- 09 มิ.ย. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
วันที่ 9 มิถุนายน ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ต.ไม้ฝาด อ.ปะเหลียน จ.ตรัง นายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายกันจพงศ์ อนุรัตนพานิช ผู้อำนวยการสถาบันมหาสมุทรระหว่างประเทศ ดร.พิทักษ์พงษ์ ชัยคช ประธานชมรมกีฬาจักรยานจังหวัดตรัง เป็นประธานและร่วมกิจกรรมเนื่องในวันมหาสมุทรโลก พ.ศ.2561 (World Ocean Day 2018) ที่ทางจังหวัดตรัง ได้รับเกียรติจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2561 โดยมีนักปั่นจักรยานจากทั่วประเทศร่วมกิจกรรมกว่า 900 คน ร่วมปั่นระยะทาง 41 กม.พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เต่าตนุจำนวน 20 ตัว และพันธุ์ปูม้า จำนวน 3 ล้านตัว อีกด้วย
เพื่อให้ทุกคนระลึกถึงบทบาทของทะเลและมหาสมุทร ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั่วโลก จึงได้จัดให้มีกิจกรรมเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี เพื่อระลึกถึงความสำคัญของทะเลและมหาสมุทร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในวิถีของธรรมชาติและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมทั้งการลดความเสี่ยงและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชน
ด้านนายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า กิจกรรมเนื่องในวันมหาสมุทรโลก พ.ศ.2561 (World Ocean Day 2018) ระหว่างวันที่ 7-9 มิถุนายน 2561ภายใต้สโลแกน “Clean Our Oceans” หรือ “ทะเลดี ชีวีมีสุข” มีการกิจกรรมจัด 3 วัน วันแรกเป็นวันเปิดตัว Kick Off มีการเดินรณรงค์ของเยาวชนเป็นหลักและพลังมวลชน ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเล การใช้ บริหารจัดการทะเล มหาสมุทร ให้ยั่งยืน วันที่สอง กิจกรรมมุ่งเน้นด้านวิชาการเรื่องทะเลรวมทั้งการเสวนาการต่อสู้กับพิบัติภัยทางทะเลที่เข้มข้นมาก เป็นกิจกรรมนิทรรศการที่ทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ซึ่งทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นเจ้าภาพหลัก การสัมมนาด้านภัยพิบัติทางทะเล และวันที่สาม วันที่ 3 ซึ่งเป็นวันปลดปล่อยด้วยการออกกำลังกาย แสดงพลังด้วยการปั่นจักรยานมากันหลายร้อยคนเพื่อให้คนไทยและคนทั่วโลกได้รับรู้ว่า ที่จังหวัดตรังใช้ท้องทะเลเป็นแหล่งทำกิน ณ วันหนึ่งที่องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันมหาสมทร์โลก จังหวัดตรังมีการรณรงค์กันอย่างจริงจัง หลังจากนี้ทางจังหวัดจะมีกิจกรรมต่อยอดการอนุรักษ์ทะเล ด้วยการณรงค์ประชาสัมพันธ์ไม่ให้มีการทิ้งขยะ ของเสียลงในท้องทะเล ต้องช่วยกันระงับตั้งแต่ในครัวเรือน ไม่ใช่เฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำ แต่รวมถึงคนที่อาศัยบนฝั่ง ไม่มุ่งเน้นไปที่นักท่องเที่ยว แต่อย่าลืมว่าปัจจัยหลักอยู่ที่ขยะครัวเรือน ที่สำคัญคือจะต้องใช้วัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อทะเล และสัตว์น้ำทางทะเล ไม่งั้นปลากินเข้าไปแล้วจะเจ็บป่วยล้มตาย เช่นเหตุวาฬกินถึงพลาสติกแล้วมาตาย ต้องแก้ไข
ภาพ/ข่าว สุนิภา หนองตรุด ผู้สื่อข่าวภูมิภาค สำนักข่าวทีนิวส์ จ.ตรัง