- 22 ส.ค. 2564
เปิดแผน นายกรัฐมตรี เยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศ เดินหน้ารีบช่วยเหลือประชาชนอย่างครอบคลุม ควบคู่ป้องกัน - รักษาผู้ติดเชื้อโควิด
สืบเนื่องจากวิกฤตโควิด 19 ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 2 ปี ซึ่งระยะกว่า 3 เดือนที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตอย่างหนัก เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อพุ่งสูงระดับแตะสองหมื่นในทุกๆ วันอีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตหลักร้อยติดต่อกันหลายสัปดาห์ ในขณะที่วัคซีนเพิ่งจะทยอยสั่งและจัดส่งมาได้ไม่นานในวัคซีนชนิด mRNA ทำให้คนไทยทุกข์และเดือดร้อนอย่างหนัก
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือ ศบศ. ได้ชี้แจงถึงมาตรการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจในประเทศไว้ดังนี้
โดยมาตรการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งสำหรับโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 เพิ่มกำลังซื้อในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษนั้น ซึ่งยอดการใช้จ่ายของแต่ละโครงการ และผู้ใช้สิทธิสะสมรวม 38.25 ล้านคน
ทั้งนี้ยังมี ยอดใช้จ่าย สะสม รวม 66,150.3 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 มีผู้ใช้สิทธิสะสม 23.68 ล้านคน ทำให้มียอดใช้จ่ายสะสม 59,183.6 ล้านบาท ซึ่งสามารถแบ่งเป็นส่วนที่ประชาชนจ่ายสะสม 30,049.5 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 29,134.1 ล้านบาท
2. โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 68,157 คน ทำให้ยอดใช้จ่ายสะสม 1,352 ล้านบาท และยอดใช้จ่ายด้วย e-voucher สะสม 38 ล้านบาท
3. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 13.49 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 5,234.5 ล้านบาท
4. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ มีผู้ใช้สิทธิสะสม 1.01 ล้านคน ยอดใช้จ่ายสะสม 342.2 ล้านบาท
ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างการเร่งเชื่อมระบบแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่กับโครงการคนละครึ่ง ซึ่งคาดว่าจะพร้อมใช้งานได้ในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อให้ทันกับการรองรับการโอนเงิน คนละครึ่ง รอบ 2 อีก 1,500 บาท
ขณะเดียวกัน ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงมาตรการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจนี้ว่า จะเร่งเยียวยาประชาชนทุกกลุ่มควบคู่ไปกับการป้องกันและรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิดในประเทศ