บัตรกดเงินสดกับบัตรเครดิตต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนใช้คุ้ม!

ชวนหาคำตอบบัตรกดเงินสดกับบัตรเครดิตแบบไหนตอบโจทย์พนักงานออฟฟิศรายได้น้อย และเสริมสภาพคล่องยามฉุกเฉิน พร้อมแนะนำทริกใช้บัตรกดเงินสดอย่าง Smart!

พนักงานออฟฟิศต้องรู้บัตรกดเงินสดกับบัตรเครดิตใช้แบบไหนดีกว่ากัน!

บัตรกดเงินสด


หลังจากทำงานแรกได้ประมาณ 4-6 เดือน พนักงานออฟฟิศรุ่นใหม่ต่างมองหาบัตรกดเงินสด กับบัตรเครดิตที่จะช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้การใช้จ่ายในแต่ละเดือนเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าไม่เคยสมัครบัตรกดเงินสด หรือบัตรเครดิตมาก่อนเลย คงสงสัยไม่น้อยว่าบัตรทั้งสองใบนี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร


เราจึงจะชวนพนักงานออฟฟิศรุ่นใหม่ไฟแรง ที่อยากเสริมสภาพคล่องทางการเงินในแต่ละเดือน ให้มาทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์บัตรกดเงินสดและบัตรเครดิตให้มากขึ้น อ่านจบใช้เป็นแน่นอน!

บัตรกดเงินสดกับบัตรเครดิตใช้ต่างกันยังไง?
บัตรเครดิตกับบัตรกดเงินสดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้


1.การเบิกเงินสด
หากพนักงานออฟฟิศกำลังมองหาตัวช่วยเบิกเงินสดยามฉุกเฉิน เราแนะนำให้สมัครบัตรกดเงินสด เนื่องจากบัตรกดเงินสดไม่คิดค่าธรรมเนียมเบิกถอนไม่ว่าจะเป็นช่องทางตู้ ATM และการโอนเงินออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ในขณะที่การเบิกเงินสดจากบัตรเครดิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมทันที 3% ของวงเงินเบิกเงินสด และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดอยู่ที่ 25% ทำให้ควรใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง


2.การผ่อนชำระสินค้า
บัตรกดเงินสดสามารถผ่อนชำระสินค้าด้วยดอกเบี้ย 0%* นานสูงสุด 24 เดือน (อัตราดอกเบี้ย 0% เมื่อชำระยอดผ่อนตามที่เรียกเก็บรายเดือน ภายในวันครบกำหนดชำระ) ในขณะที่บัตรเครดิตผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน (อัตราดอกเบี้ย 0% เมื่อชำระยอดผ่อนตามที่เรียกเก็บรายเดือน ภายในวันครบกำหนดชำระ) ทำให้การใช้บัตรกดเงินสดผ่อนชำระ มีภาระการจ่ายต่อเดือนน้อยกว่าบัตรเครดิต


ดังนั้นถ้ามนุษย์เงินเดือนคนไหนที่อยากซื้ออุปกรณ์ไอทีให้การทำงานในแต่ละวันเป็นเรื่องง่าย และต้องการตัวช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน เราแนะนำให้สมัครทั้งบัตรกดเงินสดและบัตรเครดิต เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายยามฉุกเฉิน พร้อมทั้งสามารถผ่อนชำระสินค้าได้แบบครบวงจร 


*บัตรเครดิต: ใช้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนได้เต็มจำนวนตามกำหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 16% ต่อปี
บัตรกดเงินสด : กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไว้ อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี

3.การชำระค่าใช้จ่ายที่ต่างประเทศ
บัตรกดเงินสดส่วนมากแล้วจะใช้ชำระค่าสินค้าที่ต่างประเทศไม่ได้เหมือนกับบัตรเครดิต แต่บัตรกดเงินสด KTC PROUD ไม่เหมือนใคร! เพราะสามารถรูดซื้อสินค้ากับร้านค้าที่เข้าร่วมรายการ Mastercard ได้ 


ดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดคำนวณยังไง?

คำนวณดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด



วิธีคิดดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด มีสูตรแบบเข้าใจง่ายดังนี้ : เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยฯ ต่อปี x จำนวนวันในแต่ละรอบบัญชี / จำนวนวันใน 1 ปี


ตัวอย่างเช่น นาย A เบิกเงินสดจากแอปพลิเคชัน 2,000 บาท ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ชำระเงินคืนวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 และบัตรกดเงินสดคิดดอกเบี้ย 25% ต่อปี เมื่อแทนค่าลงในสูตรคํานวณดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด จะได้ว่านาย A ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่ากับ 2,000x25%x3/365 =4.10 บาท
ดังนั้น นาย A ต้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยบัตรกดเงินสด ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 ทั้งหมด 2,000 + 4.10 = 2,004.10 บาท นั่นเอง

ใครบ้างที่ควรสมัครบัตรกดเงินสด
บัตรกดเงินสดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะกับผู้คนทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ เจ้าของกิจการ และบุคคลทั่วไป ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.พนักงานออฟฟิศ มนุษย์เงินเดือน
พนักงานออฟฟิศ มนุษย์เงินเดือนหลายคนต่างประสบกับปัญหาเงินขาดมือเป็นประจำก่อนถึงวันสิ้นเดือน หลายคนต้องแบกภาระหนี้สินของทางบ้าน หลายคนมีค่าใช้จ่าย เมื่อเงินไม่พอใช้ก็แก้ปัญหาด้วยการขอสินเชื่อนอกระบบ ซึ่งยิ่งตอกย้ำให้สุขภาพทางการเงินให้ย่ำแย่ลงไปอีก

