสตร์ไทยใหม่ แหวกจากกรอบคิดแบบราชาชาตินิยมของหนังสือเรียน มาสู่แนวคิดประวัติศาสตร์การต่อสู้ระหว่างชนชั้น ไพร่-เจ้า-พ่อค้าชาวจีน-อีสานอพยพ-นักคิดนักเขียน ล้วนมีบทบาทในการสร้างชาติไทย"
ขณะที่เนื้อความของคลิปที่ นายธนาธรพูดถึง ระบุตอนหนึ่งว่า "เราได้เตรียมหนังสือไว้มากหมายหลายปก เพื่อให้พี่น้องได้หยิบยืม โดยตัวอย่างหนังสือเล่มหนึ่งที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ก็คือ หนังสือชื่อ ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เขียนโดย อ.ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคริส เบเคอร์ "
พร้อมนำเสนอความน่าสนใจของหนังสือเล่มดังกล่าวว่า เนื่องมีการอธิบายประวัติศาสตร์ไทยไม่ได้มีด้านเดียว แบบที่รัฐ กลุ่มอภิสิทธิ์ชน อยากให้ประชาชนรับรู้ รับจำแต่เพียงด้านเดียว หรือเป็นประวัติศาสตร์ที่ภาครัฐ ต้องการให้มีแค่ความจดจำ ว่าพระมหากษัตริย์ และพวกศักดินาเป็นผู้สร้างประเทศไทย แต่หนังสือเล่มนี้มีการบอกเล่ารายละเอียด ว่ามีกลุ่มคนในลักษณะอื่นๆ ที่ร่วมด้วย ไม่เว้นแม้แต่การต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การทำงานของกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ ในรูปแบบต่างๆ
ทั้งนี้ หนังสือประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย เป็นหนังสือที่มีการปรับปรุงเป็นภาษาไทย มาจากหนังสือเรื่อง A History of Thailand สาระสำคัญว่าด้วยประว้ติศาสตร์ ยุคก่อนกรุงเทพฯมาจนถึงเหตุการณ์การเมือง ปลายปี 2556 สมัยรัฐบาลยิ่งลัษณ์ ชินวัตร
ขณะที่ "อิสร์กุล อุณหเหตุ" อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ได้เคยเขียนแนะนำหนังสือเล่มดังกล่าว ไว้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 ระบุความตอนหนึ่งว่า "การเล่าประวัติศาสตร์ให้สนุกและน่าอ่านนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หนังสือเล่มนี้สามารถชวนให้ผู้อ่านติดตามได้โดยการเน้นให้รัฐชาติเป็นแกนเรื่อง โดยในเนื้อหาบทแรกๆ นั้น ผู้เขียนดำเนินเรื่องโดยอธิบายที่มาของความเป็นชาติในเมืองไทย ฉายภาพการเปลี่ยนผ่านจากยุคสังคมก่อนสมัยใหม่ไปสู่การสร้างชาติและรัฐชาติ
"เกิดขึ้นเป็นคู่ขนานกับการเพิ่มขึ้นของพระราชอำนาจและอุดมการณ์ของระบบกษัตริย์ใหม่ ชาติจึงไม่ใช่การรวมตัวของประชาชนที่หลากหลายประเภท แต่เป็นความหนึ่งเดียวอันศักดิ์สิทธิ์ โดยมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ยอดเป็นสัญลักษณ์ คือ ชาติสมบูรณาญาสิทธิราชย์" (หน้า134)
ในเนื้อหาบทต่อๆ มา ดร. คริส เบเคอร์ และศาสตราจารย์ ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร อธิบายวิวัฒนาการของพลังทางสังคมที่มีบทบาทในการเกิด การเติบโต และการทำงานของชาติและรัฐชาติไทยเช่น การยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานและระบบทาส และการถือกำเนิดขึ้นของชนชั้นกลางสามัญชน ซึ่ง
"พลังสังคมเมืองกลุ่มใหม่ๆ เหล่านี้ ท้าทายแนวคิดของรัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ว่าด้วยเรื่องชาติและรัฐชาติ" (หน้า 166) เป็นต้น