- 18 พ.ย. 2560
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
ผักใบสีเขียวยังผักขมนิดๆมีกรดออกซาลิกมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้ระคายเคืองแถมยังเป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหที่เรารู้จักกันดีคุ้นเคยนำมากินหรือประกอบอาหารมีอยู่มากมายหลายชนิดด้วยกันและวิธีการนำมาทานก็แตกต่างกันบางชนิดก็นิยมนิยมทานแบบสดบางชนิดก็นิยมทานแบบสุกบางชนิดก็ยำบางชนิดก็แกงคือเมนูต่างๆก็ตามแต่ผักทุกชนิดนั้นมีประโยชน์มากมายแต่หากว่าเรากินผักไม่ถูกวิธีแทนที่จะเป็นประโยชน์ก็อาจจะให้โทษได้เช่นการกินผักดิบมีผักบางชนิดที่เราไม่ควรทานดิบเพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างที่เราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
1. กะหล่ำปลี
กะหล่ำปลีมีวิตามินซีสูง กินแล้วมีประโยชน์แน่ ๆ แต่ต้องปรุงให้สุกก่อนรับประทาน เนื่องจากหากกินกะหล่ำปลีดิบในปริมาณมาก สารออกซาเลต (Oxalate) ในกะหล่ำปลีจะไปจับกับแคลเซียมที่กรวยไต จนกลายเป็นสารแคลเซียมออกซาเลต ซึ่งหากมีสารตัวนี้ที่กรวยไตมาก ๆ ก็เสี่ยงต่อโรคนิ่วในไตได้ อีกทั้งในกะหล่ำปลีดิบยังมีน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งคนที่มีปัญหาในระบบย่อยอาหารอาจย่อยน้ำตาลชนิดนี้ไม่ได้ และอาจนำไปสู่อาการท้องอืด แน่นท้อง แต่หากนำกะหล่ำปลีไปปรุงสุก น้ำตาลที่ว่าก็จะเปลี่ยนโมเลกุลเป็นสารที่ย่อยได้ง่าย ไร้ปัญหาท้องอืดแน่นอน
นอกจากนี้ในกะหล่ำปลีดิบยังมีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) สารที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายดึงไอโอดีนจากเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ จนอาจก่อให้เกิดโรคคอหอยพอกได้ แต่กอยโตรเจนจะสลายได้อย่างรวดเร็วเมื่อโดนความร้อน ฉะนั้นจึงควรบริโภคกะหล่ำปลีแบบปรุงสุกจะดีกว่า
2. ดอกกะหล่ำ
พืชชนิดหัวอีกอย่างที่ต้องระวังหากจะกินดิบ ๆ เพราะดอกกะหล่ำก็มีน้ำตาลชนิดเดียวกันกับกะหล่ำปลีด้วย ดังนั้นหากไม่อยากเกิดอาการท้องอืด ก็ควรนำดอกกะหล่ำไปปรุงให้สุกก่อนรับประทานนะคะ
3. บรอกโคลี
มาตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลีและดอกกะหล่ำเลย บรอกโคลีมีน้ำตาลที่ควรต้องถูกย่อยด้วยความร้อนก่อนจึงจะไม่ก่อให้เกิดอาการท้องอืด และในบรอกโคลีดิบยังมีฮอร์โมนบางชนิดที่เป็นตัวกระตุ้นความเสี่ยงโรคไทรอยด์ แต่เจ้าฮอร์โมนที่ว่าจะถูกย่อยสลายไปเมื่อโดนความร้อน ดังนั้นบรอกโคลีจึงจัดเป็นผักอีกชนิดที่กินดิบมาก ๆ อาจก่อให้เกิดโทษได้
4. ถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวดิบจะมีปริมาณไกลโคโปรตีนและเลคตินค่อนข้างสูง ซึ่งสารเหล่านี้มีส่วนชักนำอาการคลื่นไส้ อาเจียน และอาการท้องเสียได้ในเวลา 3 ชั่วโมงหลังรับประทานถั่วดิบ ๆ เข้าไป ซึ่งทางองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกายังออกมาเตือนอีกด้วยว่า ไม่ใช่เค่ถั่วฝักยาวเท่านั้นที่กินดิบ ๆ แล้วอาจให้โทษ ทว่าถั่วแดงหรือถั่วดำก็ไม่ควรกินดิบด้วยเช่นกัน ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ไม่สบายได้นะจ๊ะ
5. ถั่วงอก
ผักกินสดฮอตฮิตอันดับต้น ๆ อย่างถั่วงอกมักจะมีสารโซเดียมซัลไฟต์ ซึ่งเป็นสารฟอกขาวที่เหล่าพ่อค้า แม่ค้ามักจะนำมาฟอกสีให้ถั่วงอกมีสีขาวน่ารับประทาน อีกทั้งยังเป็นสารที่รักษาความสดของถั่วงอกให้เก็บไว้ขายได้นาน ซึ่งหากผู้บริโภคมีอาการแพ้สารชนิดนี้ หรือกินถั่วงอกดิบในปริมาณมาก ทางศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ก็บอกว่าอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ หายใจขัด ความดันโลหิตต่ำ และปวดท้องได้ แต่ถ้าหากนำถั่วงอกไปปรุงสุกก็จะช่วยทำลายสารฟอกขาวได้จนไม่ก่อให้เกิดอันตรายค่ะ
6. หน่อไม้
ศูนย์ข้อมูลด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ในหน่อไม้สดมี Cyanogenic glycoside ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นไซยาไนด์ อันมีพิษต่อร่างกาย และหากร่างกายได้รับสารตัวนี้ในปริมาณมาก Cyanogenic glycoside จะเข้าไปจับกับฮีโมโกลบิน ทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน ทุรนทุราย หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ ดังนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขจึงแนะนำให้ปรุงสุกหน่อไม้หรือนำหน่อไม้ไปดอง (ซึ่งต้องผ่านการต้ม) ก่อนรับประทาน เพราะวิธีการปรุงสุกด้วยความร้อนจะช่วยสลาย Cyanogenic glycoside ได้
7. มันสำปะหลัง
Cyanogenic glycoside สารตัวนี้ยังตามมาหลอกหลอนในมันสำปะหลังด้วย ซึ่งทางสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้บอกว่า หากรับประทานมันสำปะหลังดิบในส่วนหัว ราก ใบ อาจมีพิษทำให้ถึงตายได้ โดยมีพิษขัดขวางการทำงานของระบบหัวใจและทางเดินโลหิต ทำให้ออกซิเจนเข้าสู่เซลล์สมองน้อยลง หรือเบาะ ๆ อาจเกิดอาการเวียนศีรษะ ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน หรืออุจจาระร่วง
8. ผักโขม
ผักใบเขียวขจีอย่างผักโขมดิบ ๆ มีกรดออกซาลิก (Oxalic) ที่มีฤทธิ์ทำให้ลำไส้ระคายเคือง แถมยังเป็นตัวขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคนิ่วในไตอีกทางหนึ่งได้ด้วย ทว่าเจ้ากรดออกซาลิกตัวนี้จะหมดฤทธิ์ทันทีเมื่อเจอความร้อน ซึ่งก็หมายความว่าเราควรปรุงผักโขมให้สุกก่อนนำมารับประทานนั่นเองนะคะ
9. เห็ด
เห็ดสดที่มีเนื้อสีขาวทั่วไปมักจะตรวจพบสารอะการิทีน (Agaritine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง แต่จะสลายไปได้เองหากเห็ดเหล่านั้นผ่านการปรุงสุกแล้ว
ขอย้ำกันอีกทีว่าผักเหล่านี้ไม่ใช่ผักต้องห้ามแต่ส่วนจำกัดปริมาณการบริโภคผักดิบไม่ให้เยอะครั้งละ 1 กิโลกรัมหรือรับประทานต่อเนื่องทุกวันทุกวันจะเกิดการสะสมของสารที่เป็นโทษต่างๆได้นะคะ
CR.kapook.com
สวทช.
ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา กระทรงสาธารณสุข
ศูนย์ข้อมูลด้านอาหาร กระทรวงสาธารณสุข
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค