- 16 พ.ย. 2563
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ย้ำข้อสังเกตุที่มาร่างรธน.ฉบับไอลอว์ ชี้ชัดแก้ไขต้องไม่ใช่รื้อทั้งฉบับ พร้อมตั้งข้อสังเกตุควรเริ่มต้นจากถามประชาชนหรือไม่
สืบเนื่องนายจอน อึ๊งภากรณ์ ผอ.โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) พร้อมเครือข่ายภาคประชาชนหลายกลุ่ม เป็นตัวแทนคณะ นำรายชื่อประชาชนกว่าแสนรายชื่อ มาส่งให้รัฐสภาเพื่อยืนยันเจตจำนงของประชาชน ในการเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
พร้อมประกาศเจตนารมณ์ เรียกร้องให้รัฐสภาต้องพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ในประเด็น 1.ที่มาของนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เท่านั้น 2.ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน 3.เปลี่ยนแปลงองค์กรอิสระเพื่อให้มีการสรรหาใหม่ 4.เปลี่ยนวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ง่ายขึ้น โดยใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของทั้งสองสภาให้ความเห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ 5.ในส่วนของการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เสนอให้มี สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) 200 คน ที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยใช้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะสมัครแบบคนเดียวหรือแบบกลุ่มก็ได้ แต่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกได้เพียงกลุ่มเดียวเบอร์เดียว จากนั้นเอาคะแนนมาคำนวณที่นั่งส.ส.ร. คล้ายกับการเลือกตั้งแบบระบบบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตามโดยเนื้อแท้ของร่างแก้ไขรธน.ฉบับไอลอว์ก็ถูกตั้งคำถามมากมายในความตรงไปตรงมาเนื้อหา ว่ามีประเด็นใดเคลือบแฝงหรือไม่ เนื่องด้วยไอลอว์มีเบื้องหลังเงินทุนสนับสนุนจากต่างชาติที่เคยสร้างวิกฤตทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทย และบุคคลที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้คือกลุ่มคนที่ผูกโยงกับพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองที่ได้รับผลกระทบจากเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
( คลิกอ่านข่าวประกอบ : อ.ชูชาติ อธิบายทำไมต้องค้านร่างรธน.ฉบับไอลอว์ ไม่ใช่แค่องค์กรรับเงินต่างชาติ )
ล่าสุด นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ได้โพสต์แสดงความเห็นเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวว่า "แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 17 พ.ย. นี้ รัฐสภาจะพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการเสนอร่างหลายฉบับ ทั้งร่างของรัฐบาล ร่างของพรรคการเมืองและร่างของเอ็นจีโอที่มีประชาชนร่วมเข้าชื่อเสนอร่าง ทำความเข้าใจร่วมกันเสียก่อน รัฐธรรมนูญแก้ไขได้ ไม่ใช่แก้ไขไม่ได้ แต่ขอดักคอ ตั้งคำถามสัก 2 คำถาม
1. เอ็นจีโอที่รวบรวมรายชื่อประชาชนเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่าได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กรต่างชาติหลายองค์กร แต่ที่สำคัญคือ องค์กร Open Society Foundation OSF. ซึ่งมีนายจอร์จ โซรอส เป็นเจ้าของเงินทุน นายคนนี้ไม่เคยหวังดีกับใครจ้องแต่จะสูบเงินจากต่างประเทศ คงจำกันได้ นายโซรอสคนนี้ได้มาทุบค่าเงินบาทของไทยจนเสียหายเมื่อปี 2540 จะมีใครเชื่อมั้ยว่า คนหิวเงินอย่างนายโซรอสคนนี้จะมีความหวังดีกับประเทศไทย OSF. ถูกขับไล่ไม่ให้ดำเนินกิจการในหลายประเทศ บางประเทศล่มจม แตกแยกเพราะการทำงานของ OSF. ด้วยข้ออ้างเรื่องสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
2. ในความเข้าใจ การแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ การแก้ไขรายมาตรา ไม่ใช่ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ หากมีการตั้ง สสร. ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ ต้องไม่เรียกว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญ
โดยเหตุที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการเห็นชอบมาจากประชาชน 16.8 ล้านเสียง เพื่อให้รัฐธรรมนูญมีความยึดโยงกับประชาชน และเป็นวิถีประชาธิปไตย ขอเสนอให้กลับไปสอบถามประชาชนด้วยการแสดงประชามติ ประชาชนจะยินยอมให้แก้ไขหรือไม่ มีประเด็นอะไรที่ประชาชนต้องการและอยากให้แก้ไข มีประเด็นอะไรที่ประชาชนไม่ต้องการหรือไม่ยินยอมให้แก้ไข
นี่คือประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานที่สุด อาจจะช้าไปบ้างแต่ชัวร์ เพราะได้รับฉันทามติจากประชาชนให้แก้ไข และเมื่อยกร่างเสร็จแล้ว ให้นำกลับไปขอให้ประชาชนลงประชามติรับร่างแก้ไขหรือไม่อีกครั้งหนึ่ง ประชาธิปไตยแบบนี้อาจต้องใช้เงินมากหน่อย อาจจะเสียเวลา แต่ยึดโยงกับประชาชนมากที่สุด สะท้อนความต้องการทึ่แท้จริงของประชาชน!!
>> Lazada ช้อปดีลเด็ดลดต่อเนื่องจาก 11.11 แจกส่วนลด 150฿ คลิกเลย <<