- 16 ม.ค. 2562
หนุ่มสวมชุดนักบินอวกาศ เผชิญฝุ่นควันกลางกรุง
จากกรณีที่กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ว่า จากสภาพอุตุนิยมวิทยาที่อากาศในช่วงเช้าเมื่อวันที่ 15 ม.ค.2562 ที่ผ่านมา มีการลอยของอากาศในแนวตั้งค่อนข้างดีในช่วงระดับต่ำและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูง
ขณะเดียวกันลักษณะของอากาศ ระดับบนมวลอากาศเย็นกว่าสิ่งแวดล้อมจะกดอากาศที่อุ่นกว่าไว้ ทำให้อากาศไม่สามารถลอยตัวขึ้นไประดับชั้นบรรยากาศระดับบนๆ ลมค่อนข้างสงบในช่วงเช้า ดังนั้นจึงเหมาะในกระบวนการเกิดหมอกขึ้น ส่งผลทำให้สถานการณ์ PM2.5 พื้นที่กทม.และปริมณฑล คุณภาพอากาศโดยรวมยังคงอยู่ในระดับ “เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ”
ขณะที่วันนี้ (16 ม.ค.) ฝุ่นละอองยังคงปกคลุมในอากาศ แต่ถือว่าลดลงจากช่วง 2 วันก่อน เพียงเล็กน้อย โดยเพจการแพทย์ได้ออกโรงเตือนเรื่องการป้องกันฝุ่นควัน ระบุว่า หน้ากากกันฝุ่น N95 ใส่นานเกินเสี่ยง “หมดสติ-เสียชีวิต” ยกร่างกายอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และยิ่งอันตรายเป็นทวีคูณสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคปอด “หน้ากาก N95 ไม่สามารถใส่ได้เป็นเวลานานๆ ไม่ควรเกินครึ่งชั่วโมง ขณะใส่ไม่ควรออกแรงหรือวิ่งเร็วๆ เพราะขณะใส่หน้ากาก ร่างกายใช้ออกซิเจนมาสันดาปเป็นพลังงานได้จำกัดในระดับการออกแรงที่เท่ากัน เป็นอันตรายในผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคปอดอยู่เดิม
(สำหรับแพทย์) N95 เพิ่ม breathing resistance และลด FiO2 เมื่อเทียบกับอากาศภายนอก คล้ายกับ Elevation Training Mask ที่ใช้ในนักกีฬาอาชีพเพื่อเพิ่ม VO2 max หน้ากาก N95 ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ขณะออกแรง เดิน วิ่ง หรือ ปั่นจักรยาน หรือใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เมื่อปอดไม่สามารถทำงานดึงออกซิเจนได้ง่ายเหมือนตอนไม่ใส่หน้ากาก เมื่อ demand สูงขึ้น ออกซิเจนไม่พอกับที่เนื้อเยื่อต้องการ หัวใจจะถูกเค้นเพื่อเพิ่ม cardiac output จาก LV contractility ไปสู่ heart rate (เป็นเหตุผลที่ใส่ N95 ออกกำลังแล้วเข้าโซนสูงเร็วกว่าปกตินั่นเอง) ในผู้ป่วยโรคหัวใจเป็นอันตรายได้ และ prolonged hypoxemia จากการใช้ N95 ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน มึนศีรษะหรือหมดสติ จากออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ ภาวะ prolonged hypoxemia อาจทำให้เกิด peripheral vasodilation หรือกระตุ้น vasovagal reflex และหมดสติได้เช่นกันครับ
ล่าสุดก็มีกระแสมาแรงในโลกออนไลน์ ที่ชาวโซเชียลกระหน่ำแชร์สีสันสุดบรรเจิด ในการรับมือป้องกันฝุ่นควันเบื้องต้น โดยในทวิตเตอร์ @fm91trafficpro ได้โพสต์รูปภาพของชายคนหนึ่ง ที่สวมชุดป้องกันฝุ่นอย่างแน่นหนา คล้ายชุดนักอวกาศ มีทั้งหมวกกันน็อค ชุดนวมสีขาว มีหน้ากากและหมวกปิดอย่างดี และสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข โดยมีภาพปรากฎออกมาเดินถนนและขึ้นรถเมล์ จนทำให้หลายสายตาต่างจับจ้องและชื่นชมไอเดียที่สร้างสีสันให้กับช่วงเวลาที่เกิดมลภาวะรุนแรงในสังคม
นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากกรมควบคุมมลพิษ ปี 2561 ระบุว่า
สัดส่วน pm2.5 เกิดจากการทำกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
- ฝุ่นถนนและดิน 10%
- การเผาทำไร่ 83%
- เผาไม้ 93%
- รถยนต์ดีเซล 92%
- เผาน้ำมันดิบ 87%
- ก่อสร้าง 6%
ขอบคุณทวิตเตอร์ @ fm91trafficpro ,@icez