"โรคชิคุนกุนยา" ระบาดสงขลา - หาดใหญ่ ยุงลายเป็นพาหะ

ประชาชนโปรดระวัง โรคชิคุนกุนยา ระบาดสงขลา - หาดใหญ่ พบยุงลายเป็นพาหะ

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยให้ระวังป่วย "โรคชิคุนกุนยา" กำลังระบาดในภาคใต้ในช่วงหน้าฝน โดยพบผู้ป่วย "โรคไข้ปวดข้อยุงลาย " กว่า 600 ราย ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ จังหวัดสงขลา สตูล ตรัง นราธิวาส และภูเก็ต 

 

\"โรคชิคุนกุนยา\" ระบาดสงขลา - หาดใหญ่ ยุงลายเป็นพาหะ

 

 

ทั้งนี้เพจเฟซบุ๊ก "Drama-addict" ก็ได้โพสต์เตือนประชาชนถึงกรณีดังกล่าวด้วยเช่นกันว่า "ตอนนี้แถวภาคใต้โดยเฉพาะหาดใหญ่ โรคนี้กำลังระบาด เป็นกันเยอะมาก พ่อแม่พี่น้องก็ระวังไว้ ภาคอื่นๆก็ระวังด้วย โดยหลักๆมันอาการคล้ายๆไข้เลือดออกแต่ไม่ค่อยรุนแรง ก็จะมีไข้สูง มีผื่นขึ้นตามตัว คันฉิบ แล้วก็ปวดข้อ ใครมีอาการงี้ก็ไปหาหมอได้ ต้องระวังพวกไข้เลือดออกด้วยเพราะอาการคล้ายกันมาก ถ้าเป็นไข้เลือดออกนั่นอาจอันตรายถึงชีวิตได้

แต่อาการส่วนมากของชิคุนกุนยามีแค่นี้แหละ ไม่ค่อยอันตรายถึงชีวิตอะไรหมอก็รักษาตามอาการ บางคนหายแล้วอาจปวดเรื้อรังเป็นเดือนก็มีน่ารำคาญเหี้ยๆ แต่ที่ต้องระวังคือในกรณีหญิงมีครรภ์ เพราะหากติดเชื้อตอนท้องอาจทำให้เด็กในท้องมีปัญหาทางสมองและระบบประสาทได้ ที่สำคัญต้องช่วยกันเชือดยุง ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงด้วยนะจ๊ะ"
 

\"โรคชิคุนกุนยา\" ระบาดสงขลา - หาดใหญ่ ยุงลายเป็นพาหะ

 

หลังจากที่เรื่องราวดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ออกไปในโลกออนไลน์ ก็ทำให้บรรดาชาวเน็ตต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งแชร์กันออกไปเตือนญาติๆและบรรดาเพื่อนๆของตัวเองกันเป็นจำนวนมาก

 

\"โรคชิคุนกุนยา\" ระบาดสงขลา - หาดใหญ่ ยุงลายเป็นพาหะ

 

โดยโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก


สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค

 

\"โรคชิคุนกุนยา\" ระบาดสงขลา - หาดใหญ่ ยุงลายเป็นพาหะ

 

วิธีการติดต่อ ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้


ระยะฟักตัว โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก


อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ 

 

อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี โดยไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อกจนเสียชีวิต

 

ระบาดวิทยาของโรค การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร


ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type) (คน-ยุง-ลิง) ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ Barboon เป็น amplifyer host และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanus เป็นพาหะ


ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์


โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย


การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment) การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน


อย่างไรก็ตามถึงแม้โรค ชิคุนกุนยา จะไม่ทำอันตรายถึงชีวิตนั้น แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมาน และความรำคาญใจจากอาการปวดได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรป้องกัน และเตรียมพร้อมรับมือกับโรคไว้ก่อน

 

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค / กระทรวงสาธารณสุข