แต่ถ้าพนักงานออฟฟิศทำบัตรกดเงินสดแล้ว จะช่วยสร้างสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้นจนไม่ต้องขอสินเชื่อนอกระบบ เพราะเมื่อไม่มีเงินพอจ่ายกับค่าต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันก็ใช้บัตรกดเงินสดเบิกเงินออกมาก่อนได้ และค่อยชำระคืนหลังจากเงินเดือนออก
 

2. เจ้าของธุรกิจ
เจ้าของธุรกิจก็สามารถสมัครบัตรกดเงินสด เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่กิจการได้ เพราะโดยปกติแล้ว ผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้น้อย มักดำเนินธุรกิจผ่านการใช้ระบบเงินเชื่อ (Credit Sale) แต่เมื่อถึงเวลาเศรษฐกิจไม่ดี ขายของไม่ได้ ย่อมทำให้หมุนเงินไม่ทัน ถ้าสมัครบัตรกดเงินสดแล้ว ก็อาจเบิกถอนเงินสดออกมาชำระค่าสินค้าที่ค้างอยู่เพื่อรักษาเครดิตทางการค้าก่อนได้


3. บุคคลทั่วไป


นอกจากผู้ประกอบอาชีพพนักงานออฟฟิศ และเจ้าของธุรกิจ สาขาอาชีพอื่นก็ทำบัตรกดเงินสดได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือข้าราชการ เพราะหลายคนมีภาระค่าใช้จ่ายส่วนตัวสูงและเป็นหนี้กับหลายธนาคาร เมื่อเงินเดือนออกหลังจากหักค่าหนี้สินก็เหลือเงินไม่พอใช้จ่าย แต่ถ้าทำบัตรกดเงินสดแล้วก็จะช่วยให้มีเงินใช้จ่ายไปจนถึงวันสิ้นเดือน

อยากสมัครบัตรกดเงินสด ต้องมีคุณสมบัติแบบไหนบ้าง?
บัตรกดเงินสดของแต่ละสถาบันการเงินระบุเงื่อนไขการสมัครแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ อายุ และสาขาอาชีพ หากคุณสนใจบัตรกดเงินสดที่สมัครได้ทั้งช่องทางสาขาและออนไลน์อย่างบัตรกดเงินสด KTC PROUDก็มาดูกันเลยดีกว่าว่าต้องมีคุณสมบัติแบบใดกันบ้าง


พนักงานบริษัท

  • สัญชาติไทย อายุ 20-60 ปี​
  • รายได้ขั้นต่ำ 12,000 บาท/เดือน​
  • อายุการทำงาน 4 เดือนขึ้นไป​
  • เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน

เอกสารประกอบการสมัคร

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน​
  • หนังสือรับรองเงินเดือน / สลิปเงินเดือน เดือนล่าสุด (ฉบับจริง)
  • สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ชื่อผู้กู้)
  • สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีที่ต้องการรับเงินโอนก้อนแรก (เฉพาะบัญชีที่มีชื่อผู้กู้เท่านั้น)

เจ้าของกิจการ

  • สัญชาติไทย อายุ 20-60 ปี​
  • มีรายได้เฉลี่ยขั้นต่ำ 20,000 บาท/เดือน​​
  • มีอายุกิจการตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป​​
  • มีเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน

เอกสารประกอบการสมัคร

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน​
  • สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล หรือ ทะเบียนการค้า
  • สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ชื่อผู้กู้)​​​
  • สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีที่ต้องการรับเงินโอนก้อนแรก (เฉพาะบัญชีที่มีชื่อผู้กู้เท่านั้น)

 

ใช้บัตรกดเงินสดให้ฉลาด ตัวช่วยบริหารเงินยามฉุกเฉิน
พนักงานออฟฟิศที่กำลังมองหาตัวช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินในแต่ละเดือน คงทราบกันไปแล้วว่าระหว่างบัตรกดเงินสดกับบัตรเครดิตแตกต่างกันอย่างไร และเมื่อเป็นเจ้าของบัตรกดเงินสดแล้วก็ควรใช้จ่ายบัตรกดเงินสดอย่างชาญฉลาด โดยการกดเงินสดใช้ยามจำเป็นเท่านั้น ไม่ใช้บัตรกดเงินสดรูดซื้อของฟุ่มเฟือย และใช้จ่ายเกินตัว

หากสนใจผู้ช่วยบริหารเงินยามฉุกเฉิน อย่าพลาดกับบัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสดของคนรุ่นใหม่อนุมัติไวตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของพนักงานออฟฟิศ เพียงแค่เงินเดือนเริ่มต้น 12,000 บาท ก็ยื่นเอกสารสมัครได้ ผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้


1. KTC TOUCH ทุกสาขาทั่วประเทศ 
2. เว็บไซต์ KTC : www.ktc.co.th
3. แอปพลิเคชัน Krungthai NEXT
4. ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