- 20 ก.ย. 2560
ฮีโร่ผู้เสียสละ !!!! หัวใจนี้ยอมพลีชีวิตเพื่อชาติ ทำความรู้จัก หน่วย EOD...ภาระสุดเสี่ยงปกป้องผืนแผ่นดินกับโอกาสที่พลาดได้เพียงครั้งเดียว !
สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ปะทุต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี เกิดความสูญเสียมานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งประชาชน ทรัพย์สิน รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารที่ถูกส่งมาปกป้องคุ้มครองประชาชนและผืนแผ่นดิน ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ยากทำใจยอมรับ และอีกกลุ่มคนที่เรียกได้ว่าต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงอันใหญ่หลวงก็คงไม่พ้นหน่วยเก็บกู้ระเบิดหรือหน่วย EOD ผู้เสียสละที่แท้จริง
โดยเพจ อัศวินแห่งเทือกเขาบูโด knights of southern border ได้โพสต์เล่าเรื่องราวของหน่วย EOD ให้เราชาวไทยได้ทำความรู้จัก
มารู้จักหน่วย EODกันเถอะ หน่วยเก็บกู้และตรวจสอบวัตถุระเบิดหรือ EOD (Explosive Ordnance Disposal) หน้าที่ของพวกเขาคือ ตรวจสอบ เก็บกู้ หรือ ทำลายวัตถุต้องสงสัยว่าเป็นวัตถุระเบิด
การจะมาเป็นหน่วยนี้นับว่าไม่ง่ายเลย นอกจากความกล้าและความเสียสละแล้ว พวกเขาต้องผ่านการอบรมจากกรมสรรพาวุธเป็นเวลา 16 สัปดาห์ พวกเขาต้องเรียนรู้ที่จะตรวจสอบ จำแนกประเภทของระเบิด รวมถึงปลดชนวนระเบิดอีกด้วย
หลายคนอาจสงสัยว่า พวกเขาจะปลดชนวดให้เสี่ยงอันตรายทำไม ในเมื่อพวกเขาสามารถทำลายวัตถุต้องสงสัยนั้นได้ทันที ทางกรมตำรวจแห่งชาติก็มีนโยบายให้ทำลายทิ้งทันที โดยไม่ต้องเก็บกู้ แต่ทว่า ดาบแชน หรือ ร.ต.ต.แชน วรงคไพสิฐ อดีตมือเก็บกู้ระเบิดชื่อดังได้กล่าวไว้ว่า
“ปกติแล้วระเบิดไม่ได้มีไว้ให้กู้ ผมไปอบรมที่สหรัฐ เขาก็ไม่สอนให้กู้ เขาจะสอนให้ทำลาย แต่ผมคิดว่า การทำลายระเบิดแต่ละลูกคือการทำลายหลักฐานที่จะเป็นข้อมูลนำไปหาตัวผู้ผลิต เพราะมือระเบิดแต่ละคนมีวิธีการประกอบระเบิดไม่เหมือนกัน”
และอีกอย่างที่หลายๆคนสงสัยคือ ชุดหนาๆที่เหมือนกับนักบินอวกาศที่หน่วย EOD ใส่ขณะปฏิบัติหน้าที่นั้นคือชุดอะไร และสามารถป้องกันอันตรายได้ขนาดไหน
ชุดดังกล่าวนั้นมีชื่อเรียกว่าบอมบ์สูท บอมบ์สูทนั้นก็มีหลากหลายรุ่นและยี่ห้อ แต่โดยทั่วไปแล้วมีน้ำหนักระหว่าง 15-30 กิโลกรัม จากข้อมูลล่าสุดที่ได้ไปสืบมา ชุดบอมบ์สูทที่หน่วยงานในไทยใช้งานคือยี่ห้อ Med-Eng รุ่น EOD 8 (อัพเดทตอนนี้เป็นEOD9)ราคาประมาณ 1 ล้านบาทต่อชุด (แต่ในรายงานของกรมตำรวจแห่งชาติ เขาบอกว่าราคา 2 ล้านนะ ใครให้ข้อมูลผิดกันแน่ อิอิ)
บอมบ์สูทชุดนี้มีประสิทธิภาพสามารถป้องกันสะเก็ดระเบิดขนาด 17 เกรน (ประมาณ 300 กรัม) ตามมาตรฐาน V50 (มาตรฐานนาโต) ได้ที่ 400-800 เมตรต่อวินาที หรือป้องกันระเบิดน้ำหนักประมาณ 1-2 ปอนด์ ระยะประมาณ 3 เมตร มีแผ่นเกราะแข็งที่สามารถป้องกันสะเก็ดระเบิดได้ที่ความเร็วไม่เกิน 1,600 เมตรต่อวินาทีได้
สรุปง่ายๆคือ สามารถกันระเบิดที่แรงประมาณหนึ่งได้ แต่ถ้าแรงจริงๆ อย่างเช่นระเบิดที่ใช้ในแยกราชประสงค์ขนาดประมาณ 5 ปอนด์ ต่อให้สวมชุดก็อันตรายมากๆอยู่ดี หรือ บางท่านเรียกชุดกันสมองไหลกระจาย
วัตถุระเบิด ประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ กลไกการจุดระเบิด, เชื้อปะทุ และดินระเบิด โดยเริ่มการทำงานจาก กลไกการจุดระเบิด ที่เราอาจจะไปสัมผัสถูก, กดถูก, สะดุดถูก, ยกของที่กดทับออก หรือ คนร้ายกดรีโมทสั่งการจากระยะที่ปลอดภัย จึงเป็นที่มาของสิ่งแรกที่ผู้พบเห็นวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง หรือ IED (Improvised Explosive Device)
ที่จะต้องปฏิบัติ คือ การห้ามไปสัมผัสโดนอย่างเด็ดขาด และห้ามเคลื่อนย้าย? ลำดับต่อมา คือ การกั้นพื้นที่ และลำเลียงผู้คนออกจากพื้นที่ในรัศมี 100, 200 และ 400 เมตร โดยขึ้นอยู่กับการคาดการณ์น้ำหนักของวัตถุระเบิดที่ 5, 5-10 และมากกว่า 10 กิโลกรัม ตามลำดับ? ในขั้นตอนที่ 3 คือ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ? ซึ่งเจ้าหน้าที่ EOD ของตำรวจที่มีประจำในทุกจังหวัดจะมีอำนาจเต็มทางกฎหมาย และความรับผิดชอบในยามปกติ? ในขณะที่ EOD ของหน่วยงานทหารจะมีอำนาจเต็มในพื้นที่ของหน่วยทหาร และในยามสงคราม หรือไปเป็นตามการร้องขอจาก EOD ตำรวจที่จะต้องอาศัยความชำนาญในเฉพาะด้านของ EOD แต่ละเหล่าทัพ
นอกจากนั้นยังสามารถรับการสนับสนุนจากหน่วยงานทหารช่างในส่วนของผู้ที่จบ หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด ซึ่งบรรจุให้ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนของกองพันทหารช่างของกองพลทหารราบ/ม้า แต่ขีดความสามารถจะจำกัดในการค้นหา และความชำนาญเฉพาะด้านการปฏิบัติต่อกับระเบิด และทุ่นระเบิดเท่านั้น เนื่องจากขอบเขตการศึกษาของหลักสูตรเพียง 4 อาทิตย์ และอุปกรณ์ที่เหมาะกับสงครามทุ่นระเบิด
ในปัจจุบัน คือ ชุด ทรล.ถูกใช้งานเกินขีดจำกัด เนื่องจากในหลักการแล้ว หน่วย ทรล. มีหน้าที่ในการเข้าไปทำการนิรภัยกระสุน และวัตถุระเบิดให้ปลอดภัยเท่านั้น? ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ควรหมดไปกับการคิด และวางแผน? เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างลุล่วง ปลอดภัยทั้งสถานที่เกิดเหตุ, ผู้ประสบเหตุทุกคน และ จนท.ในหน่วย
ในขณะที่การตรวจค้นวัตถุระเบิด, การเก็บพยานวัตถุ และกิจกรรมที่นอกเหนือจากนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของ เจ้าหน้าที่ตรวจค้นวัตถุระเบิด หรือ EORA : Explosive Ordnance Reconnaissance Agent ซึ่งเป็น จนท.ทหาร, ตำรวจ, จนท.ดับเพลิง หรือ จนท.ในหน่วยบรรเทาสาธารณภัยทางพลเรือนอื่นๆ? ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว และได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบในการตรวจค้นสรรพาวุธระเบิด? ซึ่งการอบรมอาจจะใช้ห้วงเวลาไม่เกิน 2 อาทิตย์? ในขณะที่หลักสูตร ทลร.ใช้เวลา 16 อาทิตย์
เรียกได้ว่า ทันทีที่พวกเขาก้าวเข้ามาสู่หน่วยงานนี้ ก็เปรียบเหมือนเอาขาข้างหนึ่ง ยื่นเข้าไปในสวรรค์แล้ว นี่แหละคือฮีโร่ตัวจริง ที่พร้อมจะสละชีวิตธรรมดาๆเพื่อผู้อื่นตลอดเวลา ขอเป็นกำลังใจให้พี่ๆหน่วย EOD ทุกคนครับ
EOD มีโอกาศพลาดได้เพียงครั้งเดียว
ขอบคุณภาพชุดeodศรชัย ตำรวจภูธรยะลา