- 23 ต.ค. 2563
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์แสดงความเห็น อาจารย์ธรรมศาสตร์ เดินเกมส์การเมือง กดดันรัฐทุกรูปแบบ ไม่เว้นการละเลยจรรยาบรรณ ด้วยการหยุดสอน
กลายเป็นรูปแบบการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มบุคคลที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก สืบเนื่องจากกรณี นายอนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำรายชื่อคณาจารย์ ประชาชน ในนามเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ไปทำเนียบรัฐบาล ยื่นข้อเรียกร้อง “หยุดสลายการชุมนุมและขจัดผู้เห็นต่าง สร้างทางออกให้ประเทศไทย” โดยการนำข้อเสนอของกลุ่มผู้ชุมนุมไปดำเนินการพิจารณาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ขณะที่ผศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอีกสถานะหนึ่งคือผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ ได้ประกาศเริ่มต้นหยุดสอน ด้วยเหตุผลต้องการประท้วงผู้บริหารมหาวิทลัยธรรมศาสตร์
( คลิกอ่านข่าวประกอบ : อาจารย์ มธ.ลำปาง ประกาศเริ่มหยุดสอน ประท้วงมหาวิทยาลัย ร่วมก่อตั้งอนาคตใหม่มากับมือ )
ล่าสุด รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์แสดงความเห็นต่อประเด็นที่เกิดขึ้นว่า "เมื่อผมเห็นข่าวว่า มีอาจารย์ 1,118 คน เข้าชื่อจี้ให้นายกรัฐมนตรีลาออก และยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อต่อรัฐบาล หากรัฐบาลไม่ตอบสนอง จะนัดหยุดสอนทั่วประเทศ ผมคิดอยู่นานว่าผมควรจะแสดงความเห็นต่อการเคลื่อนไหวของอาจารย์กลุ่มนี้ หรือไม่
วันนี้ได้ข่าวอีกว่า มีอาจารย์อีกท่านหนึ่ง ประกาศจะหยุดไปสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง จนกว่ามหาวิทยาลัยจะเลิกรับใช้อำนาจนิยม หรืออำนาจเผด็จการ เพียงเพราะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจที่มีการชุมนุมของนักศึกษา และมีนักศึกษาบางคนไปฉีกพระบรมฉายาลักษณ์ และระบุว่าเป็นเรื่องไม่สมควร และไม่ควรจะเกิดขึ้น
การแสดงออกของอาจารย์ท่านนี้ ย่อมมีนัยยะประการใดประการหนึ่งใน 2 ประการ ประการแรก ไม่เห็นด้วยว่าการฉีกรูปพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นการไม่สมควร ประการที่ 2 อาจารย์ท่านนี้ไม่ทราบเลยว่ามีการกระทำดังกล่าว นึกว่ามีแต่การชุมนุมอย่างเดียว เห็น 2 กรณีนี้แล้วจึงอดที่จะแสดงความเห็นไม่ได้
ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า รายชื่อ 1,118 รายชื่อนั้นไม่ใช่อาจารย์ทั้งหมด มีทั้งอาจารย์ นักวิชาการอิสระ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย ฯลฯหน้าที่ของอาจารย์มหาวิทยาลัยก็คือ หน้าที่การสอน ทำวิจัย เขียนตำราและบทความทางวิชาการ แต่หน้าที่หลักที่จะไม่ทำไม่ได้ก็คือหน้าที่สอน เป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่ง หากอาจารย์จะเอาเรื่องการเมืองนอกมหาวิทยาลัยมาปะปนกับหน้าที่และความรับผิดชอบหลักของตัวเองภายในมหาวิทยาลัย
การจะออกไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมืองนอกมหาวิทยาลัย อาจารย์จะต้องทำหน้าที่ของตัวเองในมหาวิทยาลัยให้สมบูรณ์ก่อน สำหรับอาชีพอาจารย์ สิ่งสุดท้ายที่จะนำมาเป็นเครื่องต่อรองเรื่องใดก็ตาม คือการประกาศหยุดสอน เพราะนั่นเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักจรรยาบรรณของอาจารย์โดยตรง
หากจะประท้วงรัฐบาลด้วยการหยุดสอนจริงๆ มีอยู่ 2 วิธีที่จะทำให้การหยุดสอนมีความชอบธรรมได้ หนึ่งคือ ประกาศหยุดรับเงินเดือนไปด้วยพร้อมกัน หรือ สองคือ เปลี่ยนอาชีพไปทำอย่างอื่นไปเลยเช่นนี้ จะไม่มีใครว่าอะไรท่านได้อย่างแน่นอน
>> Lazada ยกขบวน ระเบิดราคา ลดกระหน่ำกว่าหนึ่งแสน รายการ สูงสุด 90% <<