- 20 พ.ค. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th
ในโลกออนไลน์มีการแชร์เรื่องราวของหนุ่มรายหนึ่ง ที่ได้ทำการทดลองกินรับประทานกุ้ง หลังจากที่เคยรับประทานแล้วเกิดอาการแพ้กุ้งอย่างรุนแรง เขาได้ลองรับประทานอีกครั้งจากคำเชียร์ของแม่ที่บอกว่ารับประทานได้ไม่เป็นอะไร แต่พอหลังจากรับประทานเสร็จ กลับทำให้เขาต้องกลับไปทบทวนใหม่ เพราะผลลัพธ์ที่ได้นั้นทันตาเห็น และอันตรายสุด ๆ ไม่ควรลอกเลียนแบบอย่างมาก ขณะที่ด้านชาวเน็ตต่างเข้าแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
ซึ่งอาการแพ้กุ้ง ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการแพ้กุ้งหรืออาหารทะเลนั้น จะมีอาการแพ้ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากรับประทานเข้าไป ซึ่งอาการที่สังเกตุได้ง่ายคือ เป็นผื่นขึ้นตามตัวคล้ายลมพิษ มีอาการคันมาก คัดจมูก ปากบวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หากมีอาการแพ้มากจะมีอาการหายใจไม่ออก ในรายที่มีอาการแพ้รุนแรงมากอาจถึงขั้นช็อคหมดสติและเสียชีวิตได้
สาเหตุที่ทำให้แพ้กุ้ง เนื่องจากในกุ้งมีสารก่อภูมิแพ้ คือ โปรตีนฮีโมไซยานินซึ่งพบมากในกุ้งก้ามกราม ซึ่งเป็นกุ้งน้ำจืดและสารโปรตีนลิพิด บายดิง, โปรตีน แอลฟาแอกตินิน ในกุ้งกุลาดำที่เป็นกุ้งทะเล ซึ่งสำหรับบางกรณีอาจเป็นการแพ้สัตว์ที่มีเปลือกแข็งซึ่งมีสารไคตินเป็นองค์ประกอบของเปลือก เช่น กั้งและปูชนิดต่างๆ เมื่อกินเข้าไปพร้อมๆกับกุ้ง อาจะทำให้เราเข้าใจว่าเราแพ้กุ้ง ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่
ดังนั้นเมื่อมีอาการแพ้ ควรหาให้เจอว่าเราแพ้กุ้งทะเลหรือกุ้งน้ำจืด แพ้อาหารทะเลทั้งหมดหรือไม่ หรือว่าแพ้เฉพาะสัตว์เปลือกแข็ง ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อที่เราจะได้หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ได้อย่างถูกต้อง และง่ายต่อการรักษาของแพทย์เมื่อเกิดอาการแพ้
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการแพ้กุ้ง
– เมื่อเกิดอาการแพ้แล้วมีอาการคัน ให้ใช้ยาทาแก้คันทาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น คาลาไมด์
– ให้สังเกตุอาการ หากภายใน 5-10 นาที อาการไม่ดีขึ้น มีอาการคันมากขึ้น เกิดผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังทั่วร่างกาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การรักษาด้วยยานั้นเป็นเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้นหากทราบว่าตนเองแพ้อาหารชนิดใดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารชนิดนั้นเป็นดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยและป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดจากอาการแพ้ได้
.