- 17 ก.ค. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2561 เวลา 07.20 น. ร.ต.อ.อดิศักดิ์ ทองขันธ์ รอง สารวัตรสอบสวน สภ.เมืองหนองคาย รับแจ้งอุบัติเหตุรถกระบะเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต บริเวณถนนมิตรภาพ (หนองคาย-อุดรธานี) ขาเข้าตัวเมืองหนองคาย หลังรับแจ้งจึงไปตรวจสอบพร้อมแพทย์เวรโรงพยาบาลหนองคาย และหน่วยกู้ภัยประจักษ์
ที่เกิดเหตุพบรถจักรยานยนต์ฮอนด้า เวฟ สีแดง ทะเบียน คตท 251 อุดรธานี ล้มตะแคงอยู่ ใกล้กันพบศพชายทราบชื่อ นายสัญญา ทุมรัง อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่ 192 หมู่ 2 ต.สระใคร อ.สระใคร จ.หนองคาย นอนหงายเสียชีวิตอยู่กลางถนน สภาพศพศีรษะแตก และมีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นชายไม่ทราบชื่อ ทราบว่ามากับรถจักรยานยนต์ ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นคนขี่หรือคนซ้อนท้าย ได้รับบาดเจ็บศีรษะแตก เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือนำตัวส่งโรงพยาบาลหนองคาย
ห่างออกไปพบรถยนต์คู่กรณียี่ห้อโตโยต้า แบบแค็บ สีทอง ทะเบียน บว 7919 อุดรธานี มีโครงหลังคาด้านหลังเป็นรถใช้บริการรับส่งนักเรียน มีนายประยุกข์ อาจดวงดี อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ 7 ต.โพนสว่าง อ.เมืองหนองคาย เป็นคนขับ
ล่าสุดในวันนี้ ผู้สื่อข่าวได้สอบถามและตรวจสอบข้อมูลรถที่เกิดเหตุทั้งสองคันกับ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สาขาหนองคาย พบว่ารถทั้งสองคันไม่ได้ทำ พ.ร.บ.แต่อย่างใด
ด้าน นางสาวราวรรณ โคตะนนท์ เจ้าหน้าที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สาขาหนองคาย เปิดเผยว่า น่าเป็นห่วงที่รถทั้ง 2 คัน ไม่ได้ทำ พ.ร.บ. เพราะหาสกเกิดการสูญเสียกับรถรับส่งนักเรียนทุกฝ่ายน่าจะเสียใจและจะไม่ได้รับการชดเชย สำหรับ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย (แต่ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่เสียหาย) จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น (จ่ายโดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด) เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และรถคันที่เกิดอุบัติเหตุมีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใน 7 วัน ดังนี้ กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/คน กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร/สูญเสียอวัยวะจ่าย 35,000 บาท/คน (หากเกิดความเสียหายทั้ง 2 กรณีรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท) หมายเหตุ : การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เรื่องมาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงิน ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถ จ่ายค่าสินไหมทดแทน (จ่าย เมื่อพิสูจน์ความรับผิดแล้ว) รวมค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้ กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คนกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จ่าย 300,000 บาท/คน กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด) จ่าย 200,000 - 300,000 บาท/คน กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายค่าชดเชย 200 บาท / วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน หมายเหตุ : (ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น)เมื่อประสบอุบัติเหตุและมีประกันภัย พ.ร.บ. กรณีเป็นผู้โดยสาร เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 7 วัน จะได้รับค่าชดเชยเท่าไร? เงินชดเชยรายวัน เป็นค่าสินไหมทดแทนที่นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายต่อชีวิต ที่กำหนดให้บริษัทประกันภัยของรถคันที่เป็นฝ่ายผิดซึ่งจะต้องรับผิดชอบ โดยจะทำการจ่ายให้ผู้เสียหายโดยตรง สำหรับผู้ที่เป็นผู้โดยสารและหรือบุคคลภายนอกที่ถูกกระทำให้ได้รับความเสียหายต่อชีวิต หรือร่างกาย ในอัตราวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน โดยจะพิจารณาจากหลักฐานการแสดงถึงจำนวนวันที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (เป็นผู้ป่วยใน) เป็นสำคัญ ทั้งนี้ หากผู้ประสบภัยนั้นเป็นผู้ขับขี่ และเป็นฝ่ายผิดจะไม่ได้รับเงินชดเชยรายวันดังกล่าวนี้แต่อย่างใด จากประเด็นคำถาม ผู้ประสบภัยเป็นผู้โดยสาร หากรถประกันที่ผู้ประสบภัยโดยสารมาด้วยนั้นเป็นฝ่ายผิด และมีการนอนรักษาตัว ในโรงพยาบาล 7 วันบริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายค่าชดเชยรายวันให้ จำนวน 1,400 บาท (200 บาท * 7 วัน)
นางสาวราวรรณ โคตะนนท์ เจ้าหน้าที่บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด สาขาหนองคาย กล่าวต่อว่า ส่วนการทำประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างกรณีบุคคลทั่วไป เอกสารที่ต้องเตรียมคือ 1. สำเนาทะเบียนรถ 2.บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรประจำตัวอื่นใดที่มีเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เช่น ใบอนุญาตขับขี่ บัตรประจำตัวสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้น กรณีคนต่างด้าว แสดงหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือเอกสารที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐเจ้าของสัญชาติ หรือเอกสารสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลไทยออกให้
กรณีนิติบุคคล เอกสารที่ต้องเตรียมคือ 1. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมตราประทับ(ถ้ามี) กรณีที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้แสดงหลักฐานการเป็นนิติบุคคลที่หน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือรับรองหรือออกให้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมตราประทับ(ถ้ามี) 2. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคล (ถ้ามี)
กรณีส่วนราชการ องค์กรภาครัฐ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เอกสารที่ต้องเตรียมคือ หนังสือแสดงความจำนงการทำธุรกรรม หรือ หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจกระทำการแทน หรือหนังสือมอบอำนาจกระทำการแทน กรณีเจ้าของรถจักรยานยนต์ไม่สามารถไปทำ พ.ร.บ.ด้วยตัวเอง และฝากให้คนอื่นไปดำเนินการทำแทน เอกสารที่ต้องเตรียมคือ กรณีนิติบุคคล เอกสารที่ต้องเตรียมคือ 1.หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมตราประทับ(ถ้ามี) กรณีที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ให้แสดงหลักฐานการเป็นนิติบุคคลที่หน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือรับรองหรือออกให้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมตราประทับ(ถ้ามี) 2.เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของนิติบุคคล (ถ้ามี)
2.1 หนังสือมอบอำนาจ ลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมตราประทับ (ถ้ามี)
2.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล
2.3 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
กรณีส่วนราชการ องค์กรภาครัฐ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เอกสารที่ต้องเตรียมคือ หนังสือแสดงความจำนงการทำธุรกรรม หรือ หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจกระทำการแทน หรือหนังสือมอบอำนาจกระทำการแทนสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ.
ภัทรวินทร์ ลีปาน ผู้สื่อข่าวภูมิภาคสำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดหนองคาย